30มี.ค.61- อาจารย์มหิดล ชี้ พบสารพาราควอตจากแม่สู่ลูก อึ้ง พบในลูกมากกว่าถึง4- 6 เท่า โดยจากการตรวจพบว่าหญิงที่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรจะมีโอกาสพบสารพาราควอตได้มากกว่าหญิงที่ไม่มีกาติดต่อสัมผัส วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติโดยการแบนพาราควอตด้านเอ็นจีโอ จวกคกก.วัตถุอันตรายไม่ใส่ข้อมูลใหม่พิษภัยพาราควอตไว้ในการพิจารณา แต่มีอำนาจตัดสินใจจะแบนหรือไม่แบน
ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงาน เสวนา หัวข้อ “คอร์รัปชันในภาคเกษตร : ภาค 1…พาราควอต?” ว่าทั่วโลกพบผลกระทบจากการใช้พาราควอต ซึ่งประเทศไทยแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบในวงกว้างมากนัก แต่หากใช้ในปริมาณที่สูงเกินความจำเป็นจะก่อให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนได้รับทุนจากทางประเทศสหรัฐอเมริกาให้มีการศึกษาผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งรวมไปถึงไกรโฟเสทและพาราควอตด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับพาราควอตเข้าไปในร่างกาย นอกจากเป็นการฆ่าตัวตายแล้วยังเป็นการทำร้ายเด็กในครรภ์ด้วยโดยพบว่า เด็กจะได้รับสารมากกว่าแม่มากถึง 4-6 เท่า เนื่องจากเด็กยังมีอวัยวะไม่ครบจึงก่อให้เกิดการสะสมได้ง่าย ซึ่งหากมีการสะสมในสมองก็จะเกิดผลเสียในระยะยาว ทั้งนี้ได้มีการศึกษาหญิงที่มาคลอดบุตรจำนวน 78 คน และเด็กแรกเกิด 69 คน ใน 3โรงพยาบาลที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ ซึ่งอยู่ใน 10 จังหวัดที่มีการใช้สารเคมีเยอะที่สุดเพื่อหาการตกค้างของสารพาราควอตจาก โดยมีการตรวจเลือดปัสสาวะ เจาะเลือด และการตรวจจากเลือดในสายสะดือ ผลการวิเคราะห์พบว่าในแม่มี 14 คน และในเด็กมี 13 คน ที่ พบว่ามีพาราควอตตกค้างในร่างกาย โดยจากการหาปัจจัยร่วมพบว่า หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่ตั้งครรภ์ระหว่าง 6-9 เดือนมีการสัมผัสกับดิน โดยการขุดดิน จะพบสารพาราควอตมากกว่าหญิงในพื้นที่ที่ไม่ได้สัมผัสมากถึง 6 เท่า หญิงตั้งครรภ์ที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการใช้พาราควอต จะพบสารตกค้างได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ไป 5 เท่า
“นอกจากนี้ยังได้มีการวิเคราะห์สารตกค้างในขี้เทา หรืออุจาระที่ออกมาครั้งแรกหลังคลอด 1-2 วัน จากเด็กในพื้นที่ที่เกิดจากแม่ในกลุ่มอาชีพต่างๆแต่พบว่าแม่ที่มีอาชีพเกษตรกรไม่ได้พบสารพาราควอตกค้างในเด็กมากไปกว่าแม่ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ โดยจากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่พบสารตกค้างในขี้เทาของเด็กอย่ามีนัยยะสำคัญนั้นจะมีญาติหรือคนในครอบครัวทำอาชีพเกษตรกร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจเป็นเพราะสารมีการตกค้างติดมาตามเสื้อผ้า เพราะส่วนใหญ่หลังจากสัมผัสแล้วก็จะกลับมาอาบน้ำที่บ้าน นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ มีบ้านใกล้กับผู้ที่มีการใช้พาราควอตจะพบสารตกค้างในขี้เทาเด็กมากกว่าหญิงที่มีบ้านไกล ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้มีการตีพิมพ์แล้ว”ศ.ดร.พรพิมล กล่าว.และว่า ปัญหาพาราควอตจากแม่สู่ลูกเป็นที่รู้กันมานานแล้ว ซึ่งเด็กเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการดำเนินการเชิงป้องกัน และเห็นแก่สุขภาพประชาชนเป็นหลัก โดยการงด ละ เลิก จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งทางออกมีชัดอยู่แล้ว ที่เหลือก็แค่จะทำหรือไม่ทำเท่านั้น.
ในเวทีเดียวกันยังมีการเสวนา หัวข้อ “คอร์รัปชันในภาคเกษตร : ภาค 1…พาราควอต?” โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมีกระแสเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพออกมา หลายหน่วยงานก็มีความพยายามที่จะมีการแบนการใช้พาราควอต ตามนโยบายของ 5 กระทรวง ที่นำโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเพื่อป้องกันการโดนฟ้องจากผู้ประกอบการก็ต้องมีการดำเนินการหาข้อมูลวิชาการที่ชัดเจน ซึ่งในเรื่องทางท่าน นายกฯพอทราบว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ท่านก็มีความเป็นห่วง โดยสั่งการให้รีบสั่งแบนให้ได้ หรือถ้าแบนไม่ได้ก็ต้องลดการใช้ลง อย่างไรก็ตามสิ่งที่สังเกตคือประเทศไทยมีเสรีมากเกินไปหรือไม่ในการใช้สารเหล่านี้ ซึ่งหากมีการจำกัดสิทธิ์การใช้เพื่อสุขภาพของประชนชน โดยการอนุญาติให้ผู้ที่มีความรู้ในสารดังกล่าวมากพอเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ อาจจะเป็นอีกทางเลือกของการแก้ปัญหาการใช้สารต่างๆ ซึ่งทั่วโลกก็มีการจำกัด เช่น ประเทศออสเตรเลีย
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการชีววิถี กล่าวว่าในส่วนของขั้นตอนในไทยในการแบนนั้นปัจจุบันยังอยู่ในการพิจารณาของอนุกรรมการวัตถุอันตราย แม้ว่าสามกระทรวงหลักที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้หาข้อยุติจะออกมายืนยันให้มีการแบนแล้วก็ตาม มี 2 ประเด็นของพาราควอตที่อาจเกี่ยวกับการคอรัปชั่น คือ 1.โครงสร้างของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีอำนาจจะสั่งแบนหรือไม่แบนพาราควอต ซึ่งมีกรรมการส่วนใหญ่มาจากกรมวิชาการเกษตรนั่งอยู่ด้วย ซึ่งน่าแปลกที่กรมวิชากรเกษตรได้ออกมาบอกว่าไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว แต่กลับมีการโยนอำนาจให้ตัดสินใจ 2.มีการนำข้อมูลการวิจัยที่มาจากภาคเอกชน และงานวิจัยเก่าเข้าไปในการพิจารณา ซึ่งก็มีการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยใหม่ที่ในปี 2556 จำนวน 104 ชิ้น ที่ชัดเจนมากในเรื่องข้อมูลเชิงระบาดวิทยา และใน EPA 1997 รายงานฉบับใหม่ปี 2018 ระบุชัดเจนว่ามีพิษรุนแรง เฉียบพลัน ไม่มียาต้านพิษ
ดังนั้นถ้าไม่บรรจุข้อมูลใหม่ การตัดสินใจในการแบนย่อมไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ท่านนายกฯ มีความกังวลเรื่องการใช้สารทดแทน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีอยู่แล้วแต่ไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน แสดงถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ อย่างไรก็ตามในเรื่องที่อ้างว่าสารทดแทนมีราคาแพงกว่าถึง 4-5 เท่านั้น แต่ก็ไม่มีการเปิดเผยว่ามีปริมาณใช้น้อยกว่าถึง 5 เท่าเช่นเดียวกัน และที่น่ากังวลกว่านั้นคือ พาราควอตส่งผลต่อสุขภาพทั้ง การมีพิษเฉียบพลัน พากินสัน และโรคอื่นๆ ซึ่งก็มีนโยบายที่จะแบน แต่ในปี 2560 กลับมาการใช้มากขึ้นจากปี 2559 ถึงประมาณ 39 % ขัดกับนโบายที่จะลดการใช้สารเคมีให้ได้ 10% อีกทั้งมีกลุ่มที่แทนที่จะโทษผู้ประกอบการในการใช้ แต่กลับมีการโทษหน่วยงานที่มีการเสนอให้มีการแบน.
"53 ประเทศทั่วโลกประกาศแบนอย่างชัดเจน ขณะที่บราซิลและจีนที่ปัจจุบันอนุญาตเฉพาะสูตรน้ำเท่านั้น แต่หลังจากนี้จะแบนทั้งหมด ที่สำคัญประเทศคิดค้นอย่างอังกฤษก็ได้ประกาศแบนไปแล้ว สวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตใหญ่ ก็แบนการใช้ภายในประเทศ และแม้ว่าปัจจุบัน 80% ของพาราควอตผลิตในจีน จีนเองก็มีนโยบายที่จะแบนการใช้ ใน 53 ประเทศที่มีการแบน สาเหตุหลักในการแบน 48% เป็นเรื่องพิษเฉียบพลันสูง รองลงมา 30% เรื่องโรคพากินสัน และ 16% เป็นเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ส่วน 3% เป็นเหตุผลการใช้ฆ่าตัวตาย ดังนั้นถ้าไทยจะแบนต้องนำเอาเรื่องความเป้นพิษเฉียบพลันสูงมาพิจารณา แต่หากดูข้อมูลที่มีการใช้ในการพิจารณาของบางฝ่าย ยังมีการอ้างข้อมูลเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่บอกว่าถ้าใช้ถูกวิธีก็ไม่มีผลเสีย"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |