18 มี.ค.63-นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เปิดเผยภายหลังติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการสถานีกลางบางซื่อ ปัจจุบันภาพรวมโครงการมีความคืบหน้า98%และในเดือนมิถุนายน ตามแผนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มทดสอบระบบได้ในเดือนตุลาคม พร้อมเปิดให้บริการต้นปี 2564 โดยจะเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เป็นสายแรก ซึ่งตอนนี้ขบวนรถ ญี่ปุ่นได้ส่งมอบแล้ว 24 ตู้ และครบ 130 ตู้ภายในปีหน้่า ซึ่งล่าช้ากว่าแผนจากเหตุภัยพิบัติ
นอกจากนี้ได้มีการประเมินการให้บริการของรถไฟชทางไกลชั้น 2 ที่ใช้ดีเซลรุ่นเก่าอาจจะเกิดมลพิษภายในสถานี จึงเตรียมเสนอคณะกรรมการ รฟท.ขออนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อสร้างสถานีชั่วคราว บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อที่อยู่ติดกับสถานีกลาง เพื่อลดผลกระทบจนกว่าจะมีการซื้อรถไฟใหม่ที่ใช้ได้ 2 ระบบ ได้แก่ไฟฟ้า และดีเซล เพราะตามแผนต้องมีการทยอยย้ายการให้บริการจากหัวลำโพงมาสถานีกลางบางซื่อถึง 130 เส้นทาง ตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งล่าสุด ร.ฟ.ท. มีแผนจัดซื้อรถไฟ 2 ระบบ จำนวน 184 ตู้ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. พิจารณาแล้ว
นอกจากนี้เตรียมเสนอแนวทางการจ้างเอกชนเข้าบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีซึ่งมีสองแนวทาง คือ การบริหารสถานีหลัก 3 สถานีคือบางซื่อ,รังสิต,ดอนเมือง และอีกแนวทางคือบริหารสีแดงทั้ง 16 สถานี โดยโจทย์คือต้องดึงดูดให้เอกชนเข้ามาประมูล เพราะมีหลายงานที่ต้องเข้ามาดำเนินการ อาทิ การบริหารพื้นที่การทำร้านค้าเชิงพาณิชย์ การทำความสะอาดการดูแลรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
นายวรวุฒิ กล่าวว่าได้เตรียมพร้อมการประมูลส่วนต่อขยายสายสายสีแดง3 ช่วง ได้แก่ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ , ตลิ่งชัน-ศิริราช , ตลิ่งชัน-ศาลายา ในเดือนมิถุนายนและเงินคาดว่าจะได้เอกชนมาดำเนินการภายในปลายปีนี้ ในส่วนของวงเงินรวมทั้ง 3 ช่วง มูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ชั้น 1 เป็นพื้นที่ขายตั๋ว ชั่น 2 จะให้บริการ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟทางไกล ชั้น 3 ให้บริการรถไฟความเร็วสูง และแอร์พอร์ตลิงค์คาดการณ์ในปีแรก จำนวน 208,000 คน-เที่ยว/วัน เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ
นายวรวุฒิ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการทั้ง3 สัญญา ประกอบด้วยสัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง มีความคืบหน้าคิดเป็น 98.62 % ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ
และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ จาก กม.6+000 ถึง กม.12+201.700 ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ย่านจอดรถไฟ และอาคารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมการเดินรถ ตลอดจนถนน สะพานยกระดับเข้า-ออกสถานี และระบบระบายน้ำ
สัญญาที่ 2 เป็นงานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้าเสร็จแล้ว 100%ประกอบด้วย สถานี 8 สถานี ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ สำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความคืบหน้า 73.53%
สำหรับความคืบหน้าบริษัทเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยจะขออนุมัติเงินกู้ 3,000 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทฯ และจัดสรรบุคลากร ในช่วงแรก 773 อัตรา โดยมาจากการโอนย้ายพนักงานจาก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่มีอยู่ประมาณ 400 คน,พนักงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ส่วนทางเลือกในการบริหารสถานี รฟท. มีแนวทางเลือกอยู่หลากหลายแนวทาง เช่น รฟท. ดำเนินการบริหารงานสถานีด้วยตนเองทั้งหมด จัดตั้งบริษัทลูกให้ดำเนินการแทน เชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน จัดจ้างเอกชนเข้ามาบริหาร หรือให้สิทธิ์เอกชนเป็นผู้ดำเนินการและจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกที่สอดคล้องและเหมาะสมที่สุด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |