พิษโคโรนาทุบศก.ไทย เสียหายล้านล้านบาท!


เพิ่มเพื่อน    


    กกร.ประเมินพิษโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจไทยเสียหายล้านล้านบาท ตกงานหลายล้านคน ชงแพ็กเกจเยียวยา 3 กลุ่ม "ผู้ประกอบการ-แรงงาน-ขนส่ง"
    เมื่อวันที่ 8 เมษายน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท., สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงผลกระทบเศรษฐกิจในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งในช่วงเดือน ก.พ.2563 ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเกือบทุกเครื่องชี้วัดหดตัวลงอย่างชัดเจน ทั้งการท่องเที่ยว การส่งออก การผลิตและการลงทุน มีเพียงการบริโภคสินค้าไม่คงทนที่ยังขยายตัว ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.
    นายสุพันธุ์กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ที่ประชุม กกร.มองว่า แม้ภาครัฐจะมีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบระยะที่ 1-2 และเตรียมที่จะมีมาตรการออกมาเพิ่มเติม รวมถึงมีมาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินต่างๆ แต่โดยรวมแล้วอาจจะไม่สามารถทดแทนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจและประชาชนจากการขาดรายได้และการหยุดหรือปิดกิจการ
    "กกร.ประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยอาจมีมูลค่าสูงถึงหลักล้านล้านบาท และกระทบการจ้างงานหลายล้านคน นอกจากนี้ หากการระบาดของโรคโควิด-19 สามารถยุติลงได้ภายในช่วงครึ่งปีแรก การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ สู่ภาวะปกติก็คงต้องใช้เวลา" ประธาน กกร.ระบุ
    ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจจะยังอยู่ในภาวะที่แย่ลงต่อเนื่อง นานาประเทศออกมาตรการควบคุมเพิ่มเติม เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ภาครัฐประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-30 เม.ย.2563 และมีมาตรการขอความร่วมมือปิดสถานประกอบการในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    ขณะเดียวกัน การที่รัฐบาลออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ใน 3 ระยะ ทั้งพระราชกำหนดการกู้เงิน การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ให้เอสเอ็มอี การจัดสรรสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเอสเอ็มอี ทาง กกร.จึงยังไม่มีการพิจารณาปรับจีดีพีในเดือนนี้ เพื่อรอประเมินผลกระทบจากมาตรการต่างๆ ที่มติคณะรัฐมนตรีออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย กกร.มีมติจัดตั้งอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น
    ประธาน กกร.กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยองค์การระหว่างประเทศหลายสถาบันต่างทยอยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจหลักในโลกลง สำหรับเศรษฐกิจไทยเองก็หนีไม่พ้นที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 นี้ และเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มข้นมากขึ้นตามลำดับ
    นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้รวบรวมข้อเสนอเป็นมาตรการออกมาเพื่อดูแลด้านผู้ประกอบการ มาตรการด้านแรงงาน และการขนส่งโลจิสติกส์ เพื่อหวังว่าจะเป็นแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว โดยแบ่งเป็นด้านผู้ประกอบการ คือ 1.ขอให้ภาครัฐพิจารณาออกคำสั่งปิดกิจการของรัฐให้กับผู้ประกอบการโรงแรมหรืองานบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าข่ายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของรัฐ และพนักงานจะได้เงินชดเชยตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
    2.ขอให้ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศ และปัจจุบันต้นทุนค่าน้ำมันได้ลดลงอย่างมาก จึงขอให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงด้วย 3.เพิ่มสภาพคล่องโดยการอัดฉีดวงเงินใหม่ให้กับภาคธุรกิจ ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% โดยให้ บสย.ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มจาก 40% เป็น 80% 4.ให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันการระบาดของโควิด-19 และ 5.รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศ ในราคาที่เหมาะสม
    มาตรการด้านแรงงาน 1.ขอให้ภาครัฐพิจารณามาตรการเพิ่มเติมให้แรงงาน ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ได้รับการชดเชยรายได้ โดยพนักงานที่เข้าระบบหยุดงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน จะไม่สามารถได้รับเงินชดเชยการหยุดกิจการของสถานประกอบการชั่วคราวจากคำสั่งของรัฐ และไม่เข้าหลักเกณฑ์เยียวยา 5,000 บาท ดังนั้นควรมีมาตรการชดเชยช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคม โดยจ่ายเงิน 50% ของค่าจ้าง 2.อนุญาตให้มีการจ้างงานรายชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน โดยกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาทต่อวัน คิดเป็นชั่วโมงละ 40-41 บาท ต่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง และไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน  
    3.ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้าง จาก 4% เหลือ 1% ให้เท่ากับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 4.เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทโดยยังได้รับเงินเดือน 75% และไม่ตกงาน รวมทั้งช่วยเหลือบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ที่มีโอกาสปลดแรงงานออก สามารถที่จะจ่ายเงินเดือนในจำนวนเงิน 75% ของเงินเดือนที่ได้รับปกติ โดยภาครัฐสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือน 50% (จากประกันสังคม) และบริษัทเอกชนจ่ายอีก 25% ให้พนักงานและแรงงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท และ 5.บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนค่าจ้างแรงงานมาใช้หักภาษีได้ 3 เท่า ในช่วงระหว่างโควิด-19 ระบาด
    และมาตรการด้านขนส่ง โลจิสติกส์ คือปัจจุบันแต่ละจังหวัดมีการประกาศมาตรการไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่ง กกร.จึงขอเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ประกาศมาตรการจากส่วนกลางเพื่อปฏิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ โดยขอให้ กกร.มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"