'สายเลิกบุหรี่1600'แนะพลิกวิกฤติโควิดเลิกสูบคืนปอดที่ดีต้านไวรัส


เพิ่มเพื่อน    

30 มี.ค. 63 –  รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (ศบช.) หรือ สายเลิกบุหรี่ 1600 กล่าวว่า  ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป สายเลิกบุหรี่ 1600 ขอปรับการให้บริการปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ที่เบอร์ 1600 เป็นการชั่วคราว โดยผู้ใช้บริการสามารถแจ้งเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ติดต่อกลับหลังเสียงสัญญาณรับฝากข้อความของ 1600 หรือแจ้งเบอร์ติดต่อกลับผ่านทางกล่องข้อความ (Inbox) ทาง Facebook Fan Page สายเลิกบุหรี่1600 โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะติดต่อกลับในวันถัดไป 

สำหรับการปรับการให้บริการนี้ เป็นการปฏิบัติตามนโยบายอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อ ไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งทำให้เกิดอาการป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ COVID-19 ตามอำนาจพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่รัฐบาลประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งจะดำเนินไปจนกว่าสถานการณ์วิกฤตจะคลี่คลาย โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fan Page สายเลิกบุหรี่ 1600 หรือที่ เว็บไซต์ http://www.thailandquitline.or.th

“การทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อป้องกันไวรัสและโรค COVID-19 จะต้องทำให้ปอดแข็งแรงและสุขภาพร่างกายโดยทั่วๆ ไปแข็งแรงด้วย ดังนั้น จึงเป็นเวลาที่พวกเราจะต้องเลิกบุหรี่เพื่อที่จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ใช้วิกฤตนี้เลิกบุหรี่เพื่อคนที่รักและเพื่อตัวเราเองกันเถอะค่ะ การเลิกบุหรี่ทำได้ต้องมีกำลังใจและมีตัวช่วย 1600 จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่คอยให้คำปรึกษา ให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เรียนรู้ประสบการณ์ของตัวเอง ลักษณะการติดบุหรี่ และวิธีการที่จะทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวรค่ะ เรารอที่จะช่วยท่านอยู่นะคะ ถ้าต้องการจะปลอดภัยจากไวรัสต้องทำให้ร่างกายแข็งแรง เลิกบุหรี่วันนี้เถอะค่ะ เรารอที่จะช่วยคุณอยู่นะคะ” ผอ.ศบช. ระบุ 

ด้าน รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้ติดไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดอาการป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ COVID-19 ได้ง่าย ไม่ใช่แค่คนที่สูบบุหรี่มวนเพียงอย่างเดียว เพราะควันบุหรี่ไฟฟ้า ควันบุหรี่มือสอง แม้แต่ฝุ่น PM 2.5 ก็เสี่ยง เนื่องจากทำให้เกิดการระคายเคืองในเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ ตั้งแต่ จมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก หลอดลมฝอย ถุงลมในปอด เป็นการอักเสบระดับเซลล์ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น การอักเสบจะเป็นทันทีหลังจากได้ควันในข้างต้น 

ทั้งนี้หากเป็นกลุ่มคนที่สูบบ่อย สูบนาน สูบเป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง กล่าวได้ว่าระบบหายใจของคนเราจะมีระบบต้านทานเชื้อโรค ด้วยการสร้างเมือกไว้ดักจับสิ่งแปลกปลอม มีขนเล็กๆ ในหลอดลมคอยพัดโบกเอาเชื้อโรค เอาสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ผ่าน น้ำมูลก การไอ จาม ฉะนั้น เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรังจึงเหมือนเกราะป้องกันถูกทำลาย ทำให้น้ำมูกที่ฉาบระบบหายใจไว้ตลอดแห้งลง ขนเล็กๆ ที่คอยพัดโบกไว้ก็ตาย ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมออกไปได้ และเชื้อโรตจะฝ่าเข้าสู่เซลล์อักเสบที่ไร้เกราะป้องกันได้ง่ายกว่าปกติ

“ปอดเหมือนเครื่องฟอกอากาศประจำตัว ลองคิดดูว่าคนเราใช้อากาศถึง 5 ลิตร ต่อการหายใจ 1 นาที ปกติจะหายใจเอาพวกมลพิษในอากาศเข้าไปอยู่แล้ว ฉะนั้น ถ้าสูบบุหรี่ด้วยก็ยิ่งไปทำลายเกราะป้องกัน ทำลายเครื่องฟอกอากาศนี้มากยิ่งขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคลงไปสู่ระบบหายใจส่วนล่างก็ด้อยลง จึงควรหยุดสูบุหรี่ในช่วงนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้ระบบป้องกันหายกลับมาแข็งแรงทันทีทันใด โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่สูบประจำ แต่ในช่วง 8 สัปดาห์ หลังเลิกสูบบุหรี่ ปอดและระบบทางเดินหายใจจะค่อยๆ ฟื้นตัว และสร้างมารถสร้างเกราะป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีขึ้นในสถานการณ์เสี่ยงเช่นนี้” 

นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ชี้แจงเพิ่ม พร้อมกล่าวต่อด้วยว่า ขอฝากไปยังกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า หรือคนที่รับควัน ฝุ่น ก๊าซ บ่อยๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด หากยังเลิกสูบไม่ได้หรือเลิกสูบทันทีแล้วก็ตาม ให้เลี่ยงไปในสถานที่ที่มีคนหมู่มาก ระบบอากาศปิดไม่ถ่ายเท หรือถ้าต้องไปควรใส่หน้ากากป้องกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"