30มี.ค..63- กสศ. ปรับแผนการใช้งบฯเข้าช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมาย ให้เร็วชึ้น ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 หวั่นจะมีผลทำให้เด็ก ออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้นในช่วงเปิดเทอม
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร กสศ. ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เพื่อให้ กสศ.สามารถดำเนินภารกิจช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที โดย กสศ. จะเร่งเบิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 711,536 คน ครอบคลุมสถานศึกษาจำนวน 27,805 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เปิดเทอม 1/2563 นอกจากนี้ที่ประชุมยังอนุมัติปรับโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและกว้างขวางขึ้น โดยจะช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน ให้ได้รับการฝึกอาชีพหรือเตรียมส่งกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยเหลือเด็กปฐมวัยในครอบครัวยากจนหรือด้อยโอกาสให้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนไม่น้อยกว่า 40,000 คน ให้มีการปรับอัตราเงินช่วยเหลือเด็กปฐมวัยให้ใกล้เคียงกับทุนเสมอภาคอีกด้วย
นพ.สุภกร กล่าวต่อว่า เด็กเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทั้งในด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวของเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างรายวัน คาดการณ์ ว่า หากสถานการณ์โรคโควิด-19 รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกิดการสูญเสียรายได้เป็นเวลานาน จะมีแนวโน้มออกจากระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้นในช่วงเปิดเทอม ดังนั้นในปีการศึกษา 2563 กสศ. ได้ขยายความช่วยเหลือการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศในสังกัด สพฐ. อปท. และ ตชด. โดยเฉพาะนักเรียนเข้าใหม่ ป.1 ม.1 และกลุ่มใหม่ในแต่ละระดับชั้นที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อไม่ให้มีเด็กและเยาวชนคนใดตกหล่น ซึ่งจากที่ กสศ. และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยต่อนักเรียนของครัวเรือนยากจนในสถานศึกษารัฐ ในเดือนแรกของการเปิดภาคเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาและรายการใช้จ่าย พ.ศ. 2560 (บาท/คน) พบว่า ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด ร้อยละ 10 แรกของประเทศไทย มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการศึกษาที่รัฐออกให้ค่อนข้างสูง โดยระดับประถมศึกษามีค่าใช้จ่าย 1,796 บาทต่อคน ระดับมัธยมต้น 3,001 บาทต่อคน ระดับมัธยมปลาย 3,738 บาทต่อคน ระดับอาชีวะ 4,829 บาทต่อคน ซึ่งหากคิดเทียบเฉลี่ยต่อรายได้ของครัวเรือนกลุ่มนี้พบว่าครัวเรือนยากจนในชั้นรายได้ที่ 1 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 2,020 บาทต่อเดือนเท่านั้น
“ตัวเลขนี้สะท้อนว่า ครัวเรือนยากจนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมเกือบทั้งหมดของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับ ในขณะที่ครัวเรือนที่มีบุตรหลานอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญและอาชีวศึกษา ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของเดือนแรกของการเปิดภาคเรียนมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับ เมื่อสถานการณ์การระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรง ทำให้ครอบครัวของเด็กกลุ่มนี้ขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกหลานได้ จะทำให้ตัวเลขเด็กหลุดนอกระบบของประเทศก้าวกระโดดขึ้นในช่วงอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้”ผู้จัดการ กสศ. กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |