เปิดเวทีเสวนา “เติมเต็มวันว่างอย่างสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญของใครกันแน่?” โดย ทิชา ณ นคร (ป้ามล) ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษกฯ, อรอนงค์ เจริญลาภนำชัย (แม่ปุ้ม) จากเพจพาลูกเที่ยวดะ, นิลชา เฟื่องฟูเกียรติ หรือครูเบิร์ด จากเพจเบิร์ดคิดแจ่ม Bird Kid Jam, ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ประธานสภาเด็กและเยาวชน เขตบางกะปิ ดำเนินรายการโดย อาร์ม พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์
ทิชา ณ นคร หรือป้ามล เปิดประเด็นว่า วันว่างฆ่าเด็กได้ ในฐานะที่อยู่กับเยาวชนคนปลายน้ำ เรามีเยาวชนที่อยู่ต้นน้ำ บ้าน รร. กระบวนการในสังคม เยาวชนหลุดจากต้นน้ำไปอยู่ปลายน้ำ ก่อคดีอาชญากรรม เด็กจำนวน 110 คนมาด้วยคดีฆ่าคน เยาวชนที่อยู่ในบ้านกาญจนาฯ บอกเล่าเรื่องราวที่วนเวียนอยู่ในสังคม พ่อแม่ รัฐบาล ไม่มีใครตั้งใจจะให้เด็กถูกจับเข้ามาอยู่ในสถานควบคุม แต่เมื่อศาลพิพากษา 60% เด็กมีประวัติถูกให้ออกจากระบบ รร.กลางคัน เด็กหลายคนออกจาก รร.ชั้น ม.2 ม.3 เด็กไม่มีที่ไป กลายเป็นผู้แพ้ไม่ได้รับการยอมรับ การที่เด็กมีเวลาว่างมากอย่างที่เรียกว่าว่าง 24 ชั่วโมงนำไปสู่เส้นทางอาชญากรรมได้ง่ายขึ้น เด็ก Nobody’s child เป็นปัจจัยไล่ล่าสู่อาชญากรรม
“พ่อแม่จำนวน 22.8 ล้านครอบครัว พบว่าไม่ใช่ทุกครอบครัวจะรับมือกับเวลา 120-130 วันในช่วงปิดเทอม มีพ่อแม่กลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่มีเงินพาลูกไปซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ค่ายพักแรมให้ลูกศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ในช่วงปิดเทอมเพื่อสร้างพลังให้เด็ก พ่อแม่กลุ่มหนึ่งยังต้องทำงานหนัก แม่รับเสื้อผ้าจากเถ้าแก่กลับมาทำงานตัดเย็บเพื่อหารายได้เข้าบ้าน ให้ลูกวันละ 50 บาทออกไปเล่นเกม เป็นสิ่งหรูที่สุดที่เขาจะทำได้ เด็กได้เงิน 50 บาท จมอยู่กับร้านเกมช่วงปิดเทอมอย่างยาวนาน ดังนั้น รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องช่วยกันทำให้ปิดเทอมมีความหมาย รร.ครูเล็กเป็นดอกไม้เล็กๆ ทำลานสเกตที่หัวหิน ให้เด็กเข้ามาเล่นสก็ตได้โดยไม่ต้องเสียสตางค์ หลายประเทศพร้อมลงทุนสร้างสนามเด็กเล่นเพื่อเด็ก การที่ปล่อยให้เด็กอยู่ว่างแล้วไปก่ออาชญากรรม เงินค่าเยียวยาสูงมาก กว่าจะทำให้เด็กกลับมาสะอาดหมดจดได้ดังเดิม เราต้องเลือกสิ่งดีๆ ให้กับเด็กด้วย”
ทิชากล่าวว่า ใน รร.บ้านกาญจนาฯ ส่งเสริมให้เด็กเขียนไดอารีบันทึกก่อนนอน บางครอบครัวเด็กเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ผลักไสไล่ส่งให้เด็กก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน บ้านเงียบ ไม่มีเสียงพูดคุยกัน ต่างคนต่างอยู่กับเทคโนโลยี จนวันหนึ่งอยากจะพูดกับแม่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพูดอย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ
พ่อแม่ต้องลงมือสร้างอนาคตให้กับลูกไม่ต้องรอภาครัฐ เรามีพ่อแม่จำนวนมหาศาลเป็นล้านๆ ช่วยกันออกแบบเชิงระบบทุกหย่อมหญ้าให้เข้าถึงบริการในการดูแลตัวเอง เป็นดอกไม้ดอกเล็กๆ กระจายทั่วแผ่นดิน วันหยุดในช่วงปิดเทอม 120-130 วัน รัฐควรสนับสนุนให้เด็กมีคูปองฟรีเพื่อช็อปปิ้งเลือกทำในสิ่งที่เขาสนใจ เด็กบางคนชอบเล่นสเกต กีฬาที่ท้าทายก็ให้เด็กเก่ง รัฐใช้เงินสร้างคุก ทำไมเราไม่สนับสนุนเด็กในช่วงต้นน้ำอย่างเต็มที่ แทนที่จะมาเก็บตกเด็กปลายน้ำที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เราทำให้เด็กเป็นขวัญของสังคม
อรอนงค์ เจริญลาภนำชัย (แม่ปุ้ม) จากเพจพาลูกเที่ยวดะ เล่าว่า การพาลูกออกไปเที่ยวข้างนอกเป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ สถานที่ต่างๆ ได้เรียนรู้ พบหน้าคนแปลกใหม่ เพื่อนำมาหยิบใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างอนาคตได้ ในโลกนี้มีสิ่งเร้าจากโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เด็กรู้ว่าเปิดแล้วมีอะไรให้ดู เด็กเมื่ออยู่บ้านก็เรียกร้องที่จะได้สิ่งเหล่านี้ ดังนั้นพ่อแม่ต้องหาทางออกให้เด็กออกไปนอกบ้าน ไปสวนสาธารณะ เพื่อจะโฟกัสสิ่งรอบตัว สอนเขาให้เผชิญชีวิตเผชิญโลกเมื่อเติบโตขึ้นมา
นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ หรือครูเบิร์ด จากเพจเบิร์ดคิดแจ่ม Bird Kid Jam กล่าวว่า ในช่วงเด็ก 3 ปีแรกนั้น พ่อแม่มีตัวตนสำหรับเด็ก รร.ต่างจังหวัดครูพาลูกไปทำงาน บรรดาลูกครูก็อยู่ด้วยกัน มีการจำลองการเล่นเกม การที่พ่อแม่ให้ความใส่ใจลูก ให้ความรัก ความอบอุ่น อาหารปลอดภัย เล่านิทานให้ลูกฟัง ส่งผลต่อลูกเมื่อเติบโตขึ้นมา
ในห้องนี้คงรู้จักหมู่บ้านเด็กของแม่แอ๊ว หลายคนอยากให้เด็กได้เติบโตที่หมู่บ้านเด็ก ถ้าเราศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับครูในเมืองไทย ประสบปัญหาครอบครัว หนี้สิน มีความเครียด แต่เราก็ยังมีครูดีๆ ซ่อนตัวอยู่ เพราะครูเห็นคุณค่าของเด็กจึงให้การสนับสนุน
ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกะปิ วัย 14 ปี ด้วยไอเดียที่จะให้เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสามารถพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองเซ็นรับรอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา บางครั้งเด็กซึมเศร้าเพราะพ่อแม่เป็นเหตุ เด็กไม่สามารถบอกพ่อแม่ได้ แต่อยากจะบอกกับจิตแพทย์ พ่อแม่บางคนก็ไม่กล้าพาลูกมาพบจิตแพทย์
“แม่ญาอยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ แม่ลาออกมาเลี้ยงลูก แม่ติดกาวสองหน้าให้อ่านภาษาอังกฤษทุกวัน เราได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ พ่อแม่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดทำให้เกิดความมั่นใจ”
เด็กทุกคนอยากเล่น พ่อแม่เล่านิทานให้ฟังจนถึงอายุ 8-10 ขวบ เมื่อถึงวัยนี้พ่อแม่ไม่อยากอ่านให้ฟังแล้ว ให้ลูกอ่านนิทานเอง แต่มีกิจกรรมทำร่วมกัน เป็นเวลาว่างที่มีประโยชน์ เมื่อ รร.เลิกก็มีเวลาเล่นหลังเลิกเรียนแล้ว แต่บางครั้งก็ไม่ได้มีเวลาเล่น เด็กทุกคนชอบที่จะเล่น การทำกิจกรรมเป็นการสอนให้เราพูดคุยกับคนอื่นเป็น เด็กก็คือเด็ก แต่เด็กก็คิดเป็น “ญาขอเข้าพบอธิบดีกรมสุขภาพจิต อยากให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีพบจิตแพทย์ได้ด้วยตัวเอง เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เด็กสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ปิดเทอมไม่ใช่เป็นวันว่างธรรมดา แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงได้”
พ่อแม่บางคนไม่พร้อมทั้งวัยที่ท้องก่อนวัยเรียน อีกทั้งยังมีความพร้อมทางด้านการเงิน สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อปัญหาเด็ก เรื่องอย่างนี้ก็ต้องให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อพ่อแม่จะได้มีความพร้อมสำหรับอนาคต การที่เด็กในสลัมคลองเตยอยู่ในบรรยากาศที่เด็กขโมยของ เมื่อจับเข่าคุยกันแล้ว เขาสารภาพว่าไม่อยากอยู่ในบรรยากาศเช่นนั้น แต่เห็นพ่อแม่ประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น
“อยากให้พ่อแม่รับฟังเสียงของเด็ก ใช้วันว่างให้เป็นวันอัศจรรย์ที่น่าจดจำ” ปราชญายืนยันว่าเด็กทุกคนล้วนอยากมีตัวตน มีการทำกิจกรรม แต่ไม่จำเป็นต้องสอบเพชรมงกุฎได้ที่ 1 แต่เปิดโอกาสให้เขาได้ใช้พลังที่อยากจะใช้ เด็กบางคนควงปากกาตลอดชาติ ถูกพ่อแม่ต่อว่าต่อขานเด็กเรียนหนังสือได้เกรด 1.0 ปรากฏว่าเด็กคนนี้มาจาก รร.สตรีวิทยา 2 ควงปากกาชิงแชมป์โลก ทิชาให้ข้อคิดเพิ่มเติมด้วยว่า เพราะครูเห็นเด็กควงปากกาก็สนับสนุนให้ทำในสิ่งที่ชอบ ให้เข้าไปแข่งขันสู่ระดับโลก เรื่องนี้ต้องมีผู้ใหญ่ใจกว้างให้การสนับสนุนด้วย
ทิชาให้ข้อคิดอีกว่า “เด็กอายุ 16 ปีรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า วันหนึ่งตัดสินใจปล้นร้านสะดวกซื้อ คืนเดียว 16 จุด ระหว่างการปล้นก็เห็นหน้าตาของตัวเองในโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อน 5-7 คนยกย่องว่าเขาเป็นคนเก่ง ได้รับฉายานามว่า 16 ปล้น ทำให้มีตัวตนขึ้นมาได้ เขารู้ว่าเขาได้คุณค่าแล้ว เด็กคนนี้มีโอกาสที่จะถูกไล่ออกจาก รร. ไม่ได้มีโอกาสเจอครูที่จะสนับสนุนเขาเดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |