ณรงศักดิ์ พู่วรรธนะ สานฝันฟาร์มปลาชะโดต่อยอดร้านอาหาร


เพิ่มเพื่อน    

 

      การเริ่มทำธุรกิจที่ผู้บริโภคไม่คุ้นเคยในผลิตภัณฑ์มากนัก อาจจะเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างท้าทายแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากต้องกลายมาเป็นผู้สร้างตลาดและดีมานด์ โดยหนึ่งในอาหารประเภทปลาที่หลายคนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั้น จะมีผู้บริโภครายย่อยหรือทั่วไปรู้จักปลาชะโดกันมากน้อยขนาดไหน สัปดาห์นี้อาทิตย์เอกเขนกพามาทำความรู้จัก ณรงศักดิ์ พู่วรรธนะเจ้าของฟาร์มและธุรกิจเนื้อปลาชะโดส่งออก กันให้มากขึ้น

        เริ่มแรกเลยผมได้มีโอกาสทำลูกปลาชะโดส่งไปยังพื้นที่แถบบางพลี บางบ่อ และลาดกระบัง จากนั้นก็อยากจะหันมาทำฟาร์มแห่งนี้เป็นของตัวเอง เนื่องจากเห็นช่องทางและมีโอกาสสร้างกำไรจากธุรกิจดังกล่าว โดยที่ผ่านมาได้มีเริ่มต้นเลี้ยง 1.2 หมื่นตัว แต่ในปัจจุบัน 1.2 แสนตัว จากจำนวน 5 บ่อ โดยปลาชนิดนี้สามารถทำได้หลายอย่าง แต่ตลาดส่วนมากกลับไปอยู่ที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในสิงคโปร์ที่มีอัตราการบริโภคปลาสูงถึง 80% ขณะเดียวกันเรายังได้มีการส่งออกไปยังชายแดนของประเทศมาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา หรือรวมแล้วอยู่ที่ประมาณเดือนละ 30 ตัน มีราคาส่งอออกอยู่ที่ 200 บาทต่อกิโลกรัม

      ทั้งนี้ การส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ได้เลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) เนื่องจากเนื้อปลาชะโดที่ส่งออกเป็นเนื้อปลาสด ซึ่งกระบวนการตั้งแต่จับปลา ขอดเกล็ด แล่เนื้อ บรรจุ และส่งออกจนถึงประเทศปลายทางจะต้องเสร็จสิ้นภายใน 24 ชม. เพื่อให้เนื้อปลามีความสดใหม่ มีคุณภาพที่ดี เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้นำเข้า ซึ่งบางส่วนนำไปตัดแต่งและบรรจุใหม่ แล้วนำไปแช่เย็นแช่แข็งอีกทอดหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งก็ถูกนำไปขายให้กับร้านอาหารและภัตตาคารโดยตรงทันที โดยเนื้อปลาชะโดในประเทศสิงคโปร์นิยมนำไปทำเป็นสเต๊กปลา ปลาต้มยำ ข้าวต้มเนื้อปลา และอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อปลามีความหนา เนื้อเยอะ เนื้อแน่น สีขาวสวย และไม่เหม็นคาว จึงทำให้ผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์นิยมบริโภคเนื้อปลาชะโดเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

      สำหรับขั้นตอนการเลี้ยง เขาได้เล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่าในช่วงปลายังเล็กจะบดอาหารให้กิน โดยอาหารจะเป็นปลาทะเลสด หลังจากนั้นหากมีอายุประมาณ 3 เดือนจะให้รับประทานทั้งตัว ไม่ต้องบดเป็นอาหารปลา โดยต้องใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 12 เดือนจึงจะจำหน่ายได้ และมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กิโลกรัมต่อตัว โดยเราต้องเปลี่ยนน้ำทุกวัน มีอาหารให้วันละ 1 มื้อ เพราะการที่มีน้ำใหม่ทำให้ปลาสดชื่น ไม่เป็นโรค จึงจำเป็นต้องถ่ายน้ำให้บ่อยๆ

      เขายังบอกอีกว่า ต้องการพัฒนาธุรกิจต่อไปเพื่อทำให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยในตอนนี้ธุรกิจต้นน้ำก็มีแล้ว อย่างการรวมรวบพันธุ์ปลาที่ตายมาหมักเกลือทำเป็นปลาร้า รวมถึงยังมีการเพาะเลี้ยงและแล่เนื้อส่งออก ต่อไปมีแผนจะทำเป็นธุรกิจร้านอาหาร โดยตอนนี้มีพนักงาน 20-30 คน ธุรกิจร้านอาหารจะชูในเรื่องของปลาเผาก่อน ลวกจิ้ม ผัดฉ่า ต้มยำ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ลองชิมว่ารสชาติดีเพียงใด และเกิดการบอกต่อ เพราะจริงๆ แล้วปลาชะโดแทบไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป นับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงสินค้าได้ และไม่รู้ว่ารสชาติของปลาชนิดนี้เป็นอย่างไร เนื่องจากไม่มีคนทำตลาดจริงจัง แต่เชื่อว่ามีผู้บริโภคต้องการ โดยฟาร์มก็มีลูกค้าหลายรายที่เลือกซื้อปลาชะโดไปทดแทนปลากะพงหรือปลาเก๋า ซึ่งพบว่าผลตอบรับดีกว่าปลาทั้งสองชนิด อีกปัจจัยหนึ่งเป็นเรื่องค่านิยมการรับประทานของคนไทย ที่มองว่าปลาช่อนเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ปลาชะโดเลี้ยงในฟาร์มจะใช้ปลาทะเลในการเลี้ยง จะมีสารอาหารสูงกว่าธรรมชาติ การเติบโตจะสม่ำเสมอ แต่หากอยู่ในธรรมชาติอาจจะเติบโตได้ยากและไม่สม่ำเสมอ แน่นอนว่าคุณภาพดีไม่ต่างกัน

        จริงๆ แล้วปลาชะโดก็มีอยู่ในธรรมชาติอย่างบริเวณเขื่อน ตามอ่าง ตามบึง แต่เนื้อจะรสชาติไม่เหมือนกันระหว่างปลาเลี้ยงกับปลาธรรมชาติ เนื่องจากปลาเลี้ยงจะมีรสชาติดีกว่า ด้วยการเลี้ยงดูและการให้อาหาร เราเองก็พยายามจะทำตลาดในเมืองไทยต่อเนื่อง มีพนักงานขายเข้าถึงร้านอาหารและโรงแรมต่างๆ โดยอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น เราอยู่ในวงการนี้มาเป็น 11 ปีแล้ว ส่วนมากเป็นการส่งออก ในประเทศไทยมีการขายไม่ถึง 5% เป้าหมายของการทำธุรกิจก็คือต้องมีร้านอาหารตามแผนที่วางไว้ เราต้องทำให้เป็นตัวอย่าง ใครอยากลองปลาชะโดให้มาที่ร้านของเราณรงศักดิ์กล่าวปิดท้าย.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"