12 เม.ย. 63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านรายการลมหายใจพีซทีวี เวทีทัศน์ ว่า ในขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 เมื่อพิจารณาจากตัวเลขผู้ป่วยแล้ว พบว่า ไวรัสแพร่ระบาดในไทยไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เนื่องจากวันนี้ (12 เม.ย.) มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 33 รายจากประชากร 66 ล้านคน รวมผู้ติดเชื้อทั้งหมดคือ 2,551 ราย รักษาหาย 1,218 ราย สะท้อนถึงสถิติมีผู้ป่วย 2 คน รักษาหาย 1 คน และอยู่ระหว่างรักษาอีก 1 คน ส่วนผู้เสียชีวิตมีเพิ่มอีก 3 คนรวมเป็น 38 คน แปลว่าติดเชื้อ 67 คนตาย 1 คน และสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกจากประชากรรวมประมาณ 7 พันล้านคน ติดเชื้อ 1,380,314 คน ตาย 108,827 คน
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่น่าห่วงกว่าโควิด-19 คือ ความอดยาก วันนี้เป็นที่ชัดเจน เพราะมาตรการของรัฐที่ออกมายังมีความสับสน ทำคนสงสัยการแจกเงิน 5 พันบาทให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งมีผู้มาลงทะเบียนกว่า 26 ล้านคน แต่ผ่านการพิจารณาพร้อมได้รับแจกเงินแล้วมีจำนวนน้อยมาก และยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งคนไม่ควรได้รับ กลับได้ ส่วนคนที่ควรได้รับ กลับไม่ได้
"พยายามอธิบายความอย่างสร้างสรรค์มาตลอด รวมทั้งได้สื่อสารให้ประชาชนและพรรคฝ่ายค้านร่วมมือกับรัฐบาลทำสงครามโควิด-19 ซึ่งมีหัวใจหลักว่า รัฐบาลต้องฟังประชาชนและประชาชนจะฟังรัฐบาลที่ฟังเสียงประชาชน แต่ถ้าการแจกเงินที่ไม่ใช่เงินของตัวเอง และไปแจกให้ประชาชนเจ้าของเงิน ผู้เสียภาษีอากรทั้งทางตรงและอ้อมยังสอบตก ยังผิดพลาด ยังล่าช้า ไร้ประสิทธิภาพ ผมว่าไม่ไหวแล้ว" นายจตุพร ระบุ
ส่วนการกู้เงิน 1.6 ล้านล้านบาทหรือ 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ตนเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องไปกู้ถึงขนาดนั้น รัฐควรพักโครงการลงทุนทุกชนิด แล้วนำเงินมาแจกประชาชนให้ยังชีพอยู่ได้ เพราะเงิน 5 พันบาทไม่ได้มากมาย เนื่องจากยังต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ คนยากจนหาเช้ากินค่ำจึงอยู่ยาก กรณีเงื่อนไขการแจกเงิน บอกว่าอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ไม่อยู่ในวัยทำงานนั้น แต่คนวัยนี้ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ต้องเช่าหอพัก แม้ว่าสถาบันการศึกษาจะหยุดเรียนแล้วก็ตาม แต่ยังใช้ชีวิตอยู่เพื่อหาวิธีการเรียนให้รู้เท่าทันกัน
รวมถึงหลักเกณฑ์ที่บอกว่า ไม่ได้ประกอบอาชีพหรือตกงานมาก่อนที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ถ้าเมียเป็นแม่บ้าน ทั้งครอบครัวสามีทำงานคนเดียว จึงเป็นปัญหาผลกระทบลูกโซ่ ซึ่งแปลความกันว่า หนึ่งครอบครัวหาเงินได้เพียงคนเดียวต้องนำมาเลี้ยงดูคนในครอบครัว แต่สถานการณ์เช่นนี้หาเงินได้น้อยลงหรือหาไม่ได้เลยจะทำอย่างไร
แม้กระทั่งอาชีพเกษตรกรที่บอกว่ามีมาตรการรองรับ ความจริงแล้วประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ต่างรู้กันชัดเจนว่า ช่วงหลายปีต่อเนื่องมานั้น เกษตรกรต้องเจอทั้งภัยแล้ง น้ำท่วมแล้วมาภัยแล้ง วนหมุนกันไปมา จึงมีพืชบางชนิดเท่านั้นที่ปลูกได้ ทุกคนต่างพินาศย่อยยับทั้งหมดมีตัวเลขชัดเจน รัฐบาลไปถามหากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ก็ทราบหมดว่า มีเกษตรกรจำนวนกี่ราย กลับบอกว่าเดี๋ยวจะมีมาตรการ
“วันนี้เราต้องการได้รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่โอ้เอ้ ลอยไปลอยมา มาตรการไม่อยู่กับร่องกับรอยโดยเฉพาะเรื่องการแจกเงิน 5 พันบาท ตอนแรกบอก 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้างก็กลับมา 3 เดือนอีก เป็นผู้บริหารประเทศแบบนี้ได้อย่างไร ทำยังกับขายหมากเก็บ” ประธาน นปช. กล่าว
นายจตุพร ระบุถึงคำว่าเผด็จการเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทย หากปล่อยให้เผด็จการทางเศรษฐกิจอยู่ครองประเทศยาวนาน ไม่ว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบบเผด็จการหรือว่าประชาธิปไตย เผด็จการเศรษฐกิจจะอยู่ครองเศรษฐกิจของไทยไปแบบนี้ ไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายว่าด้วยอำนาจเหนือการตลาด ไม่คำนึงถึงวิธีการใดๆทั้งสิ้น ทำให้รวยยิ่งกว่ากระจุก
ดังนั้นหากเฉลี่ยความรวย ขอให้ลดกำไรลงมาช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 คืนให้แก่ประชาชน เพราะถึงเวลาประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ คนเหล่านี้ก็ได้กำไรเพิ่มเช่นเดิม แต่ตนอยากบอกว่า ปล่อยให้ประเทศเป็นแบบนี้ไม่ได้ จึงต้องสู้กันในระยะยาว เพราะหากไม่สู้กันในระยะยาวการผูกขาดทางเศรษฐกิจก็เป็นเช่นนี้ต่อไป ที่ต้องพูดถึงเผด็จการเศรษฐกิจขึ้นมาเพราะเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนโดยตรง ส่วนประเด็นเรื่องการเมืองวางไว้ก่อนหลังไวรัสโควิด-19 จบค่อยว่ากัน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |