เซอร์คูร่าอีโคโนมีปลอดขยะ


เพิ่มเพื่อน    

 

              ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งรัฐบาลพยายามที่จะหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการแพร่ระบาด แต่ก็ยังไม่ลืมที่จะเร่งรัดแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

                พลาสติกถือเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากพลาสติกมีคุณสมบัติเบา แข็งแรง ทนทาน และราคาถูก สามารถผลิตให้มีรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัย ทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายรูปแบบ และมีสีสันสวยงามให้เลือกใช้อย่างมากมาย ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ทำให้พลาสติกได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว หลอดพลาสติก เป็นต้น ส่งผลให้เกิดขยะพลาสติกในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองและชุมชนขนาดใหญ่

                สุดท้ายก็สร้างปัญหากลายเป็นมลพิษ ที่ทั่วโลกต้องเร่งหามาตรการในการกำจัดขยะพลาสติก สำหรับประเทศไทยนั้น ตามเป้าหมายแล้วกรมควบคุมมลพิษ มีแผนในการจัดการขยะพลาสติก เริ่มจากการลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 3 ชนิด ในปี 2562 ได้แก่ แคปซีล พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่และไมโครบีด และ 4 ชนิดในปี 2565 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง โฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก (แบบบาง) และหลอดพลาสติก จากนั้นมีเป้าหมายที่จะนำขยะพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 100% ภายในปี 2570 โครงการต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับประเทศ

                ซึ่งต้องยอมรับกันว่าที่ผ่านมานั้นขยะพลาสติกได้สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  ได้ร่วมมือกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เดินหน้าโครงการ “ต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับประเทศ” สนับสนุนการบริหารจัดการขยะพลาสติกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสู่เป้าหมายการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

                ทั้งนี้ คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC  กล่าวว่า GC ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะ จึงได้อาสามาร่วมทำโครงการฯ GC กำหนดแนวปฏิบัติตามหลัก Circular Economy ให้กับพื้นที่อุทยานฯ สนับสนุนองค์ความรู้ และดำเนินงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในการจัดการขยะพลาสติกแบบยั่งยืน GC มีทางออกที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน และสร้างระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุม 4 ด้าน

                ไม่ว่าจะเป็น Bio-based มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอโปรดักส์ ที่สลายตัวได้ด้วยการฝังกลบ, Fossil-based : มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบ นำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล, Ecosystem : เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้พลาสติก เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง และ Inclusiveness : GC จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้า SMEs ให้ปรับตัวกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค โดยมีแนวร่วมสำคัญจากพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ TPBI และ Farm D

                และความร่วมมือในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ อส.ได้คัดเลือกอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงาน และจะขยายผลไปยังอุทยานแห่งชาติอีกจำนวน 14 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติต้นแบบให้กับอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศต่อไป

                และยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งจะสามารถขยายการดำเนินงานไปสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของประเทศให้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และยกระดับ ให้อุทยานแห่งชาติเป็นอุทยานแห่งชาติปลอดขยะ (zero waste national park)

                งานนี้ GC คาดว่าโครงการนี้จะเป็นการสร้างต้นแบบโมเดลแห่งความสำเร็จระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น เพื่อขยายผลในวงกว้างต่อไป.

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"