9 เม.ย. นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐเริ่มทยอยจ่ายเงินทดแทนเดือนละ 5 พันบาท รวม 3 เดือน แก่ประชาชนแล้ว ขณะที่จะเพิ่มวงเงินให้เป็น 6 เดือน มีคนกรอกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ถึง 20 ล้านคน แน่นอนย่อมมีคนกรอกข้อความเท็จ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ อีกทั้งเป็นการเอาเปรียบคนที่เดือดร้อนจริงๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า ตนเห็นว่าผู้กรอกข้อมูลเท็จนอกจากน่าจะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) กับฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ.มาตรา 137 แล้ว น่าจะมีความผิดฐานฉ้อโกง เพราะมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยทุจริต ทำให้ได้ประโยชน์ทางทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกคือรัฐ มีโทษจำคุกถึง 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนต้องสอบให้ได้ข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบความผิดจนสิ้นกระแสความ แล้วรีบส่งสำนวนให้อัยการฟ้องโดยเร็ว
ในส่วนของอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิ์ ยังให้บริการปรึกษาแก่ประชาชนฟรีทั่วประเทศ ใครสงสัยเรื่องสิทธิ์ให้ไปพบได้ ที่ตนลงไปรับฟังข้อมูลพบว่า ผู้ร้องบางรายเป็นแม่ค้ามีข้อพิพาทกับเจ้าของสถานที่ ขอลดค่าเช่าช่วงโควิดที่ขายของไม่ได้ อันนี้เป็นเรื่องสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งจะลดให้หรือไม่ต้องคุยกันเอง แต่หากเป็นร้านเช่าในห้าง ห้างปิดเพราะรัฐมีมาตรการช่วงโควิด ขาดรายได้ จึงมาปรึกษาอัยการ กลุ่มนี้ขอรับเงินช่วยเหลือได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |