การสอบเข้าเรียนต่อ


เพิ่มเพื่อน    


    ช่วงนี้เป็นฤดูการสอบเข้าเรียนต่อในทุกระดับชั้น และแน่นอนคนที่เป็นเดือดเป็นร้อนในเรื่องนี้มากที่สุดก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนบ้านชาวต่างชาติมาปรึกษาเรื่องหาโรงเรียนอนุบาลให้ลูกชาย เธอเล่าว่า เธอไปดูโรงเรียนอินเตอร์แห่งหนึ่งมา โรงเรียนนี้ไม่ถูก...คือแพง แต่ที่เธอมีคำถามคือ ทำไมโรงเรียนนี้ (และโรงเรียนอื่นๆ ในเมืองไทย) เยอะ คำถามของเธอทำให้ผู้เขียนงงและตอบไม่ถูก เธออธิบายว่าทางโรงเรียนบอกว่าตอนนี้ห้องเรียนอนุบาลเต็มแล้ว แต่ถึงยังไม่เต็มทางโรงเรียนก็ไม่สามารถรับลูกชายของเธอเข้าเรียนได้ทันที เพราะเด็กอนุบาลทุกคนต้องผ่านการสอบภาษาไทยและภาษาอังกฤษก่อน เธองงกับคำอธิบายของโรงเรียน เพราะเธอไม่เข้าใจว่าเด็ก 3-4 ขวบ จะสอบเข้าอนุบาลได้อย่างไร ในเมื่อเด็กยังไม่ได้เรียนด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้นลูกของเพื่อนเธอไปสอบเข้า ป.1 ณ โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเด็กน้อยต้องไปสอบ 3 วิชา คณิต จีน อังกฤษ อีกครั้งที่เธอไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เด็กอายุแค่ 6-7 ขวบ จะเอาอะไรไปสอบ ผู้เขียนก็ได้แต่ยิ้มและบอกว่าเป็นเรื่องปกติของโรงเรียนในไทย แต่สำหรับเธอแล้วนั้น นี่เป็นเรื่องผิดปกติมาก เนื่องจากเป็นการคุยกันข้างถนน ผู้เขียนจึงไม่อยากอธิบายยาว จึงแนะนำโรงเรียนเล็กๆ แถวบ้านตามสเปกของเพื่อนบ้านให้ 2 โรงเรียน เป็นทางเลือก
    ประเด็นอยู่ที่ตรงนี้ เราประชาชนชาวสยามประเทศได้พยายามทั้งบ่นและด่าระบบการศึกษาไทยมาตั้งแต่ผู้เขียนจำความได้ แต่ระบบการศึกษาไทยก็ไม่ได้ดีขึ้นในระดับที่เป็นที่พอใจ เด็กน้อยชาวสยามและตอนนี้เด็กน้อยชาวต่างชาติในสยามประเทศก็ยังต้องแข่งขันกันอย่างสูงที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนที่ “ดี” ซึ่งความหมายของคำว่า "ดี” ก็ขึ้นอยู่กับการตีความ บางครั้งถ้าเราตีความว่า โรงเรียนเล็กๆ ไม่ดังก็เป็นโรงเรียนที่ดี เพราะโรงเรียนสามารถให้ความสนใจกับเด็กได้มากกว่า ครูมีเวลาให้กับเด็กมากกว่าโรงเรียนดังๆ ใหญ่ๆ ถ้าลองพิจารณาตามความหมายนี้.....
    ครูในโรงเรียนเล็กๆ แถวบ้านสามารถจำหน้าจำชื่อนักเรียนได้ รู้จักนิสัยใจคอของนักเรียน มีเวลาสอนเรื่องการใช้ชีวิต และมารยาททางสังคม โดยเฉพาะในระดับอนุบาลและประถมต้น นอกจากนั้นโรงเรียนเล็กๆ ที่อาจจะไม่โด่งดังมากเหล่านี้ให้ความสนใจและพร้อมที่จะต้อนรับเยาวชนที่สนใจที่จะเข้ามาสมัครเป็นนักเรียน อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการแข่งขันสอบเข้า ม.1 ในแต่ครั้งที่มีการสอบ โรงเรียนดังๆ ท็อปๆ มีนักเรียนไปสอบหลักหลายๆ พัน การแข่งขันคือ 1:10 บ้าง 1:20 บ้าง หรือมากกว่า แค่การขายใบสมัครก็เป็นการสร้างรายได้เข้าโรงเรียนเป็นกอบเป็นกำ บางโรงเรียนผู้สมัครมีจำนวนมากจนต้องไปใช้พื้นที่จัดงานแสดงสินค้า ทำให้เกิดการจราจรติดขัดประหนึ่งมีงานมอเตอร์โชว์ 
    ในวันเดียวกัน โรงเรียนอื่นๆ ก็มีการสอบเช่นเดียวกัน แต่ในสเกลที่เล็กกว่า การแข่งขันอยู่ที่  1:2 หรือ 1:3 สิ่งที่อยากจะบอกคือ โรงเรียนที่มีการสอบ 1:2 หรือ 1:3 ก็เป็นโรงเรียนที่ดีเช่นกัน และโรงเรียนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะต้อนรับนักเรียนเข้าเรียน และถ้าผู้บริหารการศึกษาของไทยมีความเมตตาต่ออนาคตของชาติและมีความสามารถในการบริหารที่ดี ไม่เอาเงินสนับสนุนการศึกษาไปทุ่มอยู่ที่โรงเรียนตัวท็อปไม่กี่โรงใน กทม.และจังหวัดใหญ่ๆ โรงเรียนรัฐโรงเรียนอื่นๆ ก็สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนเล็กๆ แถวบ้านที่สามารถและพร้อมที่จะรองรับนักเรียนรอบๆ โรงเรียนมาเรียน โดยอาจจะมีการแข่งขันบ้าง แต่คงไม่ต้องถึงกับเป็น “จุดเปลี่ยนของชีวิต” (แอบได้ยินคุณแม่ท่านหนึ่งกล่าวกับลูกสาวระหว่างพักสอบเข้า ม.1) เพราะการสอบเพียงครั้งเดียวไม่ควรเป็นการตัดสินชีวิตของเด็กคนหนึ่ง....เหนื่อย! ขอจบการบ่นแต่เพียงเท่านี้!.

เขียนโดย Mayochili อีเมล [email protected]


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"