โพลชี้'ปชช.'แสนเครียด จวกนักเลือกตั้งดีแต่ปาก


เพิ่มเพื่อน    


    คนไทยสุดเครียด ผลโพลเทเสียง เอาเลยปิดประเทศ  ปิดเมือง ซูปเปอร์โพลตบหน้านักการเมืองพ่นน้ำลาย พล่ามโควิด- 19 ไม่สร้างสรรค์ ประชาชนเอือมระอา ตอกเจ็บไม่เห็นลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนเหมือนช่วงหาเสียง 
    เมื่อวันที่ 22 มี.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อสถานการณ์โควิด-19 จำนวนทั้งสิ้น 1,457 คน ระหว่างวันที่ 17-21 มีนาคม 2563 
    โดยมีผลสำรวจที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ณ วันนี้ มีผลต่อคนไทยมากน้อยเพียงใด อันดับ 1 มีผลอย่างมาก 86.68% เพราะส่งผลกระทบทุกด้าน โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตประจำวัน เสียสุขภาพจิต สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจของประเทศ การท่องเที่ยว การค้าลงทุนเสียหายอย่างหนัก ประชาชนทำมาหากิน ค้าขายไม่ได้ ขาดรายได้ ถูกเลิกจ้าง ลดโอที ลดเงินเดือน ฯลฯ, อันดับ 2 มีผลอยู่บ้าง 13.32% เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แพร่เชื้อได้ง่าย เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ไม่วิตกกังวลเกินไป ฯลฯ 
    ส่วนเมื่อถามว่า จากข่าวโควิด-19 ที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด? พบว่า อันดับ 1    วิตกกังวลอย่างมาก 48.73% เพราะติดต่อง่าย แพร่ระบาดรวดเร็ว เป็นห่วงคนในครอบครัวว่าจะติดเชื้อโรคนี้ ยังไม่มียารักษา รัฐไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐชี้แจงข้อมูลยังไม่ชัดเจน ไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการของรัฐบาล ยอดผู้ติดเชื้อมีมากขึ้นทุกวัน ฯลฯ, อันดับ 2 ค่อนข้างวิตกกังวล 45.30% เพราะมีผู้ติดเชื้อเริ่มกระจายหลายจังหวัด กังวลว่าบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่รักษา โรงพยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วย ฯลฯ, อันดับ 3 ไม่ค่อยวิตกกังวล 5.08%เพราะติดตามข่าวสารตลอด ศึกษาวิธีการป้องกัน ใส่หน้ากากอนามัย หมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ เป็นโรคที่รักษาหายได้ ฯลฯ, อันดับ 4 ไม่วิตกกังวล 0.89% เพราะไม่ได้อยู่ในพื้นที่แออัด มั่นใจว่าตนเองมีการระมัดระวังป้องกันอย่างดี ฯลฯ
    ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องโควิด-19 อย่างไร อันดับ 1 ปิดประเทศ ปิดเมือง ไม่ให้คนเข้า-ออกประเทศ 41.04%, อันดับ 2 สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ให้หมอและพยาบาลอย่างเพียงพอ มีเตียงรองรับผู้ป่วย 38.62%, อันดับ 3 ควบคุมราคาสินค้า แจกหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เจลล้างมืออย่างทั่วถึง 22.03%, อันดับ 4 เร่งติดตามผู้ที่ติดเชื้อและคนใกล้ชิด มีมาตรการเข้มงวด ใช้กฎหมายลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน    16.08%, อันดับ 5 เปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง รายงานสถานการณ์ แนะนำวิธีการป้องกัน 14.61% ข้อมูล, รู้จุดรักษา, เร่งจ้างงาน, แจกถุงยังชีพ
    วันเดียวกัน นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง มาตรการ ก้าวพ้นโควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,195 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา
    พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ตื่นตัวดูแลสุขภาพ ป้องกันตัวเองมากกว่าตื่นตระหนก กลัวโควิด-19 มากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ตื่นตระหนก กลัวโควิด-19 มากกว่า 
    อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 5 มาตรการก้าวพ้นโควิด-19 อันดับแรก ได้แก่ ตอบสนองความต้องการวัคซีน ยารักษาโควิด-19 รู้จุดโรงพยาบาลรักษาได้ ร้อยละ 91.4 รองลงมาคือให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลจริง อัพเดตปัจจุบัน (Realtime) พื้นที่แพร่ระบาด การป้องกัน และการรักษา ร้อยละ 85.9, เร่งสร้างงาน เพิ่มรายได้ให้ประชาชน ช่วงโควิด-19 ร้อยละ 79.8, จ่ายแจกถุงยังชีพของกินของใช้ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ในพื้นที่ช่วงกักกันตัว ร้อยละ 75.5 และรัฐร่วมหารือบริษัทยักษ์ใหญ่ ลดราคาสินค้าจำเป็น ลดรายจ่ายประชาชน ร้อยละ 73.6 ตามลำดับ
    ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8 เห็นด้วยต่อการปิดชั่วคราว คลีนนิงพื้นที่แพร่ระบาด ในขณะที่ร้อยละ 15.2 ไม่เห็นด้วย และที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่ามีคนติดเชื้อโควิด-19 เพียงร้อยละ 0.06 เท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 99.94 ไม่มีคนติดเชื้อ
    อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 มีความเห็นต่อบทบาทนักการเมืองช่วงวิกฤติโควิด-19 ว่าควรปรับปรุงถึงควรปรับปรุงอย่างยิ่ง เพราะซ้ำเติมทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเลวร้ายลงไปอีก มัวแต่ทะเลาะโจมตีกัน มัวแต่จุดความขัดแย้งในสังคม ไม่เห็นลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนเหมือนช่วงหาเสียง อยากเห็นรัฐบาลจับมือฝ่ายค้านแก้ปัญหา ลดความตื่นกลัวของประชาชนมากกว่า เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 14.3 ไม่ต้องปรับปรุงอะไร
    ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การบริหารอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนเป็นความจำเป็นที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต้องเร่งทำในทันทีมีอยู่ 3 อย่างคือ 1.บริหารอารมณ์คน 2.ใช้เทคโนโลยีข้อมูลจริงมาออกแบบมาตรการคุมเข้มจำกัดวงลดความตื่นกลัวของคน และ 3.กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้คนมีงานมีเงินไม่ขัดสน ลดราคาสินค้าจำเป็นให้คนใช้จ่ายเงิน โดยรัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่จับมือกันช่วยกันดูแลเยียวยาความทุกข์ช่วงวิกฤติโควิด-19 เสริมสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และประเทศชาติกับประชาชนก็จะเดินหน้าต่อได้ไม่ติดขัด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"