27 มี.ค. 63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ “โควิด 19 กับสิ่งแวดล้อม” โดยระบุว่า “ถ้ามองในแง่ดี โรคโควิด 19 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อม ใน 2 เดือนที่ผ่านมา มีการลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้กับบรรยากาศโลก อย่างมากมาย ตั้งแต่มีการปิดเมืองในประเทศจีน มีการลดการใช้ น้ำมัน และลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ลดการสร้างไนตรัสออกไซด์ จากรถยนต์จำนวนมโหฬาร จะเป็นการลดภาวะโลกร้อน ให้กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
โรคโควิด 19 สามารถแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงเสมอ คือขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นจากหน้ากากอนามัย และชุดที่ใช้ในการป้องกันโรคหรือที่เรียกว่า PPE หรือชุดหมี ที่มีการใช้กันมากมาตรการการกำจัดขยะพลาสติก และกล่องโฟมที่ใช้ส่งอาหาร และตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะต้องมีแผนในการปฏิบัติการกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกต้องต่อไป
ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ เมื่อเกิดโรคระบาด ก็มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในการลดโลกร้อน และสิ่งหนึ่งที่จะฝึกเรา คือฝึกให้เรารู้จักความพอเพียง”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |