ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้พิจารณาการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยมีมติไม่จ่ายเงินส่วนต่างงวดที่ 23 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่แจ้งเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 5-11 เม.ย.2563 เพราะราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นเกินไปกว่าราคาประกันรายได้ทุกชนิด ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายส่วนต่างในงวดนี้
ทั้งนี้ ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่ได้มีการคำนวณราคาอ้างอิง เพราะสิ้นสุดฤดูกาลไปแล้ว แต่ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาอ้างอิงอยู่ที่ตันละ 14,935.33 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,181.71 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,392.65 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 17,097.69 บาท ซึ่งทุกชนิดราคาสูงกว่าราคาที่รัฐบาลประกันรายได้เอาไว้
“ถือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เริ่มคิกออฟโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.2562 เป็นต้นมา โดยข้าวที่มีการจ่ายชดเชยมาโดยตลอด ก็คือ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จ่ายมาจนถึงงวดที่ 22 แต่พองวดที่ 23 ไม่มีการจ่ายแล้ว เพราะราคาข้าวปรับตัวขึ้นเร็วมาก โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ที่เพิ่มขึ้นเกินตันละ 1 หมื่นบาท ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้งที่ราคาข้าวขึ้นมาถึงขนาดนี้”
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น มาจากความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ทั้งจากการบริโภคในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาจากความต้องการข้าวเพื่อส่งออก หลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญ เช่น เวียดนาม ได้ห้ามส่งออกข้าว อินเดียระงับคำสั่งซื้อใหม่ ทำให้คำสั่งซื้อข้าววิ่งมายังไทยมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกได้ในราคาดี และให้ติดตามสถานการณ์ข้าวสารบรรจุถุงสำหรับการบริโภคให้มีเพียงพอต่อความต้องการ และดูด้านการส่งออกข้าวควบคู่ไปด้วย โดยให้บริหารจัดการให้เกิดความสมดุลที่สุด ทั้งการบริโภคและการส่งออกท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ประกันรายได้ข้าวเปลือกจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท ครัวเรือนละ 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละ 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน แต่ถ้าเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของข้าวชนิดที่กำหนดไว้สูงสุด โดยผลการจ่ายเงินส่วนต่างที่ผ่านมา รวม 23 งวด ได้จ่ายเงินชดเชยรายได้ไปแล้วประมาณ 19,368 ล้านบาท คิดเป็น 92.4% ของวงเงินประกันรายได้ทั้งหมด 20,940.84 ล้านบาท
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |