2 เม.ย.63 - นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา" เสนอ เพิ่มงบเพื่อ "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์" เพราะวัคซีนคือความหวัง ทุกท่านทราบไหมครับว่า ประเทศไทยเราลงทุนกับงบประมาณด้านสาธารณสุขในฐานะความมั่งคงของชาติเท่าไร คำตอบฟังแล้วน่าตกใจครับ งบประมาณปีล่าสุดเราลงทุนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แค่ 8,000 ล้านบาท และจัดสรรงบประมาณให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเพียง 43 ล้าน จากงบประมาณทั้งหมด 3.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 0.25% เท่านั้น
ตอนนี้ผมกำลังติดตามเรื่องวัคซีน #โควิด19 อยู่ครับ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในวงกว้าง เพราะสังคมถูกบีบบังคับให้ต้องคำนึงถึงสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ต้องป้องกันและจำกัดการแพร่การระบาดก่อน แน่นอนยังรวมถึงปัญหาปากท้องในแต่ละวัน ในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงเช่นนี้ซึ่งผมเข้าใจดี แต่ในขณะเดียวกันนั้นเราต้องอย่าลืมว่าแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์คือการที่ต้องมีวัคซีน ระหว่างทางนี้เป็นเพียงการซื้อเวลาให้มีความเสียหายน้อยที่สุดเท่านั้น นี่คือความท้าทายที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่
ผมอยากมาเล่าให้ฟังว่าปัจจุบันมีหน่วยงานมากกว่า 43 หน่วยงานทั่วโลกกำลังคิดวัคซีนเพื่อเอาชนะไวรัสร้ายตัวนี้อยู่ องค์กรที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาคือ Coalition for Epidemic Preparedness Innovations (CEPI) มีหน้าที่เป็นแหล่งทุนวิจัยวัคซีนโดยได้รับการสนับสนับจากหลายประเทศ รวมทั้งมูลนิธิ และบริษัทชั้นนำหลายแห่ง ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา CEPI ประกาศว่าต้องการเงินบริจาค 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อวิจัยวัคซีนโควิด19 ตอนนี้มีรัฐบาลที่ได้ร่วมบริจาคแล้วเช่น เยอรมัน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น
โดย CEPI ได้เริ่มจัดสรรให้งบวิจัยวัคซีนกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยอย่างน้อย 7 แห่งทั่วโลก เป็นที่น่าดีใจว่ากลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาวัคซีนเข็มแรกได้ถูกจิ้มลงแขนผู้เข้าทดลองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญภายใต้สถานการณ์ที่เร่งด่วนนี้
ระยะสั้น ผมคิดว่าไทยสามารถเป็นผู้นำเวทีอาเซียนในการรวมพลัง รวมทรัพยากร เพื่อบริจาคให้องค์กร CEPI อย่างที่ภูมิภาคอื่นกำลังทำ โดยเป็นการบริจาคตามกำลัง เพราะถึงแม้ว่าหากประเทศไทยจะไม่สามารถคิดค้นวัคซีนขึ้นมาเองได้ แต่เราสามารถแสดงภาวะผู้นำเพื่อเข้าร่วมกับประชาคมโลกในการรวมทรัพยากรกันเพื่อคิดค้นวัคซีนเพื่อแก้ปัญหานี้ ซึ่งเป็นปัญหาในระดับนานาชาติ
ในขณะเดียวกัน เมื่อเดือนมกราคม นักเทคนิคการแพทย์ไทยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนาได้ก่อนจีนประกาศ 2 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของไทยในความพร้อมที่จะร่วมมือในระดับนานาชาติ
วันนี้ประเทศไทยมีหลายทีมที่กำลังติดตามสถานการณ์การพัฒนาวัคซีนอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นผู้ช่วยบริหารจัดการ ผมเชื่อมั่นว่านักวิจัยและแพทย์ไทยมีศักยภาพ การจัดการวิกฤตโควิดนี้ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ถ้าเราค้นพบเทคโนโลยีการผลิตวีคซีนได้อย่างรวดเร็วและสามารถผลิตได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยเหลือคนไทยด้วยกันเองแล้วยังจะสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกชาติอื่นๆ ด้วย
ดังนั้นถ้าเราเพิ่มงบประมาณในการวิจัยให้เพียงพอ มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะสามารถทำสิ่งนี้ได้สำเร็จและทันท่วงทีเมื่อโอกาสนั้นมาถึง ขณะนี้นิยามความมั่งคงของชาติไม่ใช่การทหาร แต่เป็นความมั่นคงด้านสาธารณสุข เมื่อไรก็ตามที่มีประเทศไหนเริ่มผลิตวีคซีนขึ้นมาใช้ได้ผล กำลังการผลิตเพื่อใช้ในประเทศเขาเองนั้นจะไม่พอสำหรับการส่งออกมาขายนอกประเทศ เป็นไปไม่ได้ที่หนึ่งประเทศจะผลิตวีคซีนเพื่อมาขายทั้งโลก ดังนั้นประเทศไทยต้องติดตาม พัฒนาการวิจัยควบคู่กันไปกับระดับนานาชาติ ผมอยากเน้นย้ำให้รัฐบาลไทยคำนึงถึงงบประมาณในด้านนี้ด้วย เพราะนี่คือแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับวิกฤตโควิด ประเทศไทยต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้
เรื่องนี้ช้าไม่ได้ในฐานะผู้แทนราษฎร เมื่อเปิดประชุมสภาในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ สัปดาห์แรกจะเป็นวาระงบประมาณปี 2564 พรรคก้าวไกลจะเสนอจัดงบประมาณใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันมากขึ้น เราต้องเปลี่ยนงบกระสุนมาเป็นงบวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โลก ณ ปัจจุบันนี้ อธิปไตยของชาติอาจไม่ใช่ว่าใครมีอาวุธ มีแสนยานุภาพกองทัพขนาดไหน แต่เป็นใครสามารถผลิตวัคซีนเพื่อช่วยชีวิตประชาชนของตนได้มากกว่ากัน
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัว รวมถึงประชาชนทุกคนให้พวกเราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |