'ศูนย์โควิด-19พท.'ชง3มาตรการเยียวยา แจกเบี้ยยังชีพเดือนละ5พัน


เพิ่มเพื่อน    

23 มี.ค. 63 - ที่ห้องประชุม 8A ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เวลา14.30 น. มีการประชุมคณะทำงานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและติดตามการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย
 
จากนั้นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมว่า หลังจากมาตรการของรัฐบาลให้ปิดสถานประกอบการ เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการควบคู่กับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะต้องเร่งช่วยคนตัวเล็ก พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน จากมาตรการปิดสถานที่ต่างๆ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่าง SMEs โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านค้าปลีกรายเล็ก และอื่นๆ ขอเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้ 

1.มาตรการสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องถูกเลิกจ้าง คนตกงาน ถูกพักงาน 1.1 สำหรับคนที่ต้องออกจากงาน ตกงาน หรือพักงาน เพราะผลกระทบจาก Covid-19 เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน หากมีงานทำก่อน ก็ยกเลิกการอุดหนุนเบี้ยยังชีพนี้ 1.2 พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทุกประเภท ให้ประชาชน ทั้งหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนมอเตอร์ไซค์ ผ่อนรถยนต์ ผ่อนเครื่องมือทำการเกษตร หรือผ่อนเครื่องมือทำมาหากิน เช่น คอมพิวเตอร์ ที่เป็นหนี้มาก่อน ไม่ใช่หนี้ใหม่ เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1.3 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ประชาชนทุกประเภท 1.4 สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังต้องถูกกัดตัว 14 วัน ต้องจ่ายชดเชยรายได้ให้คนละ 5000 บาท 1.5 ช่วยลดค่าน้ำค่าไฟ ให้ผู้มีรายได้น้อย ใช้ไม่เกิน 1000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน  1.6 สำหรับเด็กนักเรียนที่ต้องเรียนออนไลน์ และพนักงานที่ต้องทำงานจากบ้านให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งให้เอกชนช่วยสนับสนุนบางส่วน 1.7 ขอความร่วมมือภาคเอกชนงดเก็บค่าเช่าให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็กอย่างน้อย 3 เดือน โดยลดภาษีให้ผู้ประกอบการ

2.มาตรการสำหรับภาคธุรกิจ ต้องเร่งช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง SMEs กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มผู้ผลิต ขนาดเล็กขนาดกลาง ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร รับจัดอีเว้นท์ สปาฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด โดย2.1 พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือนก่อนในเบื้องต้น นับตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป 2.2 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ธุรกิจเล็ก กลางที่ได้รับผลกระทบ ให้เหลือ 3% พร้อมทั้งปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้เอกชนพอที่จะยืนอยู่ได้ ในสภาวะเช่นนี้ 2.3 ให้soft Loan สินเชื่อเพื่อต่อชีวิตธุรกิจ ในอัตราดอกเบี้ย1% เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจSMEs โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อ และค้ำประกันเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ 2.4 ให้เงินอุดหนุนนายจ้าง”ไม่ให้เลิกจ้างพนักงาน” โดยช่วยสนับสนุนค่าจ้างพนักงานบางส่วน 2.5 ลดราคาน้ำมันตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะให้ยกเลิกการเก็บภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อลดต้นทุนการผลิต 2.6 เลื่อนการจ่ายภาษีนิติบุคคลออกไปอีกหกเดือน สำหรับธุรกิจSMEs และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

3.มาตรการสำหรับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและกำลังมีปัญหาผลกระทบจาก Covid โดย3.1 พักชําระหนี้เกษตรกรทุกชนิด 6 เดือน หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น อาจขยายเวลาเพิ่มขึ้น 3.2 เร่งจ่ายชดเชยค่าภัยแล้ง ไร่ละ 2,500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยให้ขั้นต่ำรายละ 25000 บาท  3.3 จัดสรรเงิน SML 500,000-800,000-1,000,000 บาท ให้หมู่บ้านนำไปพัฒนาแหล่งน้ำ ถนน ในหมู่บ้าน โดยให้ใช้แรงงานในพื้นที่เท่านั้น
    
ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ ในฐานะคณะทำงานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ กล่าวว่า ขอเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการด้านวัสดุ คุรุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์ให้ชัดเจน รวมทั้งขอให้ลงโทษอย่างเด็ดขาดต่อผู้ที่นำเมทิลแอลกอฮอล์มาขาย ซึ่งไม่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำความสะอาดได้ นอกจากนี้ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ Test Kid โดยทางการจีน อยากส่งมาให้ประเทศไทย ซึ่งชุดตรวจดังกล่าวราคาประมาณ 300-400บาท ใช้เวลาตรวจหาเชื้อโควิดเบื้องต้นในเวลา 15-30นาที ซึ่งดีมาก ในการรณรงค์ตรวจค้นคนเจ็บ คนป่วยในชุมชน แต่ตนทราบมาว่า ไทยขอเวลาตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว 6เดือนถึง1ปี กว่าจะถึงเวลานั้น คนคงตายหมดก่อน ซึ่งกฎเกณฑ์ต่างๆที่เป็นข้อจำกัด ขอให้ทางรัฐบาลพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ เราไม่อยากให้ไทยเป็นเหมือนอิตาลี ที่แพทย์ต้องเลือกว่าคนไหนควรที่จะได้รับการรักษา  
     
นายโภคิน พลกุล รองประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลต้องตั้ง Single Commandโดยเป็นศูนย์แถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องของโควิด - 19 เพียงศูนย์เดียว และจะต้องมีผู้ตอบคำถามที่ประชาชนสงสัย ทั้งแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเป็นอย่างไร ถ้าติดเชื้อแล้วรัฐจะช่วยเหลืออย่างไร ในสถานการณ์โลกที่แปรผันทำให้ขณะนี้มียารักษาโรคดังกล่าวแล้วหรือไม่ เหล่านี้หลายคนสงสัยแต่ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน จึงอยากให้รัฐบาลรวมศูนย์ผู้เชี่ยวชาญคอยคำถามประชาชน ทั้งนี้ หากรัฐบาลตั้งศูนย์แบบซิงเกิ้ล คอมมานด์ สามารถพิจารณานำพระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ควบคู่กับ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อฯ ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ได้ สิ่งสำคัญในการบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ เราต้องการผู้นำที่มีความเป็น leadership มากกว่านี้ 
    
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล คณะกรรมการฯ ในฐานะกรรมาธิการงบประมาณฯ กล่าวว่า รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การใช้งบประมาณของทุกกระทรวงใหม่ ลดการซื้ออาวุธ การเช่ารถ การจัดสัมมนา การเดินทางไปต่างประเทศ แล้วนำไปเป็นการซื้อเครื่องมือแพทย์แทน ในส่วนของท้องถิ่นซึ่งมีเงินสะสมจำนวนมาก รัฐบาลต้องปรับเกณฑ์ให้ท้องถิ่นสามารถใช้งบได้อย่างคล่องตัว และในส่วนของภูมิภาค รัฐบาลต้องสั่งให้สำนักงบประมาณผ่อนคลายกฎเกณฑ์การใช้งบประมาณอย่างเร่งด่วน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ขณะนี้เม็ดเงินเพียงพอเพียงแต่รัฐบาลต้องบริหารจัดการให้ถูกต้อง
      
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานศูนย์ฯ กล่าวว่า หลักการสำคัญของการควบคุมโรค คือการดูแลการเคลื่อนย้าย รัฐบาลต้องเข้มงวดการคัดกรองในระดับจังหวัดและระดับชุมชน ขณะนี้ทางพรรคเพื่อไทยได้สั่งการให้ ส.ส.ของพรรคให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ โดยการร่วมตรวจสอบและคัดกรองประชาชนที่เข้า - ออกต่างจังหวัด นอกจากนี้ในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ห้องไอซียู เตียง เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น จนถึงตอนนี้ไม่รู้ว่ารัฐบาลพร้อมแล้วหรือไม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"