31 มี.ค.63- พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลมหาราช ได้แก่ ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ , ระเบิดจากภายใน , แก้ปัญหาจากจุดเล็ก , ทำตามลำดับขั้น , ทำงานแบบองค์รวม , ไม่ติดตำรา , รู้จักประหยัดเรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด , ทำให้ง่าย , การมีส่วนร่วม , ยึดประโยน์ส่วนรวม , บริการที่จุดเดียว , ขาดทุนคือกำไร , พึ่งพาตนเอง , ซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกัน , ทำงานอย่างมีความสุข , เพียร , รู้รักสามัคคี มาใช้ในการวางแผนและการปฏิบัติเพื่อให้ รพ.มงกุฎวัฒนะพร้อมรับมือกับสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ดังนี้
1. ถ้าสถานการณ์โควิด-19 เป็นแค่โรคติดต่อที่ไม่ระบาดมากมาย รพ.มงกุฎวัฒนะจะเป็นแค่หน่วยต้นทางในการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ไปยัง รพ.รัฐ ที่เป็นศูนย์รับการส่งต่อดังเช่นระยะเริ่มต้นของการระบาดเมื่อปลายเดือน ม.ค.63
2. แต่สถานการณ์โควิด-19 ยกระดับการระบาดเพิ่มมากขึ้นจนมีผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ทำให้ รพ.รัฐ ที่เป็นศูนย์รับการส่งต่อไม่สามารถรับผู้ป่วยได้อีก...แล้ว รพ.มงกุฎวัฒนะจะดันทุรังขอส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ไปยัง รพ.รัฐ ที่เป็นศูนย์รับการส่งต่ออีกหรือ???...ผมจึงตัดสินใจให้ รพ.มงกุฎวัฒนะ 'รับผู้ป่วยไว้เอง' ด้วยการใช้อาคาร ซี[C] ซึ่งเป็นอาคารที่คัดแยกผู้ป่วยออกจากอาคารหลักของ รพ.มงกุฎวัฒนะ
3. เมื่อ รพ.มงกุฎวัฒนะ’พึ่งพาตนเอง’ได้บ้างแล้วแต่ยังมีพื้นที่ที่ยังเหลือพอที่จะช่วยเหลือส่วนรวมผ่าน รพ.รัฐ ผมจึง ‘ยึดประโยชน์ส่วนรวม’ อันเป็นหลักการทรงงานอีกข้อหนึ่ง ผมจึงประกาศให้อาคาร ซี [C] เป็น'ศูนย์สำรองเตียงโควิด-19' สนับสนุนกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข...อย่างน้อยที่สุดสังคมโดยส่วนรวมในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ก็จะมี รพ.มงกุฎวัฒนะที่เป็น รพ.กองหนุน หรือหน่วยสบทบกับกรมการแพทย์ สธ.เพิ่มขึ้นอีก 1 หน่วย...เมื่อโควิด-19 ยกระดับความรุนแรง เราก็ต้องยกระดับการรับมือใช่ไหมครับ
4. เมื่อ รพ.มงกุฎวัฒนะเป็นศูนย์สำรองเตียงเริ่มต้น 50 เตียงด้วยการเป็นหอผู้ป่วยสามัญรวม หรือ Cohort ward หอที่ 1 จำนวน 30 เตียงและหอคัดแยกผู้ป่วย [Patient Under Investigation Isolation Ward] จำนวน 20 เตียงแล้ว แต่ยังไม่พอรองรับผู้ป่วยโควิด-19 อีก ผมก็ต้องยกระดับการรับมือด้วยการเพิ่มหอผู้ป่วยสามัญรวม หรือ Cohort ward หอที่ 2 อีก 30 เตียง สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ชาย (ณ ขณะนี้ รพ.มงกุฎวัฒนะยังรับการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 หญิง คนชรา และเด็กก่อนนะครับ) ดังนั้นภายใน เม.ย.63 นี้ จะมีทั้งหอหญิง-หอชายซึ่งจะทำให้ รพ.มงกุฎวัฒนะเป็นศูนย์สำรองเตียงได้ทั้งสิ้น 80 เตียง
5. เมื่อเป็นศูนย์สำรองเตียง 80 เตียงแล้ว รพ.มงกุฎวัฒนะคงหนีไม่พ้นกับปัญหาผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักที่จะต้องเข้า ไอ ซี ยู ซึ่งจะต้องเป็น ไอ ซี ยู ที่แยกออกจาก ไอ ซี ยู ผู้ป่วยโรคอื่นๆเพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกัน ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน รพ.รัฐ ที่เป็นศูนย์รับการส่งต่อก็ประสบปัญหาผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักเต็ม ไอ ซี ยู ยากที่จะรับการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักจาก รพ.มงกุฎวัฒนะ ได้ รพ.มงกุฎวัฒนะจะต้อง'พึ่งพาตนเอง'ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนัก ด้วยการเตรียมการให้มี ไอ ซี ยู สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะขึ้นมาแก้ไขปัญหาเอง หากไม่มี ไอ ซี ยู โควิด-19 เองแล้ว ประสบปัญหาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนักและไม่สามารถส่งต่อได้แล้ว บุคลากรทางการแพทย์ของผมจะตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกเหนือจากความสิ้นหวังในการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนัก
การเตรียมการยกระดับความพร้อมรับสถานการณ์ระบาดโควิด-19 นี้ผมได้นำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลมหาราช มาใช้...เพื่อพสกนิกรของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |