แฟ้มภาพ
6 เม.ย. 63 - นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
วันอังคารนี้ ครม. จะพิจารณา 3 พระราชกำหนดสำคัญ
1. พรก. กู้เงิน
2. พรก. สินเชื่อช่วย SME
3. พรก. ให้แบงค์ชาติรับซื้อพันธบัตรเอกชนไทย
ทั้งสามเรื่องเป็นเรื่องสำคัญ ผมจะรอดูรายละเอียดก่อนแสดงความเห็นเพิ่มเติม แต่เบื้องต้นมีประเด็นนำเสนอให้พิจารณา (และระมัดระวัง) ตามนี้ครับ
1. พรก. กู้เงิน
หลักการของการออก พรก. กู้เงิน คือเพื่อเสริมกำลังเงินให้รัฐเพิ่มเติมจากที่ พรบ. งบประมาณกำหนดไว้ และต้องเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่เร่งด่วนเกินกว่าที่จะรอเงินงบประมาณปีถัดไป
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลต้องพิสูจน์ให้เห็นก่อนอื่นเลย คือรัฐบาลต้องปรับงบที่ไม่เร่งด่วนหรือชัดเจนว่าใช้ไม่ทันสิ้นปีงบประมาณ และเอางบนั้นมาจัดสรรใหม่ในการต่อสู้กับสภาวะวิกฤติ เรื่องนี้นายกฯสั่งไปแล้ว และน่าจะมีความชัดเจนพรุ่งนี้
ขั้นตอนที่สองคือรัฐยังมีวงเงินกู้ตามเพดานตามกฎหมายในปีงบประมาณ (เหลืออยู่ประมาณ 300,000 ล้านบาท) รัฐควรพิจารณาวิธีใช้วงเงินนี้ก่อนที่จะออก พรก.
หากยังต้องออก พรก. รัฐต้องออก พรก. ในวงเงินที่จะใช้จริงอย่างเร่งด่วนทันทีเท่านั้น ส่วนที่เหลือควรเป็นการใช้เงินในงบประมาณปี 2564 ซึ่งต้องมีการรื้อใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
2. พรก.สินเชื่อ SME
ประเด็นสำคัญคือแบงค์ชาติจะมีระบบประเมินความยุติธรรมในการเข้าถึงวงเงินจากแบงค์ชาติอย่างไร ผมคิดว่าแบงค์ชาติคงใช้กลไกธนาคารในการส่งวงเงินผ่านไปถึง SME จึงมีประเด็นว่าจะตรวจสอบอย่างไรว่าผู้เดือดร้อนจริงได้รับการช่วยเหลือ ไม่ใช่เพียงลูกค้าเดิมของธนาคาร
3. พรก. ให้แบงค์ชาติรับซื้อพันธบัตรเอกชนไทย
กฎหมายนี้น่าจะสุ่มเสี่ยงที่สุดเพราะไม่เคยมีมาตรการนี้ในประเทศไทยมาก่อน ซึ่งแบงค์ชาติปกติจะเป็น ‘ผู้ปล่อยกู้แนวสุดท้าย’ (lender of the last resort) แต่หากแบงค์ชาติมารับการ rollover พันธบัตรตามข่าวที่ปรากฏ แบงค์ชาติจะเป็นผู้ซื้อธนบัตรในฐานะผู้ซื้อโดยตรงเป็นครั้งแรก ซึ่งคำถามที่จะตามมาคือ 1. แบงค์ขาติจะซื้อในราคาเท่าไร 2. ผู้ถือหุ้นและธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้จะร่วมรับผิดชอบอย่างไร (ไม่ควรเป็นการโอนความเสี่ยงและผลขาดทุนทั้งหมดมาที่แบงค์ชาติ โดยที่ผลกำไรในอนาคตยังอยู่ที่นายทุนเหมือนเดิม) 3. มาตรการนี้เป็นการนำเงินสำรองมาช่วยอุ้มผู้ประกอบการใหญ่ จึงมีคำถามว่าผู้ประกอบการ SME ที่ระดับเครดิตตํ่ากว่าเกรดที่แบงค์ชาติพร้อมรับ จะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรหรือไม่
ผมได้ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์อีกหลายท่าน
เราเห็นเพิ่มเติมว่าแบงค์ชาติควรต้อง
1. เริ่มประเมินสถานการณ์ของแต่ละบริษัทที่ออกพันธบัตรแต่เนิ่นๆ เพื่อกำหนดทั้งโครงสร้างการเงินที่เหมาะสมโดยรวมของกิจการ (อย่ารอให้ใกล้ช่วงพันธบัตรจะหมดอายุ)
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์การดำเนินการของผู้ประกอบการในช่วงนี้และช่วงหลังวิกฤต
3. เจรจาร่วมกับเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นในการกำหนดการแบ่งรับภาระความความเสียหายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และกำหนดระดับความช่วยเหลือที่จะได้รับจากธนาคารกลาง
เรื่องการเตรียมกู้วิกฤตเศรษฐกิจจากโควิดเป็นเรื่องต้องทำแน่นอน และต้องทำอย่างรัดกุม ยุติธรรมและทั่วถึง ขอเป็นกำลังใจให้ทีมแบงก์ชาติ ทีมคลัง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |