ทีมโฆษกก้าวไกล ข้องใจมาตรการกักตัวเองที่บ้าน ควรจะเป็นทางเลือกแรกหรือไม่?


เพิ่มเพื่อน    

4 เม.ย.63 -  พรรคก้าวไกล เปิดตัวรายการ "(ย่าง) ก้าว (มอง) ไกล" ซึ่งเป็นรายการประจำสัปดาห์ วันนี้เป็นตอนแรก โดยมีชื่อตอนว่า "รัฐควรมีบทบาทอย่างไรในการสร้างความเข้าใจกับชุมชนเพื่อช่วยกันดูแลผู้ป่วยโควิด-19" ดำเนินรายการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพรรคก้าวไกล ประกอบไปด้วย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร และนางสาวสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.จังหวัดนครปฐม โดยที่งหมดเป็นทีมโฆษกพรรค

นายวิโรจน์ กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโควิท-19 ไม่ว่าจะช้าหรือจะเร็ว ก็ต้องระบาดไประยะที่ 3 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามารถรู้ได้ว่าติดไวรัสมาจากแหล่งใด ซึ่งตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลทำก็คือ พยายามจะไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกินกำลังของบุคลากรทางการแพทย์ที่ประเทศไทยมีอยู่

"เราต้องจินตนาการว่า หากไปถึงระยะที่ 3 ที่คนไม่รู้ว่าจะติดเชื้อจากที่ไหน หากคนหนึ่งคนต้องเดินไปโรงพยาบาลซึ่งสงสัยว่าตนเองติดเชื้อ แต่ไม่เคยได้ไปพบปะกับคนกลุ่มเสี่ยง และเมื่อไปแล้ว พื้นที่จัดสรรในโรงพยาบาลพร้อมหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้รัฐบาลต้องเตรียมจัดสรรพื้นที่เพื่อแยกผู้ป่วยไว้ได้แล้ว หากผู้ที่เดินทางมาตรวจที่โรงพยาบาลไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เท่ากับว่าบุคคลนั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการมาตรวจที่โรงพยาบาล" วิโรจน์ กล่าว 

นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า เราพร้อมจริงๆหรือไม่กับมาตรการที่กักตัวเองที่บ้าน หรือรักษาตัวเองที่บ้าน ควรจะเป็นทางเลือกแรกหรือไม่สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก รัฐต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกคนไม่มีบ้านหลังใหญ่ที่สามารถกักตัวเองให้อยู่คนละห้องกับคนในครอบครัวได้ โรงพยาบาลสนามอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อประชาชนกังวลว่าตัวเองจะติดไวรัส คนก็จะไปโรงพยาบาล แล้วหากตอนจังหวะที่เดินทางไปตรวจยังโรงพยาบาลตรวจ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งนั้น 

"ผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในไม่ช้าประเทศไทยก็จะเข้าสู่การแพร่ระบาดระยะที่ 3 คนยากคนจนที่อยู่ในห้องเช่า อยู่ในบ้านหลังเล็กๆมีจำนวนไม่น้อย การที่ต้องรักษาตัวเองที่บ้านน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากหาเตียงที่โรงพยาบาลไม่ได้จริงๆ ขณะนี้รัฐบาล ควรจะเตรียมโรงพยาบาลสนาม ไว้อย่างรวดเร็วมากที่สุด เมื่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผู้ป่วยที่มีเกณฑ์เข้าข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลต้องจัดการเรื่องเตียงและโรงพยาบาลสนามรองรับไว้ให้มากที่สุด"

ขณะที่นายณัฐชา กล่าวว่า ในหลายพื้นที่ขณะนี้ สังคมเกิดความหวาดระแวง คนที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดทั่วไป ซึ่งมีอาการจะใกล้เคียงกันกับโควิด-19  การพูดต่อกันไปเรื่อยๆอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ล่าแม่มดขึ้นมา อย่าให้ความกลัวเป็นอุปทานหมู่ เราต้องยืนอยู่บนหลักวิทยาศาสตร์และสาธารณสุข เราไม่ได้หมายความว่าโควิท-19 ไม่อันตราย แต่อย่ากลัวเกินไปถึงขนาดที่เกิดเหตุการณ์ล่าแม่มด อย่างในหลายพื้นที่ที่ปรากฏตามข่าว 

"เมื่อเรากลัวโดนสังคมรังเกียจ หรือกลัวโดนล่าแม่มด ก็จะเกิดการปิดบังหรือปกปิดความจริง แล้วจะทำให้การควบคุมโรคแยกยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ไม่มีใครอยากให้ตัวเองโดนคนทั้งซอยไล่ออกจากซอย คงไม่มีใครอยากจะโดนไล่ออกจากอพาร์ทเม้นท์หรือหมู่บ้าน การหวาดระแวงที่เกินความจริง จะทำให้คนที่ติดเชื้อไวรัสไม่ยอมพูดความจริง"

ด้าน นางสาวสุทธวรรณ กล่าวว่า รัฐควรทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งยังมีปัญหาที่ชาวบ้านยังไม่เข้าใจไวรัสโควิท-19 ซึ่งอีกหนึ่งบทบาทที่ควรจะมีการเตรียมความพร้อมในการเตรียมความรู้ประชาชนคือ อสม. หรือพลเรือนอาสาสาธารณสุข หรือหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ควรมีบทบาทมากกว่านี้ เพราะจะช่วยให้สังคมเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้นในพื้นที่ และควรออกมาตรการให้หน่วยงานราชการ ช่วยกันลดความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยที่ต้องเดินทางมายังโรงพยาบาลเป็นประจำ 

"จากสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หน่วยงานท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชนจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปกว่าอสม.แล้ว ยังมีหน่วยงานท้องถิ่นอบต.และเทศบาลต่างๆ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่ได้หยุดไปกับสถานการณ์ แต่ยังทำงานตลอดเวลา และยังมีหน่วยงานอย่างไปรษณีย์ไทยอาจทำหน้าที่ส่งยา หรือส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่น เบาหวาน ความดัน หน่วยงาน ซึ่งหน่วยไปรษณีย์สามารถช่วยเหลือในการส่งยไปให้ที่บ้าน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยเหล่านี้เดินทางไปยังโรงพยาบาล"นางสาวสุทธวรรณ  กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"