27 มี.ค.63 - ที่ศูนย์ EOC ณ.ห้องพระบารมี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายบุญช่วย หอมยามเย็น ปลัดจังหวัดนราธิวาส นายแพทย์วิเศษ สิรินทรโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และนายแพทย์อินทร์ จันแดง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ร่วมแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส ครั้งที่ 3
นายเอกรัฐ กล่าวว่า ในส่วนจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยยืนยัน 8 ราย เสียชีวิต 1 ราย กลับบ้านแล้ว 2 ราย และกำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยรวมถึงผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย 7 ราย เป็นผู้ป่วยที่ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศอินโดนีเซีย 1 ราย และเป็นผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ 1 ราย อาศัยในพื้นที่ ต.มาโมง อ.สุคิริน จำนวน 2 ราย , ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จำนวน 3 ราย , ต.แว้ง อ.แว้ง จำนวน 1 ราย ,ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จำนวน 1 ราย และต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จำนวน 1 ราย โดยผู้ป่วยทั้ง 8 ราย ได้รับการดูแลตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ไม่มีอาการ กลับบ้านแล้วจำนวน ๒ ราย มีอาการเล็กน้อยและอาการดีขึ้น5 ราย และมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งยืนยันผู้เสียชีวิตล่าสุด เป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ 132 คนไทย ที่เดินทางไปร่วมเผยแพร่ศาสนา ดะวะห์ ณ มัสยิดศรีเปตาลิง ประเทศมาเลเซีย ที่ผ่านมา
นายเอกรัฐ กล่าวต่อว่าพร้อมกันนี้เน้นย้ำในมาตรการการดำเนินการที่จังหวัดนราธิวาสกำหนด มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก สื่อสารให้พี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยง ได้รับทราบและเข้าใจในมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีการกำหนดเส้นทางเข้า-ออก การจดบันทึกการเข้า-ออก เพื่อให้ทราบว่ามาจากพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ รวมถึงการทำความสะอาดพื้นที่พักอาศัย การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยสบู่แอลกอฮอล์ เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค รวมถึงการเว้นระยะห่างกันระหว่างบุคคล ไม่น้อยกว่า 1 เมตร การตรวจตราสอดส่องในเขตพื้นที่เสี่ยงฯ ให้มีการดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ของโรคติดเชื้อ และการตักเตือนให้แก้ไขหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการฯ หากยังไม่ให้ความร่วมมือ หรือฝ่าฝืนมาตรการฯ จะให้มีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืน บันทึกเหตุการณ์
ทั้งนี้จังหวัดประกาศแจ้งกำหนดพื้นที่เสี่ยงเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส(COVID-19) โดยห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากพื้นที่ ดังนี้ ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ, ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง,ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน ,ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก และตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส กำหนด 14 วัน ระหว่างวันที่ 26 มี.ค. -8 เม.ย. 2563 หากผู้ใดมีความจำเป็นจะต้องเข้าหรืออกจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอท้องที่ โดยใช้เส้นทางที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่กำหนด และขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสร่วมรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ด้วยการ”อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ “เพื่อร่วมฝ่าวิกฤติของแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส(COVID-19) ไปด้วยกัน
ขณะที่จังหวัดนราธิวาสจะมีการเปิดโรงพยาบาลสนาม (Cohort Hospital) รองรับการคัดกรองผู้ปวยโรคติดเชื้อไวรัส(COVID-19) และการเตรียมรับมือเมื่อพบผู้ป่วยจำนวนมาก ณ โรงพยาบาลกัลยานิวัฒนาการุณย์ ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ได้จำนวน 34 เตียง ห้องแยก 2 เตียง ผู้ปวยระดับรุนแรง จะส่งต่อเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ห้องแยก 14 เตียง และถ้ามีจำนวนมากสามารถเปิดโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก รองรับเพิ่มเติมได้อีก
ทั้งนี้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) COVID-19 จังหวัดนราธิวาส เปิดบริการเปิดสายด่วน 1881 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบข้อสงสัย และการสื่อสารกับประชาชนให้หลายช่องทางมากขึ้น
นายแพทย์ อินทร์ จันแดง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้กล่าวถึง ประวัติการดูแลรักษาผู้ป่วยวยที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดนราธิวาส ผู้ป่วยเป็นชายไทยอายุ 49 ปี อาชีพ รับจ้าง อยู่ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหโกลก จังหวัด นราธิวาส ผู้ป่วยมีนำหนักตัว 109 กิโลกรัม มีประวัติไปทำกิจกรรมทางศาสนาที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย กลับเข้าประเทศ ไทยโดยรถยนต์ส่วนบุคคลเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 เริ่มมีอาการป่วย วันที่ 11 มีนาคม 2563 อาการคือ เป็นไข้หวัด และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เมื่อ 12 มีนาคม 2563
ต่อมาผลตรวจพบว่าติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน 2019 และทำการรักษาตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข จนวันที่ 26 มีนาคม 2563 เวลา 14.00 น.เริ่มมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น ออกซิเจนในเลือด แพทย์ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ เพราะระบบหายใจล้มเหลว ที่สุดไม่สามารถยื้อและช่วยชีวิตได้ และเสียชีวิต วันที่ 27 มีนาคม 2563 เวลา 03.30 น.
ในส่วนการจัดการศพทีมสุขภาพได้ดำเนินการจัดการศพตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และห่อหุ้ม ศพด้วยถุงป้องกันเชื้อ และโรงพยาบาลนำส่งศพไปสุสานเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา -ทีมแพทย์และทีมเยียวยาจิตใจทำความเข้าใจกับญาติ ซึ่งทุกคนมีความเข้าใจและปฏิบัติ แนวทางการป้องกันการติดเชื้อกระทรวงสาธารณสุข กับผู้ประกอบพิธีทางศาสนา ในการฝังศพตามประกาศจุฬาราชมนตรี และ กันประชาชนออกห่าง ให้มาทำพิธีเท่าที่จำเป็นเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |