ภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับ "นักพยากรณ์เศรษฐกิจ" ของบ้านเรา (หรือบ้านไหนก็ตาม) คือการไม่รู้ว่า "พรุ่งนี้จะเกิดอะไรที่คาดไม่ถึงอีกหรือไม่"
เพียงแค่ปัจจัยที่คาดการณ์ได้ เช่น นโยบายการค้า การเมืองของแต่ละประเทศ, ราคาน้ำมัน และลมฟ้าอากาศก็ประเมินยากอยู่แล้ว
แต่ในช่วงหลังมีประเด็นที่อยู่ "นอกเหนือความคาดหมาย" และ "เกินกว่าจะอธิบายด้วยตรรกะเดิม ๆ" เข้ามาสร้างความโกลาหลให้ศาสตร์แห่งการพยากรณ์อย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้น
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ว่าทำนายผลต่อเศรษฐกิจโลกยากแล้ว พอเกิดโรคระบาด Covid-19 ขึ้นมาเท่านั้น ทุกคนก็หงายหลังกันหมด
สำหรับไทยเรามีปัจจัยเรื่องภัยแล้ง, ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ, PM2.5 และพระราชบัญญัติงบประมาณที่ล่าช้าเป็นตัวถ่วงที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์อยู่แล้ว
พอเจอกับวิกฤติ "เหนือเมฆ" ที่คาดไม่ถึงก็ยิ่งมีอันต้องวิ่งหาสูตรคิดคำนวณกันจ้าละหวั่นกันเลยทีเดียว
บทวิเคราะห์ทำนายอัตราโตทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้จากหลายๆ สำนักจึงต้องมีการทบทวนกันเกือบทุกสัปดาห์ในช่วงที่ผ่านมา
ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ปรับประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงอีกครั้งจาก 1.4% เป็นติดลบ 0.4%
เหตุเพราะ Covid-19 กลายเป็น "อาคันตุกะที่ไม่ได้รับเชิญ" มาถล่มโจมตีอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว
ในบทวิเคราะห์ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2563 บล.ภัทรประเมินว่า ใน "กรณีฐาน" มาตรการกักกันและการสกัดการระบาดจะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจหลัก ในไตรมาสสองและไตรมาสสามของปีนี้
ผลกระทบต่อไทยนั้นจะรุนแรง เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างมาก
ประเด็นหลักที่มีผลต่อการประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่การท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วน 12% ในจีดีพีของประเทศในปี 2019
บล.ภัทรคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะลดลง 50% ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีนี้ ก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในครึ่งหลังของปี
บทวิเคราะห์นี้บอกว่าตลอดทั้งปี จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะลดลง 25% ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวอื่นจะยังไม่เติบโตนักจากความท้าทายที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอาจจะให้เป็นบวกเล็กน้อยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
สำนักนี้วิเคราะห์ว่าการท่องเที่ยวจะยังคงย่ำแย่ในไตรมาสสอง ดังนั้นการคาดการณ์ในกรณีฐานจึงประเมินว่า เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ
"ถดถอยทางเทคนิค"
นั่นหมายถึงการหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน
อีกทั้งคาดการณ์ฟื้นตัวจะอยู่ในรูปตัวยูหรือ U Shape ไม่ใช่ V Shape อย่างที่บางสำนักในต่างประเทศวาดไว้สำหรับประเทศอื่น
"กิจกรรมทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ กลับสู่ภาวะปกติในครึ่งหลังของปี" รายงานว่าอย่างนั้น
ผมเห็นว่านี่น่าจะเป็นการมองโลกในแง่ค่อนข้างดีด้วยซ้ำไป เพราะแนวโน้มการทำสงครามกับ Covid-19 ในยุโรปและสหรัฐฯ เพิ่งจะเริ่มต้น ยังเห็นภาพไม่ชัดว่าจะสามารถกำราบศัตรูตัวนี้ลงอย่างราบคาบได้ในไตรมาสสองหรือไตรมาสสามหรือไม่
บทวิเคราะห็นี้บอกด้วยว่า จากเศรษฐกิจที่ตกต่ำและจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดดอกเบี้ยลงที่ระดับ 0%
"จะมีแรงกดดันต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ลงไปที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 25 มีนาคม 2563 หลังจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ หนึ่งสัปดาห์"
ในความเห็นของสำนักนี้ การใช้มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแบบเฉพาะกลุ่มและการเสริมสภาพคล่อง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสภาพคล่องที่อาจนำไปสู่ปัญหาการล้มละลายมีความสำคัญ
นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีมาตรการทางการคลังแบบตรงเป้าหมายมากขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจ
นี่คือภาพกว้างๆ ที่มองจากมุมของนักวิเคราะห์ที่มีตัวเลขชัดเจนชุดหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถจะประเมินผลกระทบจาก "ปัจจัยไม่แน่นอน" อีกหลายด้าน ท่ามกลางความปั่นป่วนที่กำลังเขย่าดุลแห่งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโลกอย่างชนิดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน
คำว่า Globalization, Regionalism, Localisation และ New Normal กำลังจะได้รับคำนิยามใหม่
ที่อาจจะไม่ได้กำหนดโดยมหาอำนาจแต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป
เพราะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ได้ตลอดเวลากำลังส่งสัญญาณว่า โลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในระดับที่หนักหน่วงรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปราฏมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |