ซูเปอร์โพลระบุคนไทยทุกกลุ่มหนุนรัฐลงทุนอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นทางการแพทย์รับมือโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

15 มี.ค. 2563 นายมนตรี วิบูลยรัตน์ ที่ปรึกษาด้านข้อมูลธรรมาภิบาล สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง โมเดลแก้โควิด-19 กระตุ้นเชื่อมั่น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,306 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา

เมื่อสอบถามประเด็นแก้โควิด-19 จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบว่า ประชาชนทั้ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล และ กลุ่มพลังเงียบที่อยู่ตรงกลาง ส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มเห็นด้วยกับ “โมเดลแก้โควิด-19 กระตุ้นเชื่อมั่น” ร้อยละ 84.3 ของกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 89.0 ของกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและร้อยละ 85.7 ของกลุ่มพลังเงียบอยู่ตรงกลางเห็นด้วยว่า ควรลงโทษหนัก ขบวนการกักตุน สินค้าจำเป็นทางการแพทย์เร่งด่วน เช่น หน้ากากอนามัย

นอกจากนี้ ร้อยละ 77.0 ในกลุ่มหนุนรัฐบาล ร้อยละ 85.8 ในกลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และร้อยละ 82.0 ในกลุ่มพลังเงียบอยู่ตรงกลาง เห็นด้วยว่า ควรปรับปรุงระบบข้อมูลรายงานความเป็นจริง ในขณะที่ร้อยละ 82.8 ของกลุ่มหนุนรัฐบาล ร้อยละ 84.7 ในกลุ่มไม่หนุนรัฐบาลและร้อยละ 79.2 ในกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วยว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมงบประมาณดูแล บุคลากรทางการแพทย์
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มได้แก่ ร้อยละ 82.0 ในกลุ่มหนุนรัฐบาล ร้อยละ 84.1 ในกลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และร้อยละ 77.4 ในกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วยว่า เอาหน้ากากอนามัย ไปแจกที่โรงพยาบาลให้บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ใกล้ชิดคนเจ็บป่วย นอกจากนี้ ร้อยละ 85.2 ในกลุ่มหนุนรัฐบาล ร้อยละ 84.7 ในกลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และร้อยละ 80.2 ในกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วยว่า ควรเพิ่มชุดป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาด 100% ให้แพทย์ หรือบุคลากรที่เสี่ยงสูงในแหล่งแพร่ระบาด

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มคือ เกินกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป ทั้งในกลุ่มหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วยว่า ควรปรับปรุงเรื่องอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ใหม่ มีรถตรวจสอบโควิด-19 เคลื่อนที่ ตามจุดเสี่ยง มีนโยบายควบคุมที่เคร่งครัดจัดเต็ม จัดสถานที่ดูแลผู้สงสัยติดเชื้อแยกต่างหากจากโรงพยาบาล ควรมีสถานที่กักกัน แยกออกจากโรงพยาบาล และจุดวัดไข้ คัดกรอง ไม่ควรทำที่โรงพยาบาลเพื่อลดความแออัดและภารกิจของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น

นายมนตรี กล่าวว่า เสียงของประชาชนส่วนใหญ่มีความชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกันของทุกประเด็นในการศึกษาครั้งนี้ เกินกว่าร้อยละ 70 ทั้งกลุ่มคนหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบที่เห็นว่า รัฐบาลควรประกาศสภาวะฉุกเฉิน คุมโรคระบาดไวรัสโควิด-19 และใช้โอกาสนี้สร้างผลงานด้านอื่น ๆ ด้วยความรวดเร็วฉับไวตอบโจทย์โดนใจประชาชนได้แท้จริง การจัดการข้อมูล (COVID-19 Data Management) เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำตามหลักธรรมาภิบาล พลิกวิกฤตเป็นโอกาสกระตุ้นความเชื่อมั่นของสาธารณชนกลับคืนมา

"รัฐบาลต้องเน้นความสำคัญของการสนับสนุนบุคคลากรทางการแพทย์ในทุกรูปแบบเพราะหัวใจอยู่ตรงนั้นที่ต้องเผชิญกับการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงควรมีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์และทุ่มเทงบประมาณดูแลเพิ่มเติมให้พวกเขาอย่างเหมาะสมเพราะถ้าบุคคลากรทางการแพทย์ไปไม่รอด ประเทศนี้ก็ไปไม่รอดเช่นเดียวกัน" นายมนตรี ที่ปรึกษาด้านข้อมูลธรรมาภิบาล กล่าว

ขณะที่นายนพดล กล่าวว่า ในยามวิกฤตนี้ สังคมไม่ต้องการกลุ่มคนแบบ Fair-Weather Fans คือกลุ่มกองเชียร์ยามที่ทีมของตนเองชนะแต่พอทีมกำลังจะแพ้ก็เลิกเชียร์เลิกหนุน จากผลโพลครั้งนี้ประเมินได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีฐานสนับสนุนจากภาคประชาชนไม่เพียงพอในยามที่ประเทศและประชาชนกำลังเผชิญกับความยากลำบากนี้ ดังนั้น คนไทยทุกคนคงต้องทำตัวเสมือนนายทหารผู้กล้าที่ต้องลุกขึ้นลุยไปกับผู้นำประเทศช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ตื่นตระหนกและที่ลืมไม่ได้คือ กลุ่มคนขัดสนเงินทองเวลานี้ที่รัฐบาลควรใช้ช่วงวิกฤตนี้หามาตรการเยียวยาพวกเขาเหล่านั้น โดยน่าจะเร่งหารือกับ สถาบันการเงิน การธนาคาร กลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ เพราะธุรกิจและเงินในกระเป๋าของพวกเขากำลังขัดสนได้รับผลกระทบอย่างหนัก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"