ทรัพยากรทางธรรมชาติแม้ใครหลายคนจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้แล้วยังไม่หมดไปง่ายๆ แต่ไม่ใช่ไม่มีวันหมดไปเลย แถมทุกครั้งที่เราใช้นั้น นอกจากจะเริ่มหมดแล้วบางครั้งยังไปเบียดเบียนการใช้ชีวิตของสัตว์ที่อยู่ในธรรมชาติอีกด้วย แม้ที่ผ่านมาจะมีหลายครั้งที่มีการช่วยเหลือและเยียวยาทางธรรมชาติไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะป่า เขา ในแม่น้ำลำคลอง รวมถึงในทะเลก็ตาม แต่ก็เชื่อว่ายังไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด เนื่องจากการฟื้นฟูนั้นต้องมากกว่าการใช้ไปอย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ ที่จะทำให้มนุษย์เรานั้นสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติไปได้เรื่อย ๆ เพราะทุกอย่างพึ่งพาอาศัยกันมาโดยตลอด ทั้งนี้ธรรมชาติที่พูดถึงนั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว อาจจะรวมถึงสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่กำลังพูดว่าจะถูกเบียดเบียนไปด้วย เพราะนั่นก็รวมอยู่ในทรัพยากรเช่นเดียวกัน และการทำให้เกิดการคงอยู่ต่อไปนั้นก็จะเป็นผลดีให้กับคนเราอีกด้วย ถ้าพูดถึงในด้านการเป็นอาหาร หรือการสร้างรายได้
โดยสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติและมีความสำคัญทั้งในด้านของอาหาร และการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนนั้นคือปู ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และด้วยเหตุผลนี้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จึงจัดทำโครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูขึ้น โดยศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูม้าปากน้ำแพรกเมือง จะเป็นศูนย์ที่ 4 ที่ ปตท.สผ.ร่วมจัดตั้งขึ้น
ซึ่งจากผลงานของศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูที่ได้เปิดไปแล้วทั้ง 3 ศูนย์ในจังหวัดสงขลาและปัตตานี สามารถปล่อยลูกปูม้าคืนสู่ทะเลได้ปีละกว่า 1,600 ล้านตัว และทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 60,000 บาทต่อปี ซึ่ง ปตท.สผ.รู้สึกยินดีที่มีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตและความแข็งแกร่งให้กับชุมชนตามแนวทางของบริษัท
นอกจากการเพาะฟักลูกปูแล้ว ปตท.สผ.ยังสนับสนุนให้ศูนย์เครือข่ายฯ ขยายผลไปสู่การเพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ด้วย รวมทั้งมีแผนจะขยายศูนย์เครือข่ายฯ เพิ่มอีก 3 แห่งในปี 2563 นี้ และตั้งเป้าหมายจะขยายศูนย์ฯ เข้าไปใน 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย ภายในปี 2567
วุฒิพล ท้วมภูมิงาม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ความสำเร็จในการขยายศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูม้าปากน้ำแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอนุรักษ์ปูม้าชายฝั่งปากน้ำแพรกเมือง สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 และชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเห็นความสำคัญและมีแนวทางร่วมกันในการเพิ่มประชากรปูและสัตว์น้ำอื่นๆ คืนสู่ธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาอาชีพประมงพื้นบ้านให้มีความยั่งยืน
โดยศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปู เป็นโครงการที่ ปตท.สผ.จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2556 โดยร่วมมือกับกลุ่ม ป.ทรัพย์อนันต์ สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันทรัพยากรชายฝั่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย ตั้งศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการเพาะฟักลูกปู สามารถสร้างเครือข่ายฯ และขยายผลจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างๆ
ท้องทะเลในพื้นที่อ่าวไทยเปรียบเสมือนพื้นที่ทำมาหากินของชาวประมงทุกคน ทุกวันนี้ทรัพยากรมีน้อยลง แต่เครื่องมือประมงมีจำนวนมาก ไม่สมดุลกัน จึงต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรในจุดนี้ เพื่อให้ลูกหลานสามารถทำอาชีพประมงได้ต่อไป อาชีพก็จะมั่นคง ครอบครัวมีความสุข อยู่กันไปได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอย่างยั่งยืน และหวังผลเพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการในอนาคตต่อไป.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |