พรรคการเมืองไอเดียกระฉูด เสนอแนวทางแก้ปัญหาความเสียหายจากการล็อกดาวน์ "กรณ์" จี้ใช้ข้อมูลประกันสังคมช่วยคนตกงาน จ่ายชดเชยค่าครองชีพ "เจ๊หน่อย" มาเป็นแพ็กเกจ แจกหัวละ 5 พันเป็นเวลา 3 เดือน พักชำระหนี้ SME 6 เดือน ยกเลิกภาษีน้ำมัน
หลังมีคำสั่งล็อกดาวน์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากตกงานและว่างงานชั่วคราว เนื่องจากกิจการหลายประเภทต้องหยุดให้บริการ มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่น่าสนใจจากฝ่ายการเมือง เช่น นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า เสนอให้รัฐบาลรีบใช้บิ๊กดาต้าช่วยบรรเทาปัญหาของคนตกงาน และลดการเคลื่อนไหวกลับไปต่างจังหวัดได้
เขาระบุว่า ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุดของรัฐที่มีคือข้อมูลประกันสังคม รัฐรีบออกมาตรการให้นายจ้างที่ต้องเลิกจ้างหรือหยุดจ้าง แจ้งประกันสังคมทันที พร้อมบอกเลขประกันสังคมและเลขบัญชีเพื่อให้โหลดแอปฯ ที่บอกโลเกชั่นของผู้ประกันตน และมีการจ่ายชดเชยค่าครองชีพให้เพิ่มเติมทุกวันตราบใดถ้ายังอยู่ในเขตพื้นที่เดิมกับการจ้างงาน ลูกจ้างจะเดือดร้อนน้อยลง และอาจจะลดความจำเป็นที่จะกลับบ้าน ลดความเสี่ยงในการแพร่ไวรัสที่บ้าน เทคโนโลยีมีอยู่แล้ว
"ทำได้เลยครับ ผมเห็นประกาศของราชการให้แรงงานจากกรุงเทพฯ กักตัวที่ต่างจังหวัด 14 วัน แต่คงไม่มีใครเชื่อว่าจะมีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และหากกักตัวอยู่ภายในบ้านเดียวกันกับผู้สูงอายุ ก็ยิ่งจะเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ในอนาคตรัฐบาลยังคงต้องมีอีกหลายมาตรการ พวกเราได้แต่ขอให้ท่านคิดให้รอบคอบและรอบด้าน และขอให้ทุกๆ คนปลอดภัยครับ" นายกรณ์ระบุ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เสนอมาตรการสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องถูกเลิกจ้าง คนตกงาน หรือพักงาน เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน หากมีงานทำก่อน ก็ยกเลิกการอุดหนุนเบี้ยยังชีพนี้ 1.2 พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทุกประเภทให้ประชาชน
มาตรการสำหรับภาคธุรกิจ ต้องเร่งช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง SMEs กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มผู้ผลิต ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร รับจัดอีเวนต์ สปา ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือนก่อนในเบื้องต้น ยกเลิกการเก็บภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อลดต้นทุนการผลิต
คุณหญิงสุดารัตน์ยังกล่าวว่า มาตรการสำหรับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและกำลังมีปัญหาผลกระทบจาก Covid โดย 3.1 พักชําระหนี้เกษตรกรทุกชนิด 6 เดือน หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น อาจขยายเวลาเพิ่มขึ้น 3.2 เร่งจ่ายชดเชยค่าภัยแล้ง ไร่ละ 2,500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยให้ขั้นต่ำรายละ 25000 บาท 3.3 จัดสรรเงิน SML 500,000-800,000-1,000,000 บาท ให้หมู่บ้านนำไปพัฒนาแหล่งน้ำ ถนน ในหมู่บ้าน โดยให้ใช้แรงงานในพื้นที่เท่านั้น
ขณะที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ในฐานะกรรมาธิการงบประมาณฯ กล่าวว่า รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การใช้งบประมาณของทุกกระทรวงใหม่ ลดการซื้ออาวุธ การเช่ารถ การจัดสัมมนา การเดินทางไปต่างประเทศ แล้วนำไปเป็นการซื้อเครื่องมือแพทย์แทน ในส่วนของท้องถิ่นซึ่งมีเงินสะสมจำนวนมาก รัฐบาลต้องปรับเกณฑ์ให้ท้องถิ่นสามารถใช้งบได้อย่างคล่องตัว และในส่วนของภูมิภาค รัฐบาลต้องสั่งให้สำนักงบประมาณผ่อนคลายกฎเกณฑ์การใช้งบประมาณอย่างเร่งด่วน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ขณะนี้เม็ดเงินเพียงพอเพียง แต่รัฐบาลต้องบริหารจัดการให้ถูกต้อง
ด้าน นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่า รัฐบาลต้องทุ่มเทหามาตรการ การเยียวยาทางเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน หลายมาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมาเป็นมาตรการที่ดี และไม่ได้ใช้งบประมาณของประเทศมาก เช่น มาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา, การลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา, การให้ชะลอตัดมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา กรณีที่ไม่มีเงินชำระ
“พรรคพลังธรรมใหม่ขอเสนออีกมาตรการหนึ่งที่สำคัญ ที่รัฐบาลต้องดำเนินการนี้อย่างเร่งด่วนคือ การขอความร่วมมือสหกรณ์กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ ชะลอการชำระหนี้และลดดอกเบี้ยให้สมาชิก 1 ล้านคนทั่วประเทศ 3 เดือน ซึ่งมาตรการนี้จะมีผลต่อประชาชนทั่วประเทศมากกว่าล้านคนทั่วประเทศ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณแต่อย่างใด สำหรับแต่ละสหกรณ์ก็อาจจะมีกำไรลดลงจากการลดดอกเบี้ยให้สมาชิกในช่วง 3 เดือน แต่จะไม่เกิดหนี้สูญ เพราะเมื่อครบกำหนดสมาชิกก็ต้องมาผ่อนชำระตามปกติ” นพ.ระวีกล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว.ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญของวุฒิสภาส่วนใหญ่ได้งดประชุมแล้ว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เว้นแต่บางคณะกรรมาธิการที่มีความจำเป็นเท่านั้นอย่างคณะอนุกรรมาธิการ
ขณะเดียวกัน ส่วนตัวคิดว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังเป็นอยู่อย่างนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องเลื่อนการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญที่จะเริ่มต้นขึ้นในกลางเดือน พ.ค.ออกไปก่อน เพื่อให้ ส.ส.และ ส.ว.ได้มีโอกาสทำงานประสานงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้เต็มที่ ซึ่งคิดว่าการเลื่อนการเปิดสมัยประชุมออกไปตามกำหนดการเดิมไม่น่าจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะเวลานี้เป็นสถานการณ์วิกฤติที่มีความจำเป็น
นายวัลลภ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ยังแถลงว่า ภายหลังกรุงเทพมหานครออกคำสั่ง โดยออกมาตรการต่างๆ เพื่อบังคับใช้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านเด็กและสังคม ได้สำรวจว่าสภาวะแบบนี้จะเกิดความเดือดร้อนต่อคนในระดับรากหญ้า แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง ได้แก่ กลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นคนเจ็บป่วย คนพิการ และคนที่ไม่ได้อยู่บ้าน ประมาณ 800-1,000 คน 2.กลุ่มเด็กและเยาวชน ที่เร่ร่อนทั้งไทยและต่างชาติ ประมาณ 500 คน
และ 3.กลุ่มที่อยู่ในชุมชนแออัดขนาดเล็ก ต่ำกว่า 25 ครัวเรือน ประมาณ 2,500 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้นประเมินว่ามีผู้ได้รับผลกระทบที่จะไม่มีเครื่องอุปโภคบริโภคในภาวะวิกฤติประมาณ 8,000-10,000 คน ทาง กมธ.จึงร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ครูข้างถนน กรุงเทพมหานคร และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดเตรียมชุดอาหาร น้ำดื่ม และหน้ากากอนามัย จำนวน 3,000 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งตอนนี้จัดเตรียมได้แล้ว 1,000 ชุด และจะดำเนินการแจกจ่ายทันที โดยครูข้างถนนจะกระจายลงพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งมอบ
นายวัลลภกล่าวด้วยว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องมาช่วยบริจาค แต่สามารถช่วยกันดูแลช่วยเหลือคนรอบๆ ชุมชนได้ หากมีน้ำดื่มอาหาร ก็ช่วยกันแบ่งปันให้ผู้ที่ขาดแคลน
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะรองประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 คนที่ 1 กล่าวถึงการแนวทางการทำงานของ กมธ.ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าจากข้อห่วงใยของ กมธ.ทุกฝ่าย ทั้งซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ให้งดการประชุมในระยะนี้ออกไปก่อน โดยจะประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ ว่าจะกลับมาประชุมได้เมื่อไหร่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จากประเมินแล้วคาดว่าน่าจะงดประชุมไปอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งตามกรอบการทำงาน 120 วันของ กมธ.วิสามัญฯ จะครบกำหนดในวันที่ 16 เมษายนนี้ หรืออีกเกือบๆ 1 เดือน ดังนั้น กมธ.จะใช้วิธีการชดเชยการประชุม โดยคณะ กมธ.จะทำเรื่องถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขยายเวลาชดเชยไปตามจำนวนที่ กมธ.ได้งดประชุมไป
เมื่อถามว่า ส่วนการงดประชุมจะทำให้ต้องเลื่อนการเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาไปจากเดิมกำหนดไว้ในช่วงเปิดสมัยประชุมเดือนพฤษภาคมนี้หรือไม่นั้น นายไพบูลย์กล่าวว่า คิดว่า ต้องประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดกันอีกครั้ง แต่วันทำงานของ กมธ.ไม่ลดน้อยลงแน่นอน เพราะงดประชุมไปเท่าไหร่ กมธ.ก็ชดเชยเท่านั้น โดยขณะนี้ กมธ.ได้พิจารณาในส่วนของเนื้อหา รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ไปถึงกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือในส่วนของรายงานเพื่อเตรียมเสนอที่ประชุมสภาเท่านั้นที่ กมธ.กำลังจะเริ่มทำ แต่ต้องมางดประชุมเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เสียก่อน จึงยังไม่ได้พิจารณา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |