28 มี.ค. 61 - ที่โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการแก่พรรคการเมือง ครั้งที่ 2/2561 เรื่อง “แนวทางการดำเนินกิจการพรรคแก่การเมืองที่จัดตั้งหรือเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550” โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมจำนวน 55 พรรค รวม 308 คน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก
นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวเปิดการประชุมว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่พรรคการเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกตั้ง ทั้งนี้ พรรคการเมืองจะต้องศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจและดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายให้ถูกต้องตามระยะเวลากำหนด ตามมาตรา 141 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 53/2560 โดยที่ผ่านมามีพรรคการเมืองหลายพรรคสอบถามมายัง กกต. ซึ่งกกต.ได้ตอบข้อสอบถามไปแล้ว แต่บางคำตอบอาจทำให้พรรคการเมืองไม่เข้าใจถ่องแท้ เพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับคำสั่ง คสช. ดังนั้นกกต.จึงได้ไปหารือกับตัวแทน คสช. ตัวแทนกฤษฎีกา และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความชัดเจน และได้แนวทางมาพอสมควร ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 ต่อไป
ทั้งนี้ปัญหาข้อขัดข้องที่พรรคการเมืองต่างๆ เสนอมา กกต.จะดำเนินการแก้ไขให้ แต่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คสช. ทางกกต.จะนำเรื่องไปหารือกับ คสช.ต่อไป วันนี้จึงอยากให้พรรคการเมืองช่วยกันเสนอแนะปัญหาในการปฏิบัติมา เพื่อให้มีการนำไปแก้ไข และจะได้ไม่เป็นปัญหาในการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง นอกจากนั้นเนื่องจาก พ.ร.ป.พรรคการเมืองฉบับใหม่ มีกระบวนการและขั้นตอนที่เปลี่ยนไปจากกฎหมายเดิมมาก จึงขอให้ทุกพรรคศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายอย่างละเอียดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ถูกต้อง
ด้านพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รักษาการเลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง บรรยายเรื่อง “บทบาทนายทะเบียนพรรคการเมืองกับการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง”ว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งมีหลายเรื่อง อาทิ การปฏิรูประบบพรรคการเมืองที่เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมทั้งเรื่องนโยบายและการส่งผู้สมัคร โดยมีการกำหนดคุณสมบัติสมาชิกพรรคที่สูงเกือบเท่าคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นต้องดูกฎหมายให้ดี เพราะพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเอง ไม่ใช่หน้าที่สำนักงาน กกต.จะเข้าไปดูให้เหมือนแต่ก่อน
สำหรับสำนักงาน กกต.จะเข้าไปในเฉพาะส่วนที่ต้องเข้าไป อาทิ หากพบว่ามีพรรคใดส่งผู้สมัครไม่ผ่านระบบไพรมารีโหวต กกต.จะลงไปตรวจสอบ และหากเป็นจริง กกต.จะแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการกับกรรมการบริหารพรรค นอกจากนั้นยังมีการปฏิรูปการจัดการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการปิดแผ่นป้ายหาเสียงที่จะต้องติดตามบอร์ดที่ กกต. จัดไว้ให้ และจะต้องมีขนาดตามที่ กกต. กำหนด เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน หรือการจัดดีเบตประชันนโยบายบริหารประเทศของพรรคต่างๆ ยังมีอยู่ แต่อาจจะไม่เป็นเวทีใหญ่ อาจจะดีเบตในห้องอัดแล้วถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ ทั้งนี้หากมีการหาเสียงใส่ร้ายกันในโซเชียลมีเดีย กฎหมายได้ให้อำนาจ กกต.สามารถลบข้อความดังกล่าวออกได้
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า กกต.ยังมีอำนาจควบคุม ระงับยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง สั่งเลือกตั้งใหม่ได้ โดย กกต.คนเดียว ซึ่งจะทำให้วันเลือกตั้งจริง กกต.แต่ละคนจะต้องลงไปอยู่ในพื้นที่เลือกตั้งด้วย ขณะที่พนักงานสืบสวนไต่สวนของ กกต. ถือเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจเรียกสอบพยาน มีการคุ้มครองพยาน และการกันไว้เป็นพยานอีกด้วย มีการให้รางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแส โดยมีการร่างระเบียบไว้เบื้องต้นคดีละ 100,000 บาท ซึ่งไม่รู้ว่ากระทรวงการคลังจะรับไหวหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวจะใช้กับการเลือกตั้งระดับประเทศและการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนเรื่องที่แปลกและใหม่ที่สุด คือกรณีใบเหลืองใบแดง หากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่ ศาลสามารถสั่งให้ผู้นั้นรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเลย ซึ่งทำให้ กกต.ไม่ต้องไปดำเนินการทางแพ่ง
จากนั้น นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง "พรรคการเมืองกับการปฏิรูปประเทศ" ตอนหนึ่งว่า แผนปฏิรูปการเมืองใหญ่ๆ มีอยู่ 5 แผน คือ 1.วัฒนธรรมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านต้องใส่ใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง และทำอย่างไรให้ประชาชนมีวัฒนธรรมมากขึ้น อยากที่จะอาสามาทำประโยชน์มากขึ้น 2.ทำอย่างไรให้เกิดการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการปกครองประเทศ 3.ทำให้มีประชาธิปไตยที่ดี 4.พรรคการเมืองต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำให้เกิดการปรองดองกันมากขึ้น และ5.ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม การเลือกตั้งสามารถตรวจสอบได้ และพรรคการเมืองที่มีจิตอาสาจะทำอย่างไร.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |