'อัจฉริยะ' ให้ข้อมูลอนุกมธ.ป.ป.ช. 2 บริษัทผลิตหน้ากากอนามัยขายตลาดมืด


เพิ่มเพื่อน    

26 มี.ค.63 - ที่รัฐสภา นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะอนุกรรมธิการชุดที่สอง คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลประชุมอนุกมธ.ว่า ที่ประชุมได้เชิญนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลืออาชญากรรม มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกักตุนหน้ากากอนามัย โดยอนุกมธ.ได้ตั้งประเด็นเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยที่หายไปจากท้องตลาด และถูกส่งไปขายต่างประเทศ พบว่า มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ คำสั่งของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคากลางสินค้าและผลิตภัณฑ์ วันที่ 4 ก.พ. 2563 ที่ขอให้การส่งออกหน้ากากอนามัยมาอยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ จากเดิมที่เป็นหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรม ขณะเดียวกันอนุกมธ.ยังมีข้อสงสัยโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 11 แห่งที่ระบุว่ามีกำลังการผลิต 1.2ล้านชิ้นต่อวันนั้น น่าจะมีการผลิตหน้ากากอนามัยได้มากกว่านั้น โดยเห็นจากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของโรงงานแต่ละแห่งมียอดใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก ดังนั้นกำลังการผลิตต้องสูงขึ้น ซึ่งส่วนต่างของหน้ากากที่เกิน1.2ล้านชิ้นไปอยู่ไหน  เข้าไปสู่ในตลาดมืดหรือไม่ 

"ขอฝากไปถึงนายกฯ และรมว.พาณิชย์ให้ช่วยชี้แจงการกระจายหน้ากากอนามัยที่ระบุว่า มีการส่งให้โรงพยาบาล 7แสนชิ้นต่อวัน และส่งให้ร้านค้า 5แสนชิ้นต่อวัน มีรายละเอียดส่งไปที่ไหนบ้าง ทำไมราคายังแพงอยู่" นายธีรัจชัย กล่าว

นายธีรัจชัย กล่าวต่อว่า จากข้อมูลยังพบว่า ในวันที่ 9 มี.ค.2563 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคากลางสินค้าและผลิตภัณฑ์ กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้ 7 บริษัท ส่งออกหน้ากากอนามัยถึง 12 ล้านชิ้น จากยอดทั้งหมดที่ขอมา 53 ล้านชิ้น จาก 242 บริษัท ซึ่งเป็นเฉพาะวันที่ 9 มี.ค.วันเดียว จึงอยากทราบว่า วันอื่นๆมีการอนุมัติการส่งออกหน้ากากอนามัยเท่าไรบ้าง 

ด้านนายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ปรึกษากมธ. กล่าวว่า นายอัจฉริยะได้แจ้งต่ออนุกมธ.ว่า มีข้อมูลจากป.ป.ง.ถึงเส้นทางการเงินเรื่องหน้ากากอนามัยในกลุ่มข้าราชการบางคน ซึ่งนายกฯได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้จนมีการใช้คำสั่งกับข้าราชการบางคนไปแล้ว เรามีข้อมูลส่วนนี้ที่ตรวจสอบได้ และจะตรวจสอบเชิงลึกต่อไป 

อย่างไรก็ตาม นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ให้สัมภาษณ์ก่อนร่วมประชุมคณะอนุกมธ. เปิดเผยว่า ตนจะให้ข้อมูลกับกมธ.ว่าบริษัทผู้ผลิตหน้ากากอนามัยมีมากกว่า 200 บริษัท หากทุกบริษัทร่วมกันผลิตก็น่าจะมีหน้ากากอนามัยมากกว่า 200-300 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งใน 200 บริษัทมีทั้งการนำเข้า ส่งออก และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย จึงไม่ทราบว่าของขาดตลาดได้อย่างไร ซึ่งนอกจากจะระงับการส่งออกแล้วยังไม่ให้มีการผลิตของให้กับประชาชนคนไทยได้ใช้ จึงไม่ทราบว่าเหตุใดจึงต้องล็อคแค่ 11 บริษัท และ 2 ใน 11 บริษัทก็ได้มีการนำหน้ากากอนามัยไปขายในตลาดมืดเป็นจำนวนมาก

นายอัจฉริยะ กล่าวอีกว่า มีบริษัทหนึ่งขายหน้ากากอนามัยให้นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ บอย เมื่อวันที่  29 มกราคม 2563 จำนวน 1 ล้านชิ้น ในราคา 3.40 บาท ซึ่งบางคน​ได้ค่านายหน้า 40 สตางค์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มีการประกาศห้ามการส่งออกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งบริษัทต้องจัดส่งยอดที่มีอยู่ในสต๊อกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ โดยบริษัทได้แจ้งว่ามีกำลังการผลิตวันละ 200,000 ชิ้น แต่แท้ที่จริงบริษัทมีกำลังการผลิตวันละ 500,000 ชิ้น ซึ่งได้นำส่วนต่างจำนวนวันละ 300,000 ชิ้น ไปขายในตลาดออนไลน์ และนำส่งไปต่างประเทศ จึงอยากทราบว่ากรมการค้าภายในควบคุมสินค้าอย่างไรทำให้ไม่มีของขายในตลาดประเทศไทย หากนำทั้ง 200 บริษัทมาร่วมกันผลิตสินค้าจะขาดตลาดได้อย่างไร

นายอัจฉริยะ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลหลักฐานที่ตัวเองมีอยู่เชื่อว่าสามารถเอาผิดอธิบดีกรมการค้าภายในได้ รวมถึงเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับว่าทาง กมธ. จะเอาจริงหรือไม่ ส่วนตัวกลัวว่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดูจึงไม่อยากให้ข้อมูลมาก ทั้งที่ตัวเองก็มีข้อมูลเชิงลึกอยู่จำนวนมาก โดยเรื่องนี้เป็นหน้าที่ฝ่ายค้านที่ต้องตรวจสอบหาความจริงให้ได้ว่าหน้ากากอนามัยหายไปไหน ใครเป็นคนอนุญาตให้ส่งออก ขณะเดียวกัน หากกรมการค้าภายในยอมให้ข้อมูลทั้ง 242 บริษัท ยอมให้ข้อมูลกับ กมธ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะง่ายต่อการตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมากรมการค้าภายในไม่เคยให้ข้อมูลเลย 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"