"Social  Distancing- เว้นระยะห่างทางสังคม” ทางรอดโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

ลิฟต์โดยสารกำหนดตำแหน่งและทิศทางการยืน หันหน้าเข้าผนัง


นับจากพบว่ามีผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด -19 จากสถานบันเทิงรวดเดียว 11 ราย  ต่อมาในนัดการชกมวยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563  ที่สนามมวยลุมพินี  พบผู้ติดเชื้อกว่า 30 ราย ถือได้ว่าเป็น"จุดเปลี่ยน"ทำให้การระบาดเช้อโควิด -19 ในประเทศไทย ดูน่ากลัว ยิ่งขึ้น เป็นสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดระยะที่  3  แบบหายใจรดต้นคอ ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 21มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า พบผู้ป่วยรายใหม่วันเดียว 89 ราย เป็นสถิติสูงสุด ทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด -19ในประเทศไทย ทะลุไปถึงหลัก 400 โดยมียอดรวม 411 ราย  


ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่พุ่งพรวดวันเดียวถึง 89 ราย ซึ่งเป็นสถิตืสูงสุดของการระบาด  ทั้งที่ไทยเสามารถยืนหยัดจำนวนผู้ติดเชื้อระดับต่ำกว่า 100 คน ได้ตลอดช่วงเกือบ 3เดิอนที่ผ่านมา    ส่งผลให้ในช่วงบ่ายวันที่ 21 มีนาคม  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศใช้อำนาจตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ประกาศปิดห้างสรรพสินค้่า เปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านอาหารซื้อได้เฉพาะเอากลับบ้าน ปิดตลาดนัด เปิดเฉพาะที่จำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ปิดร้านเสริมสวย ตัดผม ร้านสัก บริการเกือบทุกประเภท ทั้ง ลานสเก็ต  สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม ร้านเกม อินเตอร์เน็ต สนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำ สนามชนไก่ ศูนย์พระเครื่อง ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม จัดนิททรศการ สถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา ฟิตเนส สสนามมวย สนามกีฬา สนามม้า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม -12เมษายน 2563 


มาตรการของรัฐที่ปิดสถานบริการต่างๆ ถือว่าเป็นยาแรง ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองปิดกลายๆ ก็เพื่อหยุดยั้งการาระบาดของเชื้อโควิด-19  เนื่องจาก เชื่อว่า จะมีผู้ติดเชื้อแต่ละวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องเหตุการณ์ ในการชกมวยที่สนามมวยลุมพินี เมื่อวันที่  6 มีนาคม มีผู้เข้าไปในสนามหลายพันคน  ซึ่งนับสัปดาห์ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ป่าวประกาศ ให้คนกลุ่มนี้มาตรวจหาเชื้อ ล่าสุดพบว่ามีผู้มาตรวจแล้วประมาณ 100 รายเท่านั้น และยังพบอีกว่าผู้ติดเชื้อจากสนามมวย ได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนา ทำให้มีการแพร่ระบาดกระจายตัวออกไปยังจังหวัดต่างๆ  ซึ่งพบว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อจำนวน  30  จังหวัด 


การระบาดทะลุเกินหลักร้อย ต้นตอมาจากพฤติกรรม "การพบปะทางสังคม"ของคนบางกลุ่มที่ไม่ตระหนัก รับผิดชอบสังคม ไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้พยายามสื่อสารมาตลอด  รณรงค์ให้ประชาชน งดเว้นการทำกิจกรรมทางสังคม ที่มีคนชุมนุมกันมากๆ  และการระมัดระวังในการพบปะผู้อื่น ว่าควรทิ้งระยะห่าง 1-2เมตร หรือที่เรียกว่า Personal distancing การสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ข้างนอกบ้าน   


คำแนะนำได้ไล่ระดับความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ  ไปจนถึงการณรงค์ให้ทำงานที่บ้าน งดการเดินทาง   ที่สำคัญคือการงดพบปะสังสรรค์ทางสังคม  และให้ยึดหลัก  Social distancing หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม  การพยายามอธิบายถึงผลเสียของการชุมนุม  ว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้่อ  และจะก่อผลกระทบทำให้เกิดการแพร่ระบาดแผ่ขยายในวงกว้างทั้งประเทศ   เพราะการติดเชื้อนั้น จะเริ่มจากการกระจาย ไปที่คนรอบข้าง  ทั้งเพื่อน  เพื่อนร่วมงาน ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว และผู้อื่น  เพราะผู้ติดเชื้อบางรายไม่แสดงอาการ  ทำให้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้คนอื่นมีโอกาสสัมผัสและได้รับโรคจากผู้ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว

 


 Social distancing  หรือ"การเว้นระยะห่างทางสังคม" จะมีผลดีอย่างไร มาตรการเคร่งครัดของจีนโดยเฉพาะ การห้ามออกนอกบ้าน ห้ามมีกิจกรรมทางสังคม เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ  หลายวันที่ผ่านมา จีนสามารถหยุดการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้แล้ว  แม้ว่าจะเป็นระยะแรกที่สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ต้องเฝ้าระวังกันต่อไปแต่ก็เป็นแบบอย่าง ที่หลายประเทศ ควรนำไปปฎิบัติ  รวมทั้งประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ของการ เข้าสู่ระยะ 3  ก็ต้องนำหลักการ Social distancing   มาเป็นอาวุธต่อสู้ในสงครามเชื้อโควิด -19 ด้วยเช่นกัน

นพ.สมพงษ์ ชัยโอภานนท์ 

 


นพ.สมพงษ์ ชัยโอภานนท์   ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความรู้ว่า  คำว่า Social distancing   เริ่มเกิดขึ้นในช่วงปี1918  ที่เกิดการแพร่ระบาดไข้หวัดสเปนในยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีคนตายหลายสิบล้านคน ต่อมามีคำแนะนำว่า ผู้คนควรทิ้งระยะหว่างระหว่างกัน คำว่าSocial distancing   จึงเริ่มเกิดขึ้นมีการรณรงค์  งดเว้นการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน   พอผู้คนเริ่มไปปฎิบัติ  ก็ทำให้โรคไข้หวัดที่สเปนที่กำลังพุ่งสูงสุด  เริ่มซาลง และค่อย ๆหายไปในที่สุด ซึ่งสำหรับประเทศไทย เชื่อว่าหากคนในประเทศ เข้าใจ ยึดหลักการนี้ การเว้นระยะห่างในสังคม อยู่แต่ในบ้าน การปิดเมือง ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น  

นพ.รัฐพงษ์ บุรีวงศ์

 


ด้านนพ.รัฐพงษ์ บุรีวงศ์ รองผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค หรือหมอลอยด์ กล่าวว่า ถ้าออกมาตรการระดับรัฐ เช่นการปิดเมือง ก็เหมือนกับประเทศเราตัดเสื้อโหลให้ทุกคนใส่ ซึ่งใช่วาจะได้ผล ถ้าระดับบุคคลยังไม่ตระหนัก ใส่ใจ  ในเรื่อง Social distancing   ก็ไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ 

 

 


และแม้ว่าผู้แทนองค์การอนามัยโลก จะชื่นชมไทยว่า สามารถรับมือ กับโควิด -19  อย่างดีเยี่ยม  และยกย่องกระทรวงสาธารณสุขที่นำนโยบาย Social distancing   มาใช้กับประชาชน แต่คำชมขององค์การอนามัยโลก อาจจะสูญเปล่า ถ้าไม่มีการยกระดับการทำSocial distancing     ให้เป็นข้อปฎิบัติหลักของผู้คนทั้งประเทศ

@โมเดลSocial distancing   ของสถาปัตย์ จุฬาฯ    


การเว้นระยะทางสังคม เป็นอย่างไร ประเทศไทยทำได้หรือไม่  ล่าสุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วนร่วมในการพัฒนาโมเดล Social distancing    นี้ขึ้นมา และนำมาประยุกต์ใช้ภายในรั้วจามจุรี และเพิ่มลูกเล่นงานดีไซน์ พื้นที่ อาคาร  สภาพแวดล้อม ตามแนวคิด Social distancing ซึ่งเเกิดผลตอบรับดี ทั้งบุคลากรและคนภายนอกให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตาม Social distancing ยับยั้งการแพร่เชื้อโควิด

ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์  ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการบริหารระบบกายภาพ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ

ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการบริหารระบบกายภาพ อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  กล่าวว่า Social distancing เป็นแนวคิดหรือแนวปฏิบัติในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่บุคลากรทางการแพทย์ได้แนะนำให้ปฏิบัติในกรณีที่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน เช่น การพูดคุย และการสัมผัส ซึ่งสามารถทำได้โดยการจำกัดการรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่ต่างๆ การจำกัดการเข้าออกอาคาร การปิดอาคาร การงดกิจกรรมที่ต้องมาเจอกันในทุกรูปแบบ ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองได้เริ่มดำเนินการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นแบบออนไลน์ การปรับเลื่อนเวลาการทำงาน การลดการประชุมขนาดใหญ่ และอื่นๆ มาตั้งแต่ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา

          ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับจุฬาฯ ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีการเรียนการสอนแล้ว นิสิต 3-4 หมื่นคนเรียนออนไลน์ กลุ่มคนหายไปจากพื้นที่ประมาณร้อยละ 30  แต่ยังมีอาจารย์ที่จะต้องเข้ามาจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่มหาวิทยาลัย เนื่องจากมีความพร้อมของอุปกรณ์มากกว่าที่บ้าน รวมถึงบุคลากรที่มาปฏิบัติงานทางด้านธุรการและต้องทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของโครงการเล็กๆ ที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารระบบกายภาพ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด social distancing สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน 

กำหนดระยะห่างของการนั่งรับประทานอาหารในโรงอาหารส่วนกลางภายในจุฬาฯ

 

เช่น การกำหนดระยะในการเข้าแถวซื้ออาหาร การกำหนดตำแหน่งที่นั่งบนโต๊ะภายในโรงอาหารส่วนกลางของจุฬาฯ และการกำหนดตำแหน่งและทิศทางของการยืนภายในลิฟต์โดยสาร โดยอ้างอิงแนวทางการออกแบบจากเกณฑ์ที่แนะนำโดย World Health Organization (WHO) และ United States Center for Disease Control (US-CDC) ที่แนะนำให้เว้นระยะห่างประมาณ 1-2 เมตร (3-6 ฟุต) ระหว่างบุคคล ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บุคคลนั้นอาจจะมีอาการไอจามหรือไม่ก็ตาม จากการติดตามข่าวประจำวันที่อาจก่อให้เกิดความเครียด ก็เลยฉวยโอกาสในการสร้างรอยยิ้ม โดยการใส่ลูกเล่นให้กับลายสติ๊กเกอร์ที่แปะที่พื้นลิฟต์เป็นรูปรอยเท้าสัตว์ต่างๆ สลับกับรูปรอยรองเท้าแบบปกติ ในส่วนของโต๊ะอาหารในโรงอาหารรวมของจุฬาฯ ทั้ง7 แห่ง และจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ เกือบ 1,000 ตัว ด้วยระยะเวลา แรงงาน และวัสดุที่จำกัด เราตัดสินใจติดเทปกาวผ้าบนโต๊ะอาหารแบบง่ายๆ  โดยจัดให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลเวลานั่งประมาณ 1-1.5 เมตร และไม่ได้ทำสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม


  “ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า บุคลากรของจุฬาฯ รวมถึงบุคคลภายนอก ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ และพร้อมปฏิบัติตามแนว social distancing แบบอัตโนมัติ แม้ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ใดๆ ล่วงหน้า เช่น การเดินเข้าลิฟต์ ยืนประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้ และหันหน้าเข้าผนัง ส่วนของการนั่งบนโต๊ะอาหารก็มีการนั่งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ “  ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าว

เมื่อถามว่าการออกแบบอย่างไร จึงจะใช้งานได้จริง และดึงดูดให้คนเกิดความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ช่วยอธิการบดีคนเดิม กล่าวว่า คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่ได้มีคำตอบตายตัว แต่สำหรับบริบทของจุฬาฯ เอง ในฐานะผู้ปฏิบัติ เราย่อมต้องพยายามหาวิธีที่สามารถปฏิบัติให้ได้เร็วที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เกิดผลประโยชน์ให้มากที่สุด และดูแลรักษาง่ายที่สุด

การกำหนดตำแหน่งที่นั่งบนโต๊ะอาหาร มีระยะห่าง ลดการแพร่กระจายเชื้อ

“ ในตัวการออกแบบของ social distancing เอง ต้องคำนึงถึง การใช้งานที่ไม่ฝืนธรรมชาติของการเคลื่อนไหว ระยะต่างๆ ที่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังต้องเว้นระยะห่างเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค และประเด็นสุดท้ายเรื่องความสวยงามของการออกแบบ ในกรณีนี้คงจะเป็นประเด็นที่รองไปจากการต้องการสื่อสารเรื่องของการอยู่ห่างกันสักพักในรูปแบบสากล เรียบง่าย และไม่ต้องแปลความหมายเพิ่มเติม แต่การเพิ่มลูกเล่นในการออกแบบ นอกจากจะทำให้เกิดรอยยิ้มเล็กๆ ในช่วงเวลาเครียด น่าจะทำให้เกิดภาพจำ ช่วยส่งผลต่อการรับสารและนำไปปฏิบัติจริง “


                สำหรับประเด็นสำคัญที่สุดของการออกแบบในกรณีของ social distancing “  ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าวว่า น่าจะเป็นเรื่องการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของความเสี่ยง และนำไปสู่การปฏิบัติทางด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบอัตโนมัติ  ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในสถานการณ์การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในแบบปัจจุบัน

ลิฟต์โดยสารกำหนดตำแหน่งและทิศทางการยืน เพิ่มลูกเล่นเป็นลายรูปรอยเท้าสัตว์


                เมื่อถามถึงแนวคิดการออกแบบพื้นที่รักษาระยะห่าง จะนำมาใช้ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ติดเชื้อเฝ้าระวังเพื่อสังเกตุอาการได้หรือไม่ ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าวว่า กรณีที่มีกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่แสดงอาการ จำเป็นต้องกักตัวให้อยู่ในบ้านเป็นเวลา 14 วัน เราสามารถจัดการสภาพแวดล้อมที่ดี จัดห้องที่มีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี เปิดหน้าต่างให้แสงแดดส่องถึง มีการจัดการแยกขยะ โดยใช้ถุงดำสองชั้น  กรณีกลุ่มเสี่ยงออกนอกห้อง เพื่อทำกิจวัตรประจำวันในห้องครัวหรือห้องน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่รวม จะต้องสวมใส่หน้าหน้ากาก และรักษาระยะห่างกับคนอื่น อย่าเข้าใกล้คนอื่นมากเกินไป หรือเลือกไปในเวลาทำงานหรือเช้าตรู่แทน  social distancing  ยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโต้ตอบอย่างใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารต่างๆ ที่เหมาะสม จะลดโอกาสติดโรค ต้องตระหนักเสมอว่า เรามองไม่เห็นเชื้อโรค แต่เชื้อโรคร้ายนี้แพร่กระจายในอากาศและอยู่ตามพื้นผิวสัมผัส อยากให้ใช้ยาแรงไว้ก่อน ป้องกันไว้ดีกว่าแก้

จัดทำอินโฟกราฟฟิกการสื่อสารสร้างความเข้าใจการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันโควิด-19


                หน้าที่ของสถาบันการศึกษาต้องมีส่วนช่วยกู้วิกฤตประเทศ ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ มีสาขาย่อย สภาพแวดล้อมเพื่อการรักษาเยียวยา และสาขาออกแบบสถานพยาบาล ซึ่งเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน หลักการออกแบบพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยรวมกันจำนวนมาก ระยะเวลานาน จะส่งผลต่อความเครียด ในการออกแบบจึงแสงสว่างที่ดี ใช้สีสันลดความวิตกกังวล จัดให้แต่ละห้องมีวิวธรรมชาติที่มองแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งห้องของผู้ป่วยหรือพื้นที่รวม มีการกำหนดการระบายอากาศโยอ้างอิงแนวทางการออกแบบจากเกณฑ์ที่แนะนำโดย WHO ตลอดจนออกแบบตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย หัวใจคือการสร้างอากาศที่ดี เพราะเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กสามารถร่องรอยในอากาศได้เป็นวัน ถ้าออกแบบพื้นที่ปิด ไม่มีการคืนอากาศเกิดขึ้น  ถือว่าสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม ในฐานะจุฬาฯ เป็นเสาหลักของแผ่นดิน พร้อมจะใช้ปัญญาร่วมแก้ปัญหาของสังคมในทุกมิติ

 

 

นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์  ผู้แทนอนามัยโลกประจำประเทศไทย กับนายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุขทำสัญลักษณ์ Social Distancing

 หลังจากชืนชมไทยที่นำนโยบายนี้มารณรงค์กับประชาชน
 

 

 

 

 

 

ฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัล ทำโลโกใหม่  ตัว "M "แยกออกจากกัีน สื่อความหมายช่วงเวลานี้ ผู้คนควรต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน
--------------------------------

 

 

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"