(กายบริหารในบ้านอย่าง การนั่งยกขาค้างไว้บนเก้าอี้ จะช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้)
ว่าไปแล้วการ “บริหารสมอง” และการสร้างความแข็งแรงเพื่อลดปัญหา “สุขภาพข้อเสื่อม”ให้กับผู้สูงอายุ สามารถทำได้ทุกที่ไม่เว้น แม้แต่ห้องหับต่างๆ ภายในบ้าน อย่าง ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องน้ำ โดยเฉพาะการปล่อยให้คุณตาคุณยายนอนดูทีวีวันละ 2 ชั่วโมงในห้องนั่งเล่น จะส่งผลให้ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมได้ง่าย ดังนั้นหากลองพลิกแพลงใช้ห้องอเนกประสงค์ดังกล่าวทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงวัย ก็ถือเป็นการป้องกันโรคและสร้างผูกพันได้ทางหนึ่ง หรือแม้แต่ห้องน้ำที่ใช้สำหรับปลดทุกข์ หากฝึกกายบริหารที่ถูกต้องก็สามารถป้องกันโรคปัสสาวะเล็ดในคนสูงอายุได้
(ผศ.พ.ท.พญ.พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ)
ผศ.พ.ท.พญ.พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.พระมงกุฎเกล้า มีคำแนะนำดีๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงจากห้องในบ้านมาแนะนำคุณตาคุณยายกันว่า “นอกจากการเตรียมบ้านให้ปลอดภัยแล้ว ผู้สูงอายุสามารถสร้างความแข็งแรงทั้งร่ายกาย รวมถึงฝึกสมองป้องกันอัลไซเมอร์จากห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยที่หลายคนอาจมองข้ามไป เริ่มจาก “ห้องนั่งเล่น” ที่ควรหลีกเลี่ยงการตั้งโต๊ะทีวี หากจะให้ดีต่อสุขภาพวัยเก๋านั้น ให้ลูกหลานลองหากกิจกรรมทำด้วยกัน เช่น เล่นเกมจับคู่เพื่อฝึกสมอง หรือลองหาปฏิทินมาติดไว้เพื่อให้คุณตาคุณยายฝึกการใช้ความคิดว่า วันนี้วันที่เท่าไร?? เดือนอะไร?? นอกจากนี้ก็สามารถบริหารสมองด้วยกัน 1.ยกมือขวาขึ้นมาและหมุนไปข้างหน้า 2.ยกมือซ้ายขึ้นมาและหมุนไปด้านหลัง (แนะนำให้หมุนพร้อมกัน) วิธีนี้จะเป็นการช่วยฝึกการทำงานของสมองทั้งสองข้างให้เท่ากันเพื่อป้องกันสมองฝ่อ โดยที่ผู้สูงอายุสามารถนั่งทำเองได้ที่บ้านหากมีเวลาว่าง
(“หมุนแขนขวาไปด้านหน้า พร้อมกับหมุนแขนซ้ายไปด้านหลัง” (จากนั้นทำสลับข้างกัน) เทคนิคป้องกันโรคสมองเสื่อมที่สามารถทำได้ในห้องนั่งเล่นที่บ้าน)
ขณะที่ “ห้องน้ำ” ก็เป็นอีกฟังก์ชันการใช้งานที่ช่วยป้องกันโรค “ปัสสาวะเล็ดในคนสูงวัย” โดยขณะที่นั่งชักโครก แนะนำว่าให้คุณตาคุณยายลองฝึกขมิบอุ้งเชิงกรานวันละ 20 ครั้ง 3 เวลาขณะเข้าห้องน้ำ โดยมีวิธีทำง่ายๆ คือ ให้ลองคิดถึงเวลาที่เรากลั้นปัสสาวะและปล่อย จากนั้นให้กลั้นสั้นๆ และปล่อย โดยทำตามจำนวนครั้งที่บอกไว้ข้างต้น หรือแม้แต่การลดโรคสมองเสื่อม ด้วยการ “แปรงฟันในข้างที่เราไม่ถนัด” เช่น หากเราถนัดมือขวาจะแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุจะใช้สมองข้างซ้ายเยอะ ดังนั้นถ้าต้องการให้สมองอีกด้านคือข้างขวาไม่ฝ่อและใช้งานได้ปกติ หรือต้องการให้สมองทำงานเท่ากันทั้ง 2 ด้าน ก็ให้ลองแปรงฟันมือซ้าย เป็นต้น
ถัดมาเป็น “ห้องครัว” แน่นอนว่ามีอายุมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ของเราก็มักจะมีการรับรู้รสชาติที่แย่ลง โดยเฉพาะ “รสขม” และ “รสเค็ม” แต่รสหวานและรสเปรี้ยวยังสามารถใช้การได้ดี ซึ่งลูกหลานสามารถสังเกตได้ว่าเวลาที่ผู้สูงอายุเข้าครัวปรุงอาหารให้ลูกหลานรับประทานจะมีความเค็มมาเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นอันตรายมากสำหรับคุณตาคุณยายที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการกระตุ้นสมองในห้องครัวให้ลด ละ เลิกการรับประทานอาหารรสเค็มจัดนั้น แนะนำว่าให้ผู้สูงอายุหลับตาและดมกลิ่นอาหารรสเค็ม ตรงนี้จะไปกระตุ้นสมองในส่วนของการรับกลิ่น เมื่อได้รับรู้กลิ่นแล้ว สมองในส่วนนี้ก็จะสั่งให้ผู้สูงอายุค่อยๆ ปรับลดความเค็มลงทีละนิด จนกระทั่งปรับเปลี่ยนโดยการกินรสเค็มน้อยลง
(ผู้สูงอายุเดินเร็วในสนามหญ้าหน้าบ้านวันละ 40 นาที ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้)
ปิดท้ายกันที่ “สนามหญ้าหน้าบ้าน” แนะนำว่าควรตั้งเก้าไว้สำหรับนั่งเล่น 1 ชุด และควรเป็นชุดเก้าอี้ที่มีความแข็งแรง ไม่ขยับเขยื้อนได้ง่าย เช่น ชุดโต๊ะเก้าอี้ทำจากปูน ทั้งนี้ ผู้สูงอายุสามารถป้องกัน “โรคเข่าเสื่อม” ได้โดยการนั่งบนเก้าอี้ จากนั้นกางขาค้างไว้ (นับในใจ 1-10 ครั้ง) และยกขาลง จากนั้นทำซ้ำเดิม วันละประมาณ 10 นาที ก็จะช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถ “เดินเร็ว” รอบสนามหญ้าหน้าบ้าน หรือสวนสาธารณะวันละ 40 นาที หากคุณตาคุณยายเดินเร็วได้วันละ 3 เวลา ก็จะป้องกันโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน ที่สำคัญการออกกำลังกายช่วงเช้าจะได้รับวิตามินดีที่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ดีเช่นเดียวกัน”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |