นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "COVID -19 VS รัฐบาลส้นตีน ?" ผ่าน www.thaipost.net เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2563 โดยมีเนื้อหาดังนี้
“ในเมื่อทุกคนไม่ได้มีแนวคิดว่า ขณะนี้เรามีวิกฤตของประเทศ ถ้าข้าราชการทุกหน่วยที่ต้องมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต่างคนต่างตั้งคอกไม่คิดจับมือประสานงานไม่สามัคคี ต่างหน่วยต่างเกี่ยงให้ สาธารณะสุขต้องรับผิดชอบ และเผอิญคนที่ สธ.ส่งมาไม่มีบุคลิกความเป็นผู้นำ เหตุการณ์เลยร้ายแรงกว่าที่ท่านทราบกัน... (ปัญหาทั้งหมดเกิดจาก...รัฐบาลส้นตีน) ” โพสต์เฟสบุ๊กบุตรสาว ผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ลาออกเนื่องจาก ปัญหาโครงสร้างการจัดการวิกฤต COVID-19
ถาม ปัญหา COVID-19 ในไทย จะบานปลายเป็นวิกฤตระยะที่ ๓ หรือไม่
ตอบ ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยาเขาบอกว่างานนี้ไม่มีประเทศใดหนีพ้น ปัญหาอยู่ที่ไทยเราจะสามารถยืดเวลาได้นานที่สุดเท่าใด เพื่อใช้เวลานี้เตรียมพร้อมรับมือระยะที่ ๓ นี้ให้ได้ดีที่สุดเท่านั้น
ถาม ทุกวันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง ที่จะเผชิญ COVID ระยะ ๓
ตอบ งานนี้เป็นวิกฤต ที่ต้องรับมือด้วยวิธีคิดวิธีทำแบบยุทธศาสตร์การรบ จะทำกันแบบราชการปรกติไม่ได้ การผลุนผลันลาออกของท่าน ผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือตัวอย่างของความผิดพลาดนี้ ถ้ารัฐบาลไม่สำเหนียกในปัญหานี้แล้วเร่งปรับเปลี่ยน วางแผนการจัดการไว้ล่วงหน้าเสียก่อนที่จะเข้าสู่ระยะที่ ๓ ผมว่าบ้านเราชิบหายแน่ๆ
ถาม ขอคำอธิบายเรื่อง “การบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์” หน่อยครับ
ตอบ ข้อแรกเราต้องมี “แผนปฏิบัติการ” ก่อนว่า ในทุก “เขตควบคุมโรค” เราจะต้องมีปฏิบัติการใดบ้าง ทั้งการตรวจค้นหาผู้ป่วย,การส่งต่อผู้ป่วย,การค้นหาและควบคุมผู้ที่สัมผัสเกี่ยวข้องผู้ป่วย,การจำกัดกิจกรรมและการเดินทางของผู้คน,การประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลมวลชน,การรักษาความสงบ,การควบคุมสินค้าบริโภค,การจัดการชุมชนทั้งชุมชนทั่วไปเช่นคอนโดหรือหมู่บ้านต่างๆ รวมทั้งชุมชนพิเศษเช่นเรือนจำหรือค่ายทหารฯ ทั้งหมดนี้ต้องมีแผนแม่บทจากส่วนกลางก่อน แล้วจึงนำมาปรับเป็นแผนจริงในแต่ละเขตอีกชั้นหนึ่ง
ถาม แล้วโรงพยาบาลต่างๆ ต้องมี “แผนดูแลผู้ป่วย”อย่างไร
ตอบ แผนนี้เป็นแผนปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ต้องแยกออกมา ให้ฝ่ายสาธารณะสุขเขาดูแลจัดการโดยเฉพาะว่า โรงพยาบาลไหนจะเป็นข่ายดูแลเบื้องต้น หรือเป็นข่ายรักษาพยาบาล ในทั้งสองข่ายต้องมีปฏิบัติการใดบ้าง ซึ่งก็ต้องมีแผนแม่บทจากส่วนกลางก่อน แล้วให้แต่ละโรงพยาบาลนำมาปรับเป็นแผนเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง
ถาม แล้วจะมีเงิน,บุคลากร,อำนาจและพ้สดุ มาใช้ตามแผนปฏิบัติการต่างๆได้อย่างไร
ตอบ นี่เป็น “แผนบริหาร” ที่ทุกแผนปฏิบัติการเฉพาะจะต้องกำหนดแผนออกมา ตามกรอบของแผนแม่บทที่กำหนดไว้ จนปรากฏแผนเฉพาะที่สมบูรณ์ว่า จะใช้คน เงินทอง กฎหมาย และพัสดุ เท่าใด อย่างไร และเมื่อใด
ถาม บุคลากรจะมาจากไหน
ตอบ ตรงนี้จะยึดติดกับกรอบราชการไม่ได้ ทุกแผนปฏิบัติการต้องเปิดกว้างข้ามหน่วยงาน และรวมถึงอาสาสมัครต่างๆด้วย ได้มาแล้วก็เอาเขามาประกอบเป็นทีมอยู่ภายใต้สายงานสั่งการใหม่ของโครงสร้างบริหารที่กำหนดขึ้นใหม่ ในแต่ละพื้นที่รบ โครงสร้างนี้ต้องเป็นโครงสร้างที่มีอิสระจัดการปัญหาตามแผนเฉพาะต่างๆได้ด้วยตนเอง กระทรวง กรม กอง และศาลากลาง ถือเป็นส่วนวางแผนและกำกับและสนับสนุนทุกอย่างต่อการรบในแต่ละแผนเฉพาะเท่านั้น
ตัวอย่างความสับสนพ่ายแพ้ศึก ไม่มีแผนปฏิบัติการ ไม่มีการประกอบกำลัง ไม่มีสายงานสั่งการที่เป็นเอกภาพที่เกิดเช่นที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น ไม่ใช่เรื่อง “รัฐบาลส้นตีน” แต่เป็นเรื่องโครงสร้างการทำงานแบบส้นตีนมากกว่า
ถาม แผนเหล่านี้ทุกวันนี้ต้องมีแล้วใช่หรือไม่
ตอบ ถูกต้องครับ ๒๐ ปีที่แล้ว ตอนพวกผมไปจัดการแข่งขันที่ศูนย์กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ธรรมศาสตร์รังสิต เราจ้างผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกาที่จัดโอลิมปิกแอตแลนต้า มาวาง “แผนพัฒนาแผน” ตั้งแต่เริ่มออกแบบก่อสร้างยิมเนเซี่ยมและสนามแข่งขันต่างๆเลย ว่าในแต่ละอาคารต้องมีปฏิบัติการใดบ้าง แล้วต้องมีพื้นที่ในแบบแปลนรองรับอย่างไรบ้าง แล้วจึงเริ่มให้รับเหมาออกแบบ-ก่อสร้าง
จากนั้นเราก็ลงมือพัฒนาแผนจัดการแข่งขันทั้งหมด เป็นแผนแม่บทก่อน ทั้งเทคนิคกีฬา,วัสดุอุปกรณ์,วิศวะกรรม,ความปลอดภัย,การแพทย์,ผู้ชมและการต้อนรับ,พิธีการ,ความสะอาด,การถ่ายทอดฯ แล้วปรับมาเป็นแผนเฉพาะพร้อมขั้นตอนการพัฒนาในแต่ละสนาม จนเราพร้อมขึ้นเรื่อยๆและสมบูรณ์ต่อวันจริงในที่สุด พอถึงวันนั้นเราก็จัดการแข่งขันได้สบายมาก ทุกสนามเขาจัดการตามแผนได้เองหมด ทุกบุคลากร ทั้งตำรวจ เทศบาล ช่างจากผู้รับเหมา ขนส่ง ตัวแทนฝ่ายเทคนิค อาสาสมัครทั้งอาจารย์และนักศึกษา ต่างก็ประกอบกำลังกันเป็นการบริหารอิสระ รบชนะได้ในทุกสนามแข่งขัน และทั้งศูนย์กีฬาเลย
สำหรับการรับมือ วิกฤต COVID ระยะที่สามนี้ มาถึงวันนี้ผมหวังว่าเราต้องใช้เวลา ๒ เดือนเศษที่ผ่านมาพัฒนาแผนจนพร้อมต่อการรบแล้วในทุกเขตควบคุม และทุกโรงพยาบาล ตามแผนผังนี้
ถาม ผมเป็นห่วงเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลน
ตอบ ตัวอย่างเรื่องหน้ากากขาดแคลนนั้นชัดเจนและน่าอายมาก ว่าเราไม่มีแผนปฏิบัติการและแผนบริหารเลย ส่วนปัญหาสินค้าขาดแคลนเมื่อเข้าสู่ระยะที่สามนั้น ป่านนี้ก็ควรมีแผนปฏิบัติการและแผนบริหารพร้อมแล้วว่า จะควบคุมปริมาณและการกระจายสินค้าจำเป็นใดบ้าง และคุมอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่าโครงข่าย 7-11, TESCO, และ MACRO นี่จะต้องเอามาใช้เป็นหลักเลยทีเดียว
ถาม งานอย่างนี้ต้องมีอำนาจที่เพียงพอด้วยนะครับ
ตอบ “แผนกฎหมาย” เป็นแผนบริหารประเภทหนึ่ง ป่านนี้ต้องร่างเตรียมไว้หมดแล้ว ทั้งพระราชกำหนด กฎเกณฑ์รายละเอียดต่างๆ ทั้งหมดนี้ร่างไม่ยากเลย เพราะเรารู้หมดแล้วว่ามีแผนปฏิบัติการและแผนบริหารใดบ้าง และแต่ละแผนต้องการอำนาจอย่างใด
ถาม อาจารย์เชื่อมั่นหรือไม่ว่า ทุกวันนี้เราพร้อมเผชิญวิกฤตแล้ว
ตอบ ผมไม่รู้ข้อมูลภายในอะไรเลยจึงตอบคุณไม่ได้ ผมได้แต่เชื่อเท่านั้นว่าถ้าไม่มีแผนรับมือที่คิดและทำเป็นยุทธศาสตร์เช่นที่กล่าวมา เราจะเอามันไม่อยู่แน่ๆ และที่ไม่สำคัญเท่าใดนักสำหรับผม ก็คือ..ส้นตีนจะเต็มหน้ารัฐบาลแน่นอน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |