นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ กรมประมง จัดโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน” ตั้งเป้าปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามจำนวน 287,200,000 ตัว ลงแหล่งน้ำชุมชนจำนวน 1,436 แห่ง ในเขตพื้นที่ 19 จังหวัด หวังพลิกวิถีเกษตรกรสร้างรายได้ให้ชุมชนหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 62 นำร่องปล่อยกุ้งก้ามกรามจำนวน 1 ล้านตัวลงแหล่งน้ำชุมชนไปแล้ว 5 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่านายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว เกษตรและสหกรณ์ ได้มีข้อสั่งการให้กรมประมง ได้เร่งดำเนินโครงการสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรในภาคประมง ซึ่ง จะมี2 โครงการหลักๆ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง: การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินวงเงิน 221 ล้านบาท โดยโครงการฯ จะสนับสนุนพันธุ์ปลาและอาหารสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 44,311 ราย และ 2.โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน วงเงินงบประมาณ 430,800,000 บาท โดยโครงการฯ จะสนับสนุนพันธุ์กุ้งก้ามกรามปล่อยลงแหล่งน้ำชุมชนจำนวน 1,436 แหล่ง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรโดยรอบแหล่งน้ำหันมาเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแลและมีศักยภาพในการเจริญเติบโตให้ผลตอบแทนที่รวดเร็วเพียงแค่ 4-6 เดือนเท่านั้น เหมาะสมต่อการส่งเสริมให้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทั้งนี้อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฯ มีเป้าหมายดำเนินการในแหล่งน้ำชุมชน จำนวน 1,436 แห่ง ในพื้นที่ 129 อำเภอ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ตราด นครพนม บุรีรัมย์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี ซึ่งจะดำเนินการปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามทั้งหมด 287,200,000 ตัว โดยจะทยอยปล่อยกุ้งก้ามกรามขนาด 5 – 7 ซม.ขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดที่มีอัตราการรอดสูงลงในแหล่งน้ำเป้าหมายแห่งละ 200,000 ตัวพร้อมกับอาหารกุ้งที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จำนวน 1,436 กระสอบ ซึ่งจะมอบให้เป็นเป็นต้นทุนอาหารสัตว์น้ำแหล่งน้ำละ 1 กระสอบ ด้านการปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามภายใต้โครงการฯ อันดับแรกทุกแหล่งน้ำจะต้องมีการจัดตั้งกรรมการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนเพื่อประสานความร่วมมือในระดับท้องถิ่น พร้อมขับเคลื่อนโครงการในทุกขั้นตอนร่วมไปกับเจ้าหน้าที่กรมประมง
ทั้งด้านการเตรียมความพร้อมให้กับแหล่งน้ำ ได้แก่ การลดจำนวนปลาขนาดใหญ่และกินเนื้อ การสร้างที่หลบซ่อนรวมทั้งการสร้างอาหารธรรมชาติในแหล่งน้ำ การกำหนดกติกาการจับสัตว์น้ำของชุมชน การสนับสนุนข้อมูลเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการทั้งในเรื่องของจำนวนและการวิเคราะห์ผลผลิตสัตว์น้ำ ฯลฯ และเมื่อกรมประมงดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตกรมประมงจะเข้าไปร่วมวางแผนการตลาดโดยจะยึดนโยบาย ข้อสังการของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้เน้นย้ำในเรื่อง “การตลาดนำการผลิต” ที่มุ่งเน้นการวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการตลาด เกษตรกรจะต้องไม่ใช่เพียงผลิตสัตว์น้ำได้แต่จะเรียนรู้วิธีการขายและต้องขายได้ มีช่องทางการตลาดที่เหมาะสมเพื่อที่จะสร้างเป็นอาชีพให้พึ่งพิงได้อย่างยั่งยืน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |