13 เม.ย. 63 - ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยนายสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.เพื่อขอยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 65 ประกอบ มาตรา 66 และระเบียบ กกต. ว่าด้วย จำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของการให้ตามประเพณี หรือเมื่อมีเหตุอันสมควรและการยื่นคัดค้านเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไปพ.ศ. 2561 รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 61
นายสฤษฎ์พงษ์ กล่าวว่า ระเบียบของ กกต.เป็นอุปสรรค์ในภาวะวิกฤติ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้เป็นเป็นอุปสรรคกับนักการเมืองทุกคนไม่ว่าระดับใด โดยเฉพาะ ส.ส.ที่ประชาชนคาดหวัง อยากให้ลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งภาวะวิกฤติครั้งนี้ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าจะจบเมื่อไหร่ แต่ระเบียบดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรค์ว่าถ้านักการเมืองคนไหนบริจาคเกินจำนวน 300,000 บาท ต้องนำยอดเงินนี้ไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งหน้า เราก็เห็นว่าในภาวะวิกฤติเช่นนี้เพดานเงินจำนวน 300,000 บาท ควรได้รับการยกเว้น ซึ่งก็จะทำให้นักการเมืองที่ประชาชนคาดหวังความช่วยเหลือสูงมาก สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มที่ บางครั้งเราอาจมีสปอนเซอร์ รวมกลุ่มกับองค์กรต่างๆที่จะช่วยเหลือประชาชน จำนวนทรัพย์สินในอนาคตจึงอาจเป็นปัญหาได้ หากต้องไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งหน้า
อย่างตนถ้าวันนี้บริจาคเงินช่วยเหลือ 300,010 บาท ไม่ใช่เอาเงินส่วนเกินแค่ 10 บาท ไปคำนวณ แต่ต้องเอาทั้ง 300,010 บาทไปรวมคำนวณ ไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองคนเดียว แต่ถ้าเราไปทำพรรคการเมืองก็ต้องนำไปคำนวณด้วย ถ้าเราไปทำในนามพรรคการเมืองด้วยพรรคก็จะมีปัญหา การเลือกตั้งครั้งหน้าก็จะเกิดความวุ่นวาย นักการเมืองก็ไม่สบายใจ คู่แข่งหรือฝ่ายตรงกันข้ามที่แพ้การเลือกตั้งก็จะพยายามจับผิด เพื่อเอาไปเป็นประเด็นต่อสู้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า
จึงอยากให้ กกต.ทบทวนระเบียบนี้ เฉพาะครั้งนี้ ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยก็ประสบภาวะวิกฤติ จึงควรยกเว้นระเบียบนี้ โดยตนในนามพรรคภูมิใจไทย และนายสิระ ในฐานะพรรคพลังประชารัฐ มีความมุ่งหมายตรงกัน จึงมายื่นหนังสือต่อ กกต.ในครั้งนี้ ทั้งนี้ไม่ต้องห่วงเรื่อง ส.ส.จะบริจาคเงินเดือนหรือไม่ เพราะเงินเดือน ส.ส.หักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือไม่เท่าไหร่ ตนเชื่อว่า ส.ส.ทุกคนใช้จ่ายเงินเกินเงินเดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่น่าที่จะต้องมาพูดบริจาคเงินเดือนให้ไปปลดล็อกระเบียบนี้ดีกว่า แล้วจะเห็นเลยว่า ส.ส.แต่ละพื้นที่มีโครงการช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ระเบียบนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ หาก กกต.ปลดล็อกแล้ว ประชาชนก็จะได้รับการช่วยเหลือมากขึ้น
ด้านนายสิระ กล่าวว่า อยากให้ยกเว้นในช่วงที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีผลใช้บังคับ เพราะ ส.ส.เป็นตัวแทนประชาชน เวลาประชาชนมีปัญหา วิกฤติข้าวไม่มีกิน ยาฆ่าเชื้อไม่มีใช้ ก็ต้องพึ่งพา ส.ส. ถ้าเราไม่ทำก็เหมือนคนไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ จำกัดสิทธิในการช่วยเหลือ วันนี้คำว่าได้เปรียบเสียเปรียบในทางการเมือง เจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบนั้น แต่เราจำกัดเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่คนที่เป็นคู่แข่ง หรือคนที่หวังจะเล่นการเมือง ทำช่วงนี้ ถามว่าใครได้เปรียบเสียเปรียบ คนที่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้วก็เสียเปรียบ ซึ่งตนเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ต้องการให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เมื่อมีวิกฤติทุกคนมีกำลังความสามารถ มีสำนึกที่จะตอบแทนประชาชน ก็ควรเปิดกว้างไปเลย ในช่วงที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |