นักวิชาการห่วงผลกระทบหากเลื่อนประมูลเอราวัณ-บงกช หวั่นทำความเสียหายต่อด้านพลังงานกว่า 4.5 แสนล้านบาท/ปี ส่งผลต่อเนื่องถึงการลงทุนในอนาคตและปัญหาการตกงานเพิ่มขึ้น
03 เม.ย.61- แหล่งข่าวจากผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เปิดเผยว่า มีความเป็นห่วงการเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่หมดอายุ หากมีการเลื่อนการประมูลโดยเฉพาะในแหล่งเอราวัณ-บงกช ที่จะหมดอายุในปี 2565-2566 ออกไป จะทำให้เกิดมูลค่าที่เสียหายสูงกว่า 450,000 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะรายได้ของรัฐบาลที่จะหายไปด้านค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายได้อื่น ๆ คิดเป็นมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ยังส่งผลเรื่องก๊าซธรรมชาติทีเดิมมีการขุดเจาะได้จะหายไป 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(เทียบเท่าโรงไฟฟ้าขนาด 1,200 เมกะวัตต์ จำนวน 10 โรง หรือมากกว่า 50% ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซทั้งหมด) ซึ่งจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)มาทดแทน ส่งผลต่อเนื่องถึงค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 18 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อเทียบกับราคาแอลเอ็นจีที่ 10 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู
ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอต่อการนำเข้าแอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากนี้ธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจต่อเนื่องมีต้นทุนสูงขึ้นจากการที่ต้องนำเข้าสารตั้งต้นมาทดแทน ส่งผลให้เกิดมูลค่าความเสียหายรวม ๆ กว่า 230,000 ล้านบาทต่อปี
แหล่งข่าวกล่าวว่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะได้รับผลกระทบในส่วนนี้ด้วย และอาจจะหยุดการลงทุน ส่งผลให้เงินลงทุนจะหายไปจากผู้รับสัมปทานและบริษัทที่รับจ้างบริการต่าง ๆ รวมกว่า 160,000 ล้านบาทต่อปี และทำให้มีคนตกงานกว่า 10,000 คน อย่างไรก็ตามหากการประมูลล่าช้า ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้รายเดิมยิ่งได้เปรียบในการประมูล
“ตัวที่กระทบหลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่องค่าภาคหลวงที่รัฐจะต้องสูญเสียไป และการนำเข้าแอลเอ็นจีที่จะใช้เงินมากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันจะลดต่ำลงแล้วส่งผลให้ค่าภาคหลวงลดลงนิดหน่อย แต่เมื่อคิดจากกำลังการผลิตของแหล่งบงกชและเอราวัณก็ยังเป็นเงินที่สูงมากอยู่ดี”แหล่งข่าวระบุ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |