48 ชม.สร้าง“รพ.สนามธรรมศาสตร์” รับมือผู้ป่วยโควิดล้นทะลัก


เพิ่มเพื่อน    

 

ภาพจากกล้องวงจรปิดสังเกตุอาการคนไข้โควิดส่งตรงมาที่ห้องควบคุม มีแพทย์ติดตามอาการทุกระยะ

30 มี.ค.63-ระยะเวลา 48 ชั่วโมงเป็นเงื่อนเวลาในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อรับมือกับสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ  ซึ่งนำไปสู่การปรับอาคารดีลักซ์(DLUXX)  อาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์เดิม ความสูง 14 ชั้น  มีห้องพักจำนวน 308 ห้อง ให้เป็นโรงพยาบาลสนาม 308 เตียง  สำเร็จเป็นสถานที่ปลอดเชื้อร้อยเปอร์เซ็นต์  ตามมาตรฐานสากลทางการแพทย์  และเริ่มดำเนินการในการรับผู้ป่วยโควิดรายแรกเช้าวันที่ 26 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา   

 

รพ.สนามธรรมศาสตร์


การนำร่องของโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ เกิดจากการร่วมมือระหว่าง  5 โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย   ประกอบด้วยจุฬาฯศิริราช รามาฯ วชิรพยาบาล และธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกันวางแผน และตัดสินใจสร้างโมเดลรูปแบบดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19  ให้มีศักยภาพ เพื่อเป็นต้นแบบ กับโรงพยาบาลอื่นๆ  โดยมีโรงพยาบาลธรรมศาสต ร์เป็นแม่งานขับเคลื่อน  

ศ.นพ.ฉัตรชัย มิ่งมาลัยลักษณ์  ผอ.รพ.สนามธรรมศาสตร์


ผศ.นพ.ฉัตรชัย มิ่งมาลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์  กล่าวถึงแนวคิดในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ใน ม. ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตว่า ถือเป็นการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แม้จะมีตัวอย่างโรงพยาบาลฉุกเฉินอู่ฮั่นโมเดลจากประเทศจีน  แต่ที่นี่แตกต่างจากอู่ฮั่นเพราะมีอาคารอยู่แล้ว  ซึ่งทางมหาวิทยาลัย  ได้รับโจทย์ ต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ให้เสร็จภายในเวลา 48 ชม.  สิ่งแรกที่ดำเนินการ คือ การสำรวจความพร้อมการเป็นโรงพยาบาลสนาม  สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19   หลังสำรวจพบว่า ห้องพักมีความเหมาะสม  เพราะมีโซนที่แยกออกจากส่วนอื่น  มีระบบปรับอากาศที่ดี มีโซนซักล้างในห้อง พื้นที่ทางเดินโปร่งโล่ง อากาศไหลเวียนดี ทำความสะอาดได้ง่าย  จากนั้น มีการปรับปรุงแยกโซนสะอาดและโซนติดเชื้อให้ชัดเจน มีระบบรองรับป้องกันการปนเปื้อน รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรฐานโรงพยาบาล



“ ถ้าเป็นโรงพยาบาลสนามในจีนรักษาคนอาการหนักยันเบา  ทางโรงเรียนแพทย์จึงช่วยกันคิดโมเดลการรักษาโรคติดเชื้อโควิดเราทราบว่า  80% คือ คนไข้อาการเบา มีอาการเพียงเล้กน้อย  มีเพียง20% ที่หนัก เมื่อมีคนไข้อีก โรงพยาบาลเริ่มเต็ม เกิดเป็นโมเดลแยกเป็นกลุ่มคนไข้ ตัวโรงพยาบาลมีความพร้อมดูแลคนไข้หนักอยู่แล้ว ดังนั้น คนไข้ที่มีอการเบา ควรแยกออกมาจึงทำโรงพยาบาลสนามนี้ขึ้น คนไข้โควิด  จะเข้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพื่อประเมินอาการอย่างน้อย 5-7วัน  ถ้าพบว่า มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มี ช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะส่งมาที่โรงพยาบาลสนามเพื่อกักตัว ดูแลต่อ และสังเกตอาการ จนผลตรวจ หาเชื้อออกมาเป็นลบจึงให้กลับบ้าน  แต่หากอาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง สามารถส่งกลับโรงพยาบาลหลักได้ทันที เราไม่รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงที่นี่“ ผศ.นพ.มิ่งฉัตร  กล่าว



ผอ.รพ.สนามธรรมศาสตร์ อธิบายถึงส่วนต่างๆของโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ว่า แยกโซนสะอาดและโซนติดเชื้อทางเข้าออกของบุคคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยคนละประตู หากจะเข้าโซนติดเชื้อผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเข้าไปในโซนผู้ป่วยจะต้องมีการแต่งตัวด้วยชุด PPE  และการป้องกันตามมาตรฐาน มีการกำกับควบคุมทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตึก การดูแลผู้ป่วยโดยลดการสัมผัส และแยกคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์ ทุกห้องจะมีระบบกล้องวงจรปิดสังเกตุอาการ มีการพูดคุยผ่านระบบวิดีโอคอลล์ แต่กล้องวงจรปิดไม่ได้เปิดตลอดเวลาเพื่อความเป็นส่วนตัวของคนไข้ยกเว้นคนไข้ที่ต้องดูแลใกล้ชิด  ภาพจากกล้องวงจรปิดทั้งหมดจะส่งมาที่ห้องควบคุม ซึ่งแพทย์และพยาบาลมองเห็นได้ นอกจากนี้มีห้องเตรียมยา มีอุปกรณ์ฉุกเฉินช่วยชีวิต

มดงานอาสาสมัคร ที่เสียสละทำงานในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์


“ โรงพยาบาลสนามเปิดวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา มีการทดสอบระบบ การแต่งตัวของเจ้าหน้าที่ รับผู้ป่วยโควิด 2 คน การดูแลราบรื่นดี และรับเพิ่มอีก 4 คนในวันที่ 27 มีนาคม มาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แต่เราจะรับจากจุฬาฯ ศิริราช รามาฯ วชิรพยาบาลและโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี หากประเมินอาการดีขึ้นจะส่งมาที่นี่  เราวางแผนจะรับวันละ 10 คน    และเพิ่มจำนวนขึ้นได้  เพราะขณะนี้โรงพยาบาลเริ่มทยอยรับผู้ป่วยที่ล้นจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ มาสังเกตุอาการที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และจะส่งต่อมายังโรงพยาบาลสนาม  หากที่นี่คนไข้เต็ม 300  เตียง สิ่งที่น่าห่วงจริงๆ คือ ที่โรงพยาบาลหลัก แสดงว่า สัดส่วนคนไข้หนักเยอะมาก ที่น่ากังวลใจคือถ้าระบบดูแลคนไข้หนักรองรับไม่ได้ อัตราการเสียชีวิตจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลสนามแห่งนี้มีการพูดคุยวางแผนสองแผนสาม อาจเปิดตึกใหม่ในกรณีที่มีคนไข้จำนวนมาก  “ผศ.นพ.ฉัตรชัย  กล่าว

เมื่อถามถึงบุคลากรที่จะต่อสู้กับโควิด ผู้อำนวยการคนเดิม บอกว่ามีอาจารย์แพทย์และแพทย์มาประจำวันละ  2 คน ซึ่งแพทย์สนามที่ทำงานให้โรงพยาบาลจะเป็นบุคลากรกลุ่มรองจิตอาสา  เช่น อาจารย์แพทย์สาขาอื่นๆ รวมถึงพยาบาลในสาขาที่ไม่ใช่อายุรกรรมหรือวิกฤต  เช่น พยาบาลจากสาขาศัลกรรมมาดูแลเพราะงานตอนนี้ลดลงจากการงดเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยปกติลดลง เราจะให้บุคคลากรหลักที่สำคัญ เช่น อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ดูแลคนไข้ในโรงพยาบาลหลัก  ที่นี่จะมีพยาบาลประจำ 24 ชั่วโมง ด้านจิตใจมีทีมภาควิชาจิตเวชมาดูแล รวมถึงทีมสังคมสงเคราะห์ เพราะผู้ป่วยต้องมาถูกกักตัวเป็นเวลานานอาจมีผลต่อจิตใจเรียกว่า มีการดูแลผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

“ เราพยายามสร้างโมเดล แต่โมเดลเราไม่เหมือนจีน เพราะไม่มีทรัพยากรมากขนาดนั้น  เป็นการทดลองปรับรูปแบบเลือกใช้ทรัพยากร  ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศมีระบบเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้เป็นต้นแบบให้ดำเนินการจะมีการประเมินผลวันต่อวัน อาการคนไข้ดีขึ้นมั้ย โรงพยาบาลต้นทางดีขึ้นหรือไม่รับคนไข้ได้มากขึ้นมั้ย แม้งานจะหนักและดูน่ากลัวสำหรับคนทั่วไป แต่ขณะนี้มีอาจารย์แพทย์สมัครมาเป็นแพทย์สนามจำนวนมากทุกคนเสียสละมาร่วมกันดูแลผู้ป่วย  รวมถึงพยาบาลมาร่วมด้วยเราพยายามสร้างระบบที่ดีขึ้นเพื่อประชาชนที่ยากลำบากฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกัน“ ผศ.นพ.ฉัตรชัย กล่าว

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล


ด้าน ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้จัดการโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต  กล่าวว่า สังคมเกิดวิกฤตแบบนี้  มหาวิทยาลัยมีบุคคลากร มีอาคารสถานที่ เครื่องไม้เครื่องมือจะมีบทบาทช่วยเหลือสังคมอย่างไรได้บ้าง นี่คือแนวคิดธรรมศาสตร์ ย้อนไปปี2547 จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิรัฐบาลร้องขอให้เราจัดตั้งศูนย์พักพิงนักท่องเที่ยวต่างประเทศเราจัดที่พักพิง  และประสานสถานทูตประเทศต่างๆ มาออกเอกสารเดินทางเพื่อให้เขาได้กลับบ้าน  ปี 2554 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ จัดตั้งศูนย์พักพิงที่ธรรมศาสตร์ ปี2559 คนไทยเศร้าโศกในหลวง ร.9 สวรรคตเดินทางมากราบพระบรมศพวันละเป็นหมื่นเป็นแสนคน ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทน์ก็ตั้งศูนย์อาสาสมัครจัดการขยะที่สนามหลวงร่วมกับ กทม.  ปีนี้เกิดการแพร่ระบาดโควิด เป็นที่มาการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ 

ห้องพักที่เตรียมรองรับผู้ป่วยโควิด ที่อาการไม่รุนแรง


“ แม้ขณะนี้โรงพยาบาลยังไม่เต็มแต่การติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ช้าโรงพยาบาลจะเต็ม ผู้ป่วยโควิดแม้อาการดีขึ้นยังกลับบ้านไม่ได้ เพราะต้องกักกันต่อขณะที่รายใหม่ก็เติมเข้ามา โมเดลจะต้องตั้ง รพ.สนามดูแลผู้ป่วยที่อาการดีขึ้น โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ปลอดภัยและไม่มีการแพร่เชื้อออกมาภายนอก  เป็นทางออกให้ระบบสาธารณสุขและโรงพยาบาลของเราสามารถทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยโควิดและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ไม่กลายเป็นอิตาลี ต้องตั้งโรงพยาบาลสนามรอรับไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วมาตามแก้    “ ผศ.ดร.ปริญญา กล่าว.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"