สงกรานต์ปีนี้ สาดน้ำใจใส่กัน ฝ่าวิกฤติโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

                กล่าวกันว่า เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปี ที่ประเทศไทยไม่มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย เนื่องจาก  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ทำให้รัฐบาล ประกาศไม่ให้ช่วงวันหยุดสงกรานต์ตั้งแต่วันทีท 13-15เมษายน 2563 ไม่ได้เป็นวันหยุด และห้ามจัดงานเทศกาลสงกรานต์ หรือแม้แต่การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือสรงน้ำพระ ที่ปฎิบัติกันมาทุกปี ก็งดไม่ให้มีกิจกรรมที่เคยเป็นมาเหล่านี้ และให้ยึดหลักทิ้งระยะห่างระหว่างบุคคล และสังคม หรือ Social Distancing เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

 

                ถึงจะไม่มีการจัดงานสงกรานต์ แต่เราก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งแต่ละปีจะมีการลุ้นว่า นางสงกรานต์จะเป็นใคร  ซึ่งปีนี้คือ "นางโคราคะเทวี"ขี่หลังพยัคฆะ นี้ ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ได้มีประกาศสงกรานต์ไว้ดังนี้ ปีชวด (เทวดาผู้ชาย ธาตุน้ำ) โทศก จุลศักราช 1382 ทางจันทรคติ เป็น อธิกวาร ทางสุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน วันที่ 13 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน ๕5 เวลา 20 นาฬิกา 48 นาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดาหาร ภักษาหาร น้ำมัน พระหัตถ์ขวาทรงธนหรือไม้เท้า พระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร มาเหนือหลังพยัคฆะ เป็นพาหนะ

 

                 หลายคนอาจแปลความหมายจากนางสงกรานต์ปีนี้ ได้หลายทิศทาง ว่าบอกคนบอกว่าถ้าดูจากการระบาดของโควิด -19 เป็นสัญญาณความดุของปีนี้ หรือบางคนก็แปลความเป็นเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ ของน้ำ พืชพรรณธัญญาหาร

                อย่างไรก็ตาม   ในความจริงแล้ว นางสงกรานต์ ไม่ได้มีตัวตนจริง แต่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นคติความเชื่อโบราณในตำนานสงกรานต์ โดยกำหนดให้นางสงกรานต์ทั้ง 7 คน  เป็นตัวแทนเทียบแต่ละวันในสัปดาห์ เพื่อให้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่นั้น เป็นวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนสู่ราศีเมษ ตรงกับวันและเวลาใด

                เรื่องเกี่ยวกับนางสงกรานต์นี้ พระยาอนุมานราชธน (นามปากกา-เสฐียรโกเศศ) นักปราชญ์คนสำคัญของไทย ได้เคยเขียนวิจารณ์ในบางแง่บางมุมไว้อย่างน่าสนใจ นางสงกรานต์เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุดของเมืองฟ้า  มีด้วยกัน ๗ คนเป็นพี่น้องกันทั้งหมด ที่เรียกจำนวนว่ามี ๗ คน ไม่เรียก ๗ องค์ เพราะนางสงกรานต์เป็นนางฟ้าชั้นสามัญ ไม่ใช่เทวีหรือเทวดาผู้หญิงโดยตรง เป็นบาทบริจาริกา (แปลว่านางบำเรอแทบเท้าหรือสนม) ของพระอินทร์จอมเทวราช เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม โดยมีนาม ดอกไม้ เครื่องประดับ อาหาร อาวุธและพาหนะประจำแต่ละนาง

                ความน่าสนใจ อยู่ที่นามของนางสงกรานต์ทั้ง 7 คน ก็จะแตกต่างกันใน 7 วัน  ในวันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะ มีอาวุธคือ จักรและสังขพาหนะคือครุฑ, วันจันทร์ ชื่อนางโคราคะ มีอาวุธคือ พระขรรค์และไม้เท้า   พาหนะ คือ พยัคฆ์ (เสือ), วันอังคาร ชื่อ นางรากษส  มีอาวุธคือ ตรีศูลและธนู  พาหนะคือวราหะ(หมู), วันพุธ ชื่อ นางมณฑา  มีอาวุธคือ ไม้เท้าและเหล็กแหลม  พาหนะ คือ คัทรภะหรือคัสพะ(แพะหรือลา), วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณี มีอาวุธคือ ขอช้างและปืน  พาหนะ คือ กุญชร(ช้าง), วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทา มีอาวุธ พระขรรค์และพิณ  พาหนะ คือ มหิงส์ (ควาย) และวันเสาร์ ชื่อว่า นางมโหทร มีอาวุธ คือ จักรและตรีศูล พาหนะ คือ นกยูง

            พระยาอนุมานราชธนยังเคยกล่าวถึงชื่อนางสงกรานต์ ว่า บางตำราก็มีคลาดเคลื่อนต่างกันไปบ้างบางชื่อ เช่น นางกิมิทาประจำวันศุกร์ บางแห่งเป็นนางมิศระ และว่าชื่อของนางเทพธิดาทั้ง 7 บางชื่อแปลแล้วก็ไม่น่าฟัง  เช่น นางรากษส แปลว่า นางยักษ์ร้าย  นางกิริณี แปลว่า นางช้าง นางมโหทร แปลว่า นางมีพุงโต เป็นต้น ทั้งนี้เหตุใดนางฟ้าจึงมีชื่อเช่นนี้ก็ไม่ทราบแน่ชัดและบางชื่อก็แปลไม่ออก อย่างไรก็ดี แม้นางสงกรานต์บางนางจะมีชื่อเป็นยักษ์เป็นมาร แต่ภาพวาดแต่ละนางก็มักมีรูปร่างอรชรอ้อนแอ้น และหน้าตาสวยงามตามลักษณะนางฟ้า ไม่ได้วาดรูปเป็นนางยักษ์อย่างชื่อ ที่น่าสังเกตคือ นางทั้งเจ็ดเป็นธิดาท้าวกบิลพรหม อยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาที่อยู่ชั้นต่ำสุด แต่บิดาคือท้าวกบิลพรหม ตามชื่อก็น่าจะอยู่บนสวรรค์ชั้นพรหมโลกที่อยู่เหนือสวรรค์ของเทวดาไปอีกหลายชั้น และเมื่อขึ้นชื่อว่าพรหม ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ไม่น่าจะมีเมียได้ แต่ไฉนถึงได้มีลูกสาวถึง 7 คนและยังส่งไปอยู่สวรรค์ชั้นต่ำสุดก็ไม่ทราบได้ ดังนั้นท้าวกบิลพรหม ในตำนานจึงอาจจะไม่ใช่พรหมอย่างที่เข้าใจ  อาจจะเป็นแบบอสุรพรหมอย่างในเรื่องรามเกียรติ์ 

            “นอกจากนี้การทรงพาหนะมาของนางสงกรานต์นั้น ในแต่ละปีไม่ได้ขี่มาอย่างธรรมดาเสมอไป บางปีก็ยืนมา บางปีก็นอนลืมตาบ้าง หลับตาบ้าง ซึ่งอาการเหล่านี้ ท่านว่าเป็นความฉลาดของคนโบราณที่จะทำให้คนไม่รู้หนังสือมองรูปปราดเดียวก็รู้ได้ทันทีว่า วันมหาสงกรานต์หรือช่วงที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษอันเป็นวันปีใหม่ เริ่มเวลาใดโดยดูจากท่าของนางสงกรานต์นั่นเอง  ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีตำนานก็ยังมีความน่าสนใจและฟังเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อจริงๆ  อีกทั้งเพราะตำนานสงกรานต์ทำให้ได้เล่นน้ำ ทำกิจกรรมต่างๆสนุกสนานเป็นประจำในทุกปี”  ที่ปรึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าว

            พูดถึง “น้ำ” ที่เป็นสีสันที่ขาดไม่ได้เลยในประเพณีสงกรานต์  เพราะเราใช้น้ำในหลากหลายกิจกรรม ตั้งแต่การสรงน้ำพระ  การกรวดน้ำ  การรดน้ำขอพร  และการเล่นสาดน้ำกันเพื่อความสนุกสนาน  ทัศชล  เทพกำปนาท  ที่ปรึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม บอกว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เล่นน้ำกันแล้ว แต่สำหรับวิกฤตการณ์โควิด-19 เราก็ยังสามารถมอบ “น้ำ” ในรูปแบบอื่นให้กันแทนได้ อย่าง “น้ำคำ” ในที่นี้หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำที่เราจะเจรจาต่อผู้อื่นนั่นเอง  ไม่ว่าจะเป็นการพูดกันต่อหน้า หรือทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทาง social media การสดน้ำคำดีๆ ใส่กันก็จะสร้างขวัญกำลังใจหรือประโยชน์ต่อผู้ฟัง  ไม่ว่าจะคนในบ้าน   เพื่อนบ้านใกล้เคียง  รวมถึงเพื่อนๆในโลกออนไลน์ “อีกคำคือ “น้ำใจ” ในที่นี้หมายถึง ความจริงใจ ไม่เห็นแก่ตัว นั่นเอง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"