18 มี.ค.2563 - พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร. ได้แถลงถึงมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ว่า ภายหลังจากรับทราบมติ ครม. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้มีวิทยุสั่งการโดยเร่งด่วนให้หน่วยงานทุกหน่วยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและข้าราชการตำรวจทุกนาย ดำเนินการอย่างเต็มกำลังความสามารถในการสนับสนุนและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยได้กำหนดเป็นมาตรการ 6 ด้าน ดังนี้
1.ด้านสาธารณสุข การป้องกันสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย มอบหมายให้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รับผิดชอบการดำเนินการต่อคนเข้าเมือง โดยเฉพาะบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติ ด่าน ตม.ชายแดน จุดผ่านแดนทุกแห่งทั่วประเทศ และเมื่อได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศแล้ว ให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค -9 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันรับผิดชอบตรวจสอบติดตามการอยู่ในประเทศให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต กรณีพบว่ามีลักษณะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการโดยด่วน
2.ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน มอบหมายให้ โรงพยาบาลตำรวจ รับผิดชอบสำรวจเวชภัณฑ์ป้องกันที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ทุกประเภท โดยเฉพาะการตรวจ ป้องกัน รักษาข้าราชการตำรวจ ครอบครัว และประชาชนที่มาเข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลตำรวจ และ โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด รวมทั้งเตรียมการเพื่อรองรับภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมตามแผนในระยะต่อไป
3.ด้านข้อมูล การชี้แจงและการร้องเรียน มอบหมายให้ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบเฝ้าฟังและติดตามการชี้แจงข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล (กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์ข้อมูลโควิด – 19) แล้วแจ้งศูนย์ข้อมูลทุกแห่งทราบเป็นแนวทางในการตอบคำถามผ่านโทรศัพท์สายด่วน โดยเฉพาะศูนย์ 191 ทั่วประเทศ และเมื่อศูนย์ 191 ได้รับแจ้งข้อมูลเบาะแสสำคัญที่จะต้องดำเนินการต่อ ให้แจ้ง ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1599 เพื่อรายงานศูนย์ข้อมูลโควิด – 19 โดยเร็วที่สุด
4.ด้านมาตรการป้องกัน มอบหมายให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1 – 9 รับผิดชอบสนับสนุนการตรวจตราการปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น เช่น สถานบริการ สถานประกอบการ ที่เปิดให้บริการในลักษณะสถานบริการ สถานประกอบกิจการ อาบ อบ นวด โรงภาพยนตร์ สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า และการประกาศงดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากในทุกกรณี ทั้งนี้เป็นไปตามที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศกำหนด ตามนัยแห่ง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 สำหรับการตรวจตรา เฝ้าระวังตามมาตรการป้องกันสำหรับพื้นที่/สถานที่ที่ยังต้องเปิดให้บริการ ให้ประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผน เตรียมความพร้อมให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับคำสั่งหรือได้รับการร้องขอ โดย ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 – 9 และ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกแห่ง ต้องกำหนดผู้ติดต่อประสานงานโดยตรง กับกรุงเทพมหานคร และ จังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบแนวทางเพิ่มกลไกการกำกับดูแลในระดับพื้นที่ตามมติ ครม. แล้วแต่กรณี
5.ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา มอบหมายให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1-9 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รับผิดชอบเพิ่มความเข้มงวดในการสืบสวนจับกุมการปล่อยเงินกู้นอกระบบ และการดำเนินการตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการควบคุมสินค้าและบริการ รวมทั้งเร่งรัดป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท ที่ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ การโจรกรรมทรัพย์สินในเคหะสถาน ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์
6.ด้านอื่น ๆ เพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากการรับเชื้อ ประกอบด้วย 6.1ปฏิบัติตามมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ให้งดการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตรายและพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการแพร่เชื้อแต่ยังต้องเปิดให้บริการอยู่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ ร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งขนส่งสาธารณะทุกประเภท หากจำเป็นต้องเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเคร่งครัด
6.2ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องจัดให้มีการตรวจคัดกรอง ด้วยการวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร/สถานที่ทำการ หรือการคัดกรองด้วยวิธีการหรือเครื่องมืออื่นที่เหมาะสม สำหรับกำลังพล ที่ปฏิบัติงานสัมผัสกับประชาชน ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ/ใช้เจล/แอลกอฮอล์ล้างมือ สวมถุงมือยางขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการตรวจค้น สัมผัสกับบุคคล เอกสาร ยานพาหนะ ทรัพย์สินหรือสิ่งของ/ของกลางในคดี โดยประสานกับ โรงพยาบาลตำรวจ หรือ โรงพยาบาลในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
และ 6.3 ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาแนวทางการเหลื่อมเวลาทำงาน เหลื่อมเวลาพักรับประทานอาหาร จัดที่นั่งรับประทานอาหารให้ห่างกันในระยะปลอดภัย ตลอดจนพิจารณางานที่เหมาะสมและสามารถมอบหมายให้ทำที่บ้านแทนได้ แต่จะต้องคำนึงถึงชั้นความลับ/ความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ และต้องไม่เกิดความเสียหายโดยเด็ดขาด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |