ปปท.นัดถกงาบงบ'คนจน' โพลบี้แก้ศก.ส่วนโกงรั้งที่3


เพิ่มเพื่อน    

    “กรทิพย์” เผยเตรียมถกความคืบหน้างาบเงินคนจนอีก 23 จังหวัดที่เหลือ อึ้งตอนนี้พบโกงแล้วเลยครึ่งประเทศ 53 จังหวัด “อธิบดีกรมชลฯ” เร่งแจงยันไม่เคยปล่อยทุจริตลอยนวล โพลเผยอยากให้แก้เรื่องปากท้องอันดับหนึ่ง ส่วนเรื่องคอร์รัปชันอยู่แค่อันดับ 3 
เมื่อวันอาทิตย์ ยังคงมีความเคลื่อนไหวในกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตการเบิกจ่ายงบประมาณอุดหนุนประเภทเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ และผู้ติดเชื้อเอดส์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  (พม.) โดย พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ระบุว่า ในวันที่ 2 เม.ย. จะมีการเรียกประชุมหน่วยปฏิบัติการระดับผู้อำนวยการ ป.ป.ท.เขตพื้นที่ 1-9 เพื่อสรุปรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบในพื้นที่อีก 23 จังหวัดที่เหลือ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนความผิดอาญาต่อไป ซึ่งขณะนี้พบจังหวัดที่ส่อว่าทุจริตแล้ว 53 จังหวัด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบ 20 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด
    ด้านนายมนัส กำเนิดมณี รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงกระแสข่าวพบการทุจริตหลายโครงการในหน่วยงานของกรมว่า ในการดำเนินการทุกโครงการทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีระบบตรวจสอบรัดกุมทุกขั้นตอน และที่ผ่านมาหากประชาชนพบเห็นสิ่งผิดปกติ ได้ร้องเรียนหรือตรวจพบการกระทำความผิด จะมีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงทันที ถ้าพบมีมูลและกระทำความผิดวินัยจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด
“นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งแล้วว่าหากพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดอยู่ในข่ายต้องสงสัยกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จะย้ายออกจากพื้นที่ไว้ก่อน เพื่อให้คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงให้ปรากฏ หากพบว่ากระทำผิดจริง จะดำเนินการลงโทษตามระเบียบต่อไป” นายมนัสกล่าว
        นายมนัสยังระบุถึงการร้องเรียนข้าราชการโครงการชลประทานนครราชสีมาว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในโครงการขุดลอกแก้มลิงบางรายการ ว่ากรมได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง พบว่างานขุดลอกแก้มลิงบางรายการดำเนินการไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดจริง และแม้ว่าผลการตรวจสอบจะยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความผิดชัดเจนถึงขั้นชี้มูลได้ แต่เพื่อประโยชน์ของทางราชการ จึงได้มีคำสั่งให้ย้ายข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ไว้ 3 ราย เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและป้องกันการกระทำที่อาจมีผลต่อการตรวจสอบโดยเร็ว และหากมีการชี้มูลความผิดอย่างชัดเจน จะได้มีบทลงโทษบุคคลเหล่านั้นตามระเบียบที่กำหนดไว้
       "ยืนยันว่าที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและลงโทษผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงไปแล้วหลายโครงการที่ตรวจพบการทุจริต มีการโยกย้ายสำรองราชการและลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องทุกราย โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ” นายมนัสกล่าว
วันเดียวกัน สำนักวิจัยซูเปอร์โพลได้เผยผลสำรวจ เรื่องปัญหาเร่งด่วนกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ซึ่งศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,585 ตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เร่งแก้ไข พบว่า 20.1% ระบุเรื่องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้เศรษฐกิจ หนุนชาวบ้านทำมาค้าขาย, 18.9% ระบุจราจร มลพิษ อากาศเป็นพิษ, 16.2% ระบุแก้โกง หัวคิว และคอร์รัปชัน,  11.2% ระบุแก้ระบบการศึกษาไทย, 10.2% ระบุความไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม, 9.3% ระบุแก้ยาเสพติด อาชญากรรม รองๆ ลงไปคือ การเลือกตั้ง ราคาสินค้า ค่าแรง ค่าจ้าง และอื่นๆ เช่น อิทธิพล การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค เป็นต้น
    นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผลสำรวจเรื่องเงินๆ ทองๆ ของประชาชนเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่  66.1% ระบุมั่นคง แต่ 1 ใน 3 หรือ 33.9% ระบุไม่มั่นคง ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มที่มีรายได้น้อยไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน มีความไม่มั่นคงทางการเงินสูงสุดถึง 47.6% ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้มากระหว่าง 35,001-250,000 บาทต่อเดือน มีเพียง 4.9% ที่ระบุไม่มีความมั่นคงทางการเงิน และกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระหว่าง 15,001-35,000 บาทต่อเดือน 22% ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ 77.5% เข้าพึ่งธนาคารพาณิชย์เพื่อหาสินเชื่อเมื่อร้อนเงิน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"