อว.เยี่ยมรพ.สนามธรรมศาสตร์ ชูเป็นโมเดล"มหา'ลัย-มรภ.38แห่ง"เตรียมดำเนินตาม รับผู้ป่วยโควิด 


เพิ่มเพื่อน    

27 มี.ค.63-  เวลา12.40 น.  นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมด้วย รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณาจารย์ นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจเยี่ยมการดำเนินงานที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์( หอพัก DLUXX) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ตั้งขึ้นทำหน้าที่แบ่งเบาภาระจากโรงพยาบาลใหญ่โดยจะรองรับผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้ว แต่ยังต้องกักตัวดูอาการอีกอย่างน้อย 14 วัน เพื่อทำให้โรงพยาบาลใหญ่มีเตียงว่างสำหรับดูแลผู้ป่วยรายใหม่ โดยขณะนี้มีผู้ป่วยโควิดที่อาการดีขึ้นแล้วถูกส่งมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ชุดแรกจำนวน 2 คนและจะรับผู้ป่วยใหม่เพิ่ม 4 คนในช่วงบ่ายวันนี้ 

 

 นายสุวิทย์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ส่งผลให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและในอนาคตอันใกล้อาจเกินศักยภาพที่โรงพยาบาลต่างๆ รับไหวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์อีก 4 สถาบัน ริเริ่มการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม  มีทั้งสิ้น 308 เตียง ซึ่งตอบโจทย์เหตุการณ์แพร่ระบาดและมีการจัดการที่ได้มาตรฐาน โดยมองไปข้างหน้าหากมีเหตุการณ์วิกฤตจะแยกผู้ป่วยหนักกับผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นอย่างไร ซึ่ง1-2สัปดาห์หน้าจะมีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น  โดย มธ.ได้ปรับปรุงอาคารหอพักDLUXX เป็นหอพักเอเชี่ยนเกมส์เดิม ให้มีความเหมาะสมกับภารกิจมีโซนที่สามารถแยกออกจากส่วนอื่นโดยเริ่มดำเนินการรับผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. และผู้ป่วยเริ่มทยอยเข้ามา


 “ หากเหตุการณ์เลวร้ายกว่านี้จะรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีทั่วประเทศอย่างไร อว.มีมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาคทั้งจังหวัดเชียงใหม่ขอนแก่น สงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ มีโอกาสจะแปลงสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นโรงพยาบาลสนาม เราจะใช้โรงพยาบาลสนามธรรมเป็นโมเดลต้นแบบ ผมได้หารือผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์   ให้ถอดรหัสแนวทางปฏิบัติ ต้นทุนการจัดการ การจัดระบบไอที นี่เป็นการทำงานจริง ถือเป็นประโยชน์กับสถาบันการศึกษาอื่นสามารถดำเนินการได้ทันที หากขาดงบประมาณ ในการดำเนินทาง อว.จะประสานทีมโควิดส่วนกลางเพื่อตอบโจทย์ประเทศร่วมกัน นี่คือ การมองการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมองไปข้างหน้า สิ่งที่ดีที่สุดการอยู่บ้านคือการช่วยชาติ หากออกมาต้องรักษาระยะห่าง แต่เมื่อป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาเชื่อว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือกันจะรับมือและผ่านวิกฤตโควิดไปได้” นายสุวิทย์กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"