5 เม.ย.63 - รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยการถือศีลอดอาหาร โรคโควิด-19 สร้างปัญหาใหญ่โตเกินคาดไปทั่วทั้งโลก ระหว่างที่เขียนอยู่นี้วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2020 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วทั้งโลกไต่ระดับขึ้นไปที่ 1.2 ล้านคนเข้าไปแล้ว เสียชีวิตเกิน 6 หมื่นราย ประเทศไทยติดเชื้อไป 2 พันกว่าคน เสียชีวิต 20 ราย คำแนะนำที่ใช้กันมากในเวลานี้คือการสร้างระยะห่างในสังคม (Social distancing) แนะนำให้แต่ละคนอยู่ห่างจากคนอื่น 1.5-2 เมตร เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการไอจามของผู้ป่วย ป้องกันตนเองด้วยสารพัดเครื่องมือ PPE ทั้งใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยโดยเจลล้างมือหรือสบู่ หยุดการสัมผัสหน้าตนเองเว้นแต่ต้องล้างมือสะอาดแล้วเท่านั้นและอีกหลายวิธี
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 สร้างปัญหารุนแรงให้กับปอดกระทั่งหายใจไม่ได้จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งเวลานี้ขาดแคลนขนาดหนัก บางประเทศถึงขนาดต้องเลือกกันแล้วว่าจะให้ใครมีชีวิตอยู่ต่อและจะให้ใครเสียชีวิต ขาดแคลนกันถึงระดับนั้น ในสถานการณ์เช่นนี้นอกจากไม่ควรติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังไม่ควรป่วยด้วยโรคอื่นอีกด้วยเนื่องจากสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุดเวลานี้คือโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแนะนำคนทั่วไปในเวลานี้ว่าอย่าได้ป่วย คำแนะนำง่ายๆคือทำร่างกายให้แข็งแรงเข้าไว้ด้วยการออกกำลังกาย หาทางเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยใช้โภชนาการ การนั่งสมาธิหรืออดอาหารก็แล้วแต่จะเลือก
การถือศีลอด เดือนรอมฎอนของมุสลิมช่วยทั้งเพิ่มภูมิต้านทาน ทั้งยืดอายุขัย มีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันกันมานานแล้ว ส่วนกลไกที่การอดอาหารเข้าไปมีผลต่อเมแทบอลิซึมในร่างกายกระทั่งทำให้ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นจะเป็นอย่างไรดูเหมือนมีคำอธิบายอยู่หลายเหตุผลขึ้นกับงานวิจัยชิ้นนั้นๆว่าเป็นไปในทิศทางใด ที่น่าสนใจเห็นจะเป็นงานวิจัยของ วอลเตอร์ ลองโก (Valter Longo) ศาสตราจารย์ด้านพฤฒาวิทยาหรือกลไกความชราภาพแห่งมหาวิทยาลัย USC ในแคลิฟอร์เนีย
ลองโกทำงานวิจัยด้านการอดอาหารกับภูมิต้านทานไว้หลายชิ้น โดยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ.2014 ศึกษาทั้งในคนและในหนูทดลอง พบว่าเมื่ออดอาหารแบบ IF ซึ่งแตกต่างจากการถือศีลอดของมุสลิมเล็กน้อย โดยอดอาหาร 16 ชั่วโมงคร่อมเวลากลางคืนต่อเนื่องกันนานสามวัน ผลคือเม็ดเลือดขาวในเลือดลดลง เอนไซม์ PKA และฮอร์โมน IGF-1 ลดลง ตลอดช่วงสามวันพบว่าเมื่อได้รับอาหารอีกครั้ง ร่างกายเกิดการกระตุ้นกลไกการสร้างเม็ดเลือดขาวใหม่ขึ้นทดแทน ภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น สรุปคือการอดอาหารช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานใหม่สดขึ้นมา เป็นภูมิต้านทานที่พร้อมจะรับมือกับโรคที่จะเข้ามากร้ำกราย
ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 ปีนี้ตรงกับเดือนชะอฺบานซึ่งเป็นเดือนก่อนรอมฎอน ท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ถือศีลอดแทบทั้งเดือน หากใครคิดจะอดอาหารเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่สุด จะเป็นทุกวันจันทร์และพฤหัสบดีอย่างที่ผมทำต่อเนื่องกันมานานหลายปี หรือถือศีลอด 3 วันช่วงขึ้น 13-15 ค่ำซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 6-8 เมษายน 2563 เป็นจังหวะที่ดีที่สุด ลองได้เลยอย่ารอ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |