รพ.ตำรวจเปิดตัวแฟนเพจ DEPRESS WE CARE ซึมเศร้าเราใส่ใจ


เพิ่มเพื่อน    

5 ม.ค.60- ที่โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.ท.นพ.วิฑูรย์ นิติวรางกูร นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และ พล.ต.ต.พญ.พรเพ็ญ บุนนาค นพ.สบ.6 รพ.ตร. กำกับดูแลกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด รพ.ตร.ร่วมเปิดตัวเฟสบุ๊คแฟนเพจ ”Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ” เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับข้าราชการตำรวจและครอบครัวเพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษาปัญหาโรคซึมเศร้า พร้อมเปิดตัวทีมแพทย์จิตเวชและสายด่วนที่พร้อมจะให้คำปรึกษารวมถึงวิธีการสังเกตตัวเองและคนรอบข้างที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้า หลังจากปัจจุบันข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตายสูงกว่าประชาชน 3 เท่า เฉลี่ยปีละประมาณ 40 คน

พล.ต.ท.นพ.วิฑูรย์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตร.เปิดเผยว่า การเปิดเพจ ”Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ” เพราะที่ผ่านมาการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจสูงกว่าประชาชนถึง 3 เท่า เนื่องจากมีอาวุธปืนอยู่ในมือทำให้อัตราการฆ่าตัวตายแล้วสำเร็จจึงสูง ประชาชนทั่วไปกว่าจะฆ่าตัวตาย ต้องหาเชือก หายาหรือบางทีก็เปลี่ยนใจ หรือฆ่าตัวตายแล้วไม่สำเร็จ แต่ตำรวจปืนอยู่ในมือจึงทำให้สัดส่วนสูงกว่า หลายปีที่ผ่านมาเราพยายามทำเรื่องนี้อยู่ แต่ผลยังเป็นที่พอใจเพราะปีที่ผ่านมามีข่าวตำรวจฆ่าตัวตายผ่านหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ จึงได้หารือกับคณะทำงานหาช่องทางที่สามารถตำรวจเข้าถึงนักจิตวิทยา จิตแพทย์ได้โดยตรงอย่างเป็นความลับ ประเด็นสำคัญคือเข้าถึงโดยตรงที่เป็นความลับ ผู้บังคับบัญชา สังคมภายนอกหรือแม้แต่ญาติพี่น้องอาจไม่ต้องทราบ แล้วเราจะแก้ปัญหาให้เข้าโดยตรงเรื่องของการให้ยา เพราะปัจจุบันยาแก้โรคซึมเศร้านั้นมีประสิทธิภาพมาก ทานยาแค่ 6 เดือนก็สามารถกลับไปเป็นปกติได้ เหมือนกับโรคโรคหนึ่งรักษาได้ ถ้าเป็นแล้วปล่อยไว้อาจถึงฆ่าตัวตายได้ หรือบางคนอาจเป็นระยะเริ่มต้นก็สามารถให้คำปรึกษาพูดคุย เหมือนเขามีคนให้คำปรึกษาดูแลใส่ใจ อาการจะเริ่มดีขึ้นกลับเป็นสู่ปกติได้

โรคซึมเศร้าแฝงอยู่กับคนทั่วไปหรือตำรวจเยอะเพียงแต่เราไม่รู้ ส่วนตัวเลขของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะยืนยันว่าเพิ่มมากขึ้นยังไม่มีตัวเลขจะยืนยันได้ว่ามากขึ้นเพียงใด โรคซึมเศร้าเป็นภัยเงียบ ทางกระทรวงสาธารสุขก็ได้พยายามกระจายไปยังโรงพยาบาลขนาดเล็ก แม้แต่ อสม.ยังให้ความรู้เรื่องนี้กับชาวบ้าน เพราะฉนั้นทางตำรวจโดย รพ.ตำรวจ พยายามผลักดันเรื่องนี้สู่ข้าราชการตำรวจและครอบครัวให้ดีที่สุด เป็นไปตามนโยบายของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. นอกจากสุขภาพกายแล้วสุขภาพจิตก็สำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเกิดความเครียดซึมเศร้านำไปสูการฆ่าตัวตาย อยากจะลดจำนวนเรื่องนี้ลงให้มากที่สุด จะทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม เป็นการศึกษาที่ชัดเจนเนื่องจากได้เข้าถึงตำรวจทั่วประเทศ 2 แสนคนที่ออกไปตรวจสุขภาพประจำปี จะเอาแบบสอบถามสุขภาพจิตมาสำรวจว่าเป็นโรคซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน เมื่อได้ตัวเลขจะนำมาวางแผนต่อในการข้าถึงติดตามระวังให้ยาอย่างเป็นระบบ

ด้าน พ.ต.ต.หญิง ปองขวัญ ยิ้มสอาด นายแพทย์ สบ.2 กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เปิดเผยว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับโลก เราพยายามที่จะลดตัวเลขโดยการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ว่าการที่มาพบจิตแพทย์ไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิต แค่มีปัญหาก็สามารถมาพบได้ โดยทางเพจจะมีการเผยแพร่ความรู้เรื่องภาวะซึมเศร้า โรคทางจิตเวชเหมือนโรคทางกายทั่วไปสามารถรักษาหายได้ตามปกติ ส่วนการักษาความลับของผู้ป่วย เราจะรักษาความลับเหมือนกับผู้ป่วยทั่วไปไม่สามรถเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชนหรือผู้บังคับบัญชายกเว้นกรณีที่มีอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น โดยผู้ที่คิดว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวสามารถอินบ๊อคเข้ามาได้ ถ้ารายไหนต้องการพูดคุยทางโทรศัพท์ก็สามารถฝากเบอร์โทรศัพท์ไว้ได้แล้วทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไป โดยมีนักจิตวิทยา จำนวน 8 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป รวมถึงสายด่วน081-9320000 ที่พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ปีที่ผ่านมามีตำรวจมาปรึกษาขอคำแนะนำหลังพบว่าเริ่มมีปัญหาการป่วยโรคซึมเศร้าจำนวน 170 คน ซึ่งสาเหตุมีหลายปัจจัยเช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการงานการเงินี่ โดยมีอาการดังเช่น อารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เป็นต้น ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคนี้มี 3 ระดับ คือระดับขั้นต้นอาจมีอาการไม่มากเช่นจะมีอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ ระดับส่วนระดับรุนแรงอาจมีอาการเบื่อชีวิตจนอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งแนวทางการรักษาแนะนำให้มาพบจิตแพทย์ซึ่งจะมีกระบวนการักษาทั้งการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาด กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้

รายงานสถติผู้เป็นโรคซึมเศร้าทั่วโลกประมาณ 300 ล้านคน ฆ่าตัวตัว 800,000 คนต่อไป ส่วนที่ไทยมีผู้ป่วยซึมเศร้า ประมาณ 1.5 ล้านคน ขณะที่สถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560 มีข้าราชการตำรวจ ครอบครัวและประชาชนทั่วไป ที่เข้ารับบริการกลุ่มโรคซึมเศร้า จำนวนกว่า 1,980 คน โดยในปี 2558 มี 479 คน ในปี 2559 มี 640 คน และในปี 2560 มีจำนวน 861 คน สถิติการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่ปี 2551-2559 จำนวน 299 คน เฉลี่ยปีละประมาณ 33 คน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"