สสส.ระดมมันสมองจากมหาวิทยาลัย 4 สถาบัน มหิดล นิด้า จุฬาฯ มธ. เสริมยุทธศาสตร์ชาติศตวรรษที่ 21 ให้เป็นจริง หวังให้เด็กรุ่นใหม่เป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพ มีทักษะ เพื่อสู่เป้าหมายแห่งอนาคต เปิดปมเด็กไทยยุค 4.0 จาก 7 ผลวิจัย พบเครียดสูง เรียนแน่น เกินครึ่งกวดวิชา เวลาเล่นน้อย ทำความสุขหดหาย เด็กต้องการชั่วโมงเรียนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน อยากให้ครูรักและยอมรับฟังความคิดเห็น ระดมนักวิชาการกลั่นแนวทางแก้ปัญหา-พัฒนาทักษะเด็กรุ่นใหม่ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงผันผวน ร้อยละ 52.05 ของครูที่มีรายได้อื่นมาจากการสอนพิเศษของโรงเรียน
ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวที่โรงแรมเดอะ สุโกศล เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ว่า ยุทธศาสตร์ชาติตั้งความหวังว่าอยากเห็นคนรุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยมีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ที่ชัดเจนว่าปัจจุบันเราอยู่จุดไหน และจะต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อไปให้ถึงภาพที่มุ่งหวัง ในปีที่ผ่านมา สสส.สนับสนุนให้มีการศึกษาสถานการณ์ที่เด็กไทยกำลังเผชิญ ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยส่งเสริมต่อการพัฒนาของเด็กและเยาวชน ภายใต้ชุดโครงการ “การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21" ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยจํานวน 7 โครงการ ครอบคลุมหลายบริบทและหลายมิติของชีวิตเด็ก โดย ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ หัวหน้าโครงการจากสถาบันนิด้า ร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สังเคราะห์ผลการศึกษาทั้ง 7 โครงการวิจัยย่อย และวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
“จากผลการวิจัยชัดเจนมากว่า เม็ดเงินในการลงทุนกับเด็กปฐมวัยของเรายังน้อยเกินไป ความสุขเด็กไทยในวัยเรียนเหลือน้อย วัยรุ่นมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมความเครียดตั้งแต่วัยเด็กจากโครงสร้างครอบครัวที่มีความพร้อมแตกต่างกัน ความเหลื่อมล้ำของคุณภาพสถานศึกษา การแข่งขันในระบบการศึกษา เด็กแถวหลังที่ถูกละเลยจนเกิดเป็นกลุ่มที่อยู่เฉยๆ ไม่เรียน ไม่ฝึกอาชีพ และไม่ทำงาน ปรากฏการณ์เหล่านี้พบทั้งเด็กจากครอบครัวฐานะดีและครอบครัวที่ยากไร้ ซึ่งเราไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปแบบนี้ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมจะต้องหารือกัน ว่าในท่ามกลางสิ่งที่เด็กไทยต้องเผชิญนี้ เราจะหนุนเสริมกลไกที่ช่วยเด็กได้อย่างไร ใครต้องมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างไร เพราะเราคิดแบบเดิมทำแบบเดิมไม่ได้แน่นอน หากต้องการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาคนตามยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ เพราะสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” ณัฐยากล่าว
ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ อาจารย์ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะหัวหน้าโครงการ “การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” เปิดเผยว่า ผลจากโครงการย่อยทั้ง 7 โครงการ ได้แก่ 1.การศึกษางบประมาณรายจ่ายภาครัฐเพื่อการพัฒนาเด็กในช่วงอายุ 0-3 ปี ในประเทศไทยยังมีไม่เพียงพอ 2.การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างครอบครัวประเภทต่างๆ บทบาทของบิดาและมารดากับการดูแลทางสาธารณสุขและพัฒนาการของเด็กช่วงอายุปฐมวัยในประเทศไทย พบว่าผู้ดูแลเด็กในครอบครัวแต่ละประเภทต้องการการหนุนเสริมจากภาครัฐแตกต่างกันเช่น ครัวเรือนที่พ่อแม่อยู่ครบ แต่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ครัวเรือนที่เด็กเล็กถูกเลี้ยงดูโดยญาติผู้ใหญ่ หรือครัวเรือนพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้งนี้ พบว่าศูนย์เด็กเล็กเป็นตัวช่วยที่สำคัญ และภาครัฐควรขยายอายุในการรับเด็กเล็กเข้าสู่ศูนย์เด็กเล็กก่อนอายุ 2 ปี เพิ่มจำนวนศูนย์เลี้ยงเด็กให้เพียงพอ เป็นต้น
พ่อแม่บางคู่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะแม่วัยใส ไม่ได้รับบริการฝากครรภ์ให้เข้าถึง มีการย้ายถิ่นฐานชื่อไปปรากฏอีกที่หนึ่ง แม่ลาคลอด 98 วันไม่เพียงพอต่อการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ควรจะขยายวันออกไปอีก 1 ปี หรือมากกว่านั้น เด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ เราต้องพึ่งพาเด็กในอนาคต แต่เราไม่ได้เสริมสร้างคุณภาพของพวกเขา สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งสารตัวเองในอนาคตด้วย
การที่พ่อแม่ออกไปทำงานแล้วฝากลูกให้คนอื่นเลี้ยงดูที่ศูนย์เด็กเล็กย่อมมีค่าใช้จ่ายในการฝากเด็ก แต่ถ้าเด็กอยู่กับพ่อแม่ เด็กได้พัฒนาทั้งอีคิวและไอคิว ทั้งยังได้ดื่มนมแม่ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเด็ก เป็นเรื่องที่ดีที่สุดและยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมแม่
3.ความสุขของเด็กไทยในวัยเรียน: เด็กประถมศึกษา (6-12 ปี) พบว่า เด็กประถมศึกษามีความสุขในระดับปานกลาง โดยปัจจัยความสุขที่เพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยคือ ครอบครัว โรงเรียน โภชนาการ และการเล่น ซึ่งพบว่าเด็กต้องการชั่วโมงเรียนต่อวันน้อยกว่า 6 ชั่วโมง การใช้เวลาทำการบ้านน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน การเรียนเวลาเรียนพิเศษเชิงวิชาการน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน การได้รับความรักและการยอมรับฟังความคิดเห็นจากครู ผลสำรวจเด็กสะท้อนว่าครูให้ความรักเด็กเพียง 58% ในขณะที่คนในครอบครัวให้ความรักถึง 93% ครูชื่นชมเด็ก 65% ครูไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของเด็กจากตัวเลข 47.87% เท่านั้น
สังคมในวันนี้พ่อแม่ไม่ได้อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังแล้ว แต่ให้ลูกอ่านหนังสือจากแท็บเล็ต กลายเป็นว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยแท็บเล็ต ทำให้เด็กมีปัญหาพูดหรือสื่อสารไม่รู้เรื่อง พูดเป็นการ์ตูน สิ่งสำคัญเราต้องพัฒนาเด็กให้มีความสมดุลในการใช้ชีวิต แต่โดยทั่วไปแล้วเด็กมีความสุขในระดับปานกลาง ยิ่งเด็กเรียนหนังสือสูงขึ้น ความสุขก็จะมีลดน้อยลง เด็กนักเรียน รร.เอกชนมีความสุขน้อยกว่าเด็กเรียน รร.รัฐบาล เนื่องจากความแน่นหนาทางวิชาการ ยิ่ง รร.ที่เด่นใน รร.ประจำจังหวัดมีวิชาการที่หนาแน่นมาก ทำให้เด็กเกิดความเครียดสูง
4.การกวดวิชาในบริบทของระบบการศึกษาไทย ณ ศตวรรษที่ 21 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 67.02 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 52.70 กวดวิชานอกเวลาเรียนปกติ และนักเรียนที่กวดวิชามีความสามารถด้านคิดวิเคราะห์ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้กวดวิชา และยังพบว่าครูในโรงเรียนร้อยละ 35 มีรายได้อื่นนอกจากอาชีพครู โดยร้อยละ 52.05 ของครูที่มีรายได้อื่นมาจากการสอนพิเศษของโรงเรียน และร้อยละ 15.38 ของครูที่มีรายได้อื่นมาจากการเป็นติวเตอร์ จึงเป็นข้อสังเกตว่าครูกั๊กที่สอนในชั่วโมงเรียน แต่เลือกที่ให้ความรู้ในชั่วโมงติวเตอร์ สิ่งเหล่านี้คือผลประโยชน์ทางธุรกิจในระบบการศึกษาหรือไม่
ขณะเดียวกันต้องเปิดโอกาสให้เด็กรู้ถึงความต้องการของตัวเองที่เลือกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เมื่อเห็นเพื่อนเรียนกวดวิชามีการแข่งขันกันสูง ก็เลือกที่จะเรียนกวดวิชา แต่ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องให้ทางเลือกด้วยว่า ถ้าไม่อยากเรียน ขอให้บอก ข้อดีของการกวดวิชาเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเด็กได้อยู่กับเพื่อนในวัยเดียวกัน พ่อแม่ต้องส่งเสริมลูกให้มีเวลาเล่นด้วย “เด็กได้เล่นเป็นโดราเอมอน” หรือพ่อแม่จัดเวลาที่จะพูดคุยกับลูกเพื่อรู้ถึงความต้องการด้วย
5.การศึกษาการเล่นเกมของเด็กไทย นักเรียน ป.5-6 และ ม.1-3 พบว่านักเรียนใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 21 นาที/วัน ในการเล่นเกม โดยผู้ชายเล่นเกมโดยเฉลี่ยต่อวันสูงกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ พบว่าผู้ชายที่ติดเกมจะเล่นเกมโดยเฉลี่ยต่อวันสูงที่สุด โดยเท่ากับ 4 ชั่วโมง 40 นาที เงินที่เล่นในเกมตั้งแต่ 100 บาท-หลักหมื่น วันที่เด็กเล่นเกมคือวันที่พ่อแม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ เด็กจำนวนไม่น้อยเมื่อเล่นเกมแล้วอยากประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับเกม นักเล่นเกมมืออาชีพ ยูทูบเปอร์ พ่อแม่ควรรู้ด้วยว่าลูกของตัวเองเล่นเกมที่มีประโยชน์เพื่อผ่อนคลาย หรือเล่นเกมจนติดเกมส่งผลเสียต่อสุขภาพ สายตา น้ำหนักลดลง ขาดเรียนสูง เพราะนอนดึก เร่งทำการบ้านให้เสร็จเพื่อจะได้เล่นเกม ส่งผลให้สมาธิในการเรียนลดน้อยลง ช่วยเหลืองานบ้านน้อยลง ไม่ตรงต่อเวลา ไม่ควบคุมอารมณ์ การศึกษาการเล่นเกมของเด็กไทย ทั้งยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า สสส.มีหน้าที่ลดจำนวนคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็ควรจะมีบทบาทลดจำนวนเด็กที่อายุน้อยในการการเข้าถึงเกมด้วย
การศึกษาการเล่นเกมนี้ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะอาจารย์แพทย์จาก รพ.ศิริราชเป็นที่ปรึกษา
6.การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านสะเต็มศึกษาของเด็กไทยเพื่อให้ก้าวไกลทันยุค 4.0 ในเด็กอายุ 15 ปี/นักเรียนมัธยม เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมศักยภาพเด็กให้มีความพร้อมได้เป็นอย่างดี และ 7.การพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษาหรือการฝึกอบรมและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในกิจกรรมการสะสมทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างเหมาะสม ในเยาวชนอายุ 15-24 ปี พบว่ากลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมมีระดับการพัฒนาทักษะชีวิตต่ำกว่าเยาวชนอื่นๆ ในทุกด้าน รวมถึงมีมุมมองและแนวคิดในการทำงานหรือการเรียนที่แตกต่างไป สำหรับผลการศึกษาจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ การสังเคราะห์เชิงนโยบาย และสร้างโมเดลระดับพื้นที่เพื่อช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กที่เชื่อมโยงจากบ้าน สู่ระบบการศึกษาและการเข้าสู่ภาคแรงงานของเยาวชนไทยต่อไป
เป็นที่สังเกตว่าประเทศไอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับเด็ก มีงบประมาณภาครัฐจัดสรรให้ตามช่วงวัยต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศตุรกี โรมาเนีย โปรตุเกศ ออสเตรเลีย นอรเวย์ (ไอซ์แลนด์เป็นกลุ่มประเทศนอร์ดิกในยุโรปตอนเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือระหว่างกรีนแลนด์ นอรเวย์ สหราชอาณาจักร), สวีเดนเป็นประเทศที่จัดสรรงบประมาณให้สูงที่สุด)
ในงานนี้มีคลิปวิดีโอโครงการการศึกษางบประมาณรายจ่ายภาครัฐเพื่อการพัฒนาเด็กในช่วงอายุ 0-3 ปีในประเทศไทย โดย รศ.ดร.ศาสตรา สุดสวาท และ ผศ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คลิปวิดีโอโครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างครอบครัวประเภทต่างๆ บทบาทของพ่อและแม่กับการดูแลทางสาธารณสุขและพัฒนาการของเด็กช่วงอายุปฐมวัยในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล และ รศ.ดร.กรรณิการ์ ดำรงค์พลาสิทธิ์
คลิปวิดีโอโครงการความสุขของเด็กไทยในวัยเรียน : เด็กประถมศึกษา (6-12 ปี) โดย ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คลิปวิดีโอโครงการการกวดวิชาในบริบทของระบบการศึกษาไทย ณ ศตวรรษที่ 21 โดย ดร.ณัฏฐ์ ภูมิพัฒน์สิริ คลิกวิดีโอโครงการการศึกษาการเล่นเกมของเด็กไทย โดย รศ.ดร.วีระ ปาติยเสวี คลิปวิดีโอโครงการการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านสะเต็มศึกษาของเด็กไทยเพื่อให้ก้าวไกลทันยุค 4. 0โดย ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ และ อ.อัครนัย ขวัญอยู่ คลิปวิดีโอโครงการการพัฒนาองค์ความรุ้และขับเคลื่อนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม และเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในกิจกรรมการสะสมทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างเหมาะสม โดย ผศ.ดร.รัตติยา ภูลออ และ อ.ภัทรพิมพ์ ทองวั่น.
บทสรุปเศรษฐศาสตร์การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เด็กที่ครอบครัวมีฐานะร่ำรวยจะมีโอกาสเข้าถึงการเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากกว่าเด็กที่มีฐานะยากจน เนื่องจากการศึกษาในระดับชั้นปฐมวัยไม่ได้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ถึงแม้ว่าภาครัฐจะได้ขยายโอกาสทางการศึกษาผ่านการกระจายอำนาจโดยมีการถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไปอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ผลการศึกษายังพบว่าโอกาสในการเข้าถึงทางการศึกษาปฐมวัยยังขึ้นอยู่กับรายได้ของครัวเรือน
เด็กที่ได้ระดับชั้นปฐมวัยจะมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการและมีความพร้อมทั้งสติปัญญา ร่างกาย และการเข้าสังคมสูงกว่าเด็กที่ไม่มีโอกาสเรียนในชั้นปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลการทดสอบนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA เพื่อประมาณการผลได้ระยะยาวของการศึกษาในระดับชั้นอนุบาลต่อผลสัมฤทธิ์ทางสติปัญญาของเด็ก เมื่อเด็กอายุ 15 ปี นักเรียนที่ผ่านการศึกษาในระดับอนุบาลจะมี่ค่าคะแนนของผลการสอบทางด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพิ่มขื้นร้อยละ 5.2 ร้อยละ 5.4 ร้อยละ 6.7 ผลวิจัยนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในต่างประเทศ พบว่าการเรียนในระดับอนุบาล เป็นการเตรียมความพร้อมแก่การสร้างทักษะต่างๆ ให้แก่เด็กเพื่อให้พร้อมในการเข้าสู่การศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษาแล้ว ยังส่งผลได้ทางบกในระยะยาวต่อทักษะทางสติปัญญาแก่เด็กคนนั้นในอนาคตด้วย
นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนถึงปานกลางจะเป็นกลุ่มนักเรียนที่จะได้รับผลได้ในระยะยาวจากการเข้าศึกษาในระดับอนุบาลมากที่สุด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนในการศึกษาปฐมวัย/ก่อนวัยเรียนมีความสำคัญต่อการสร้างทักษะของทุนมนุษย์ในระยะยาวให้กับประเทศ อันส่งผลต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ในระยะยาว
ผลการศึกษานี้เป็นการสนับสนุนรัฐบาลขยายโอกาสในการเข้าถึงการเรียนในระดับชั้นปฐมวัย (รร.อนุบาลหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ให้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดารที่อยู่ห่างไกล การเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเป็นการพัฒนาทักษะให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนทุกคน พร้อมยังมีส่วนช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ทิชา ณ นคร คณะกรรมการบริหารแผน 4 สสส. ผอ.ศูนย์ฝึกอบรมบ้านกาญจนาฯ (ชาย)
“ขอตั้งข้อสังเกตงานวิจัยนี้พูดถึงครอบครัว The Must ที่สมบูรณ์ เหรียญมีสองด้าน ที่บ้านกาญจนาฯ มีเด็กจำนวน 110 คน เด็กจำนวน 70 คน มีประวัติฆ่าคนอื่นตายมาอยู่กับเรา ถ้าเราดูแลเด็กแล้ว เด็กมีปัญหาประตู รร.ปิด ประตูคุกจะเปิดทันที เด็กจำนวนหนึ่งจะหลุดออกจากประตู รร.ไปอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นไปได้ไหม เราต้องใช้เสือล่อเสือออกจากถ้ำ หลายครอบครัวประสบปัญหาพ่อแม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน 1 ใน 21 ครอบครัวถูกผลักไสไล่เด็กไปก่ออาชญากรรม เด็กสะท้อนว่าเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันแล้ว ผมอยากหายตัวได้ออกไปข้างนอก เราต้องทำให้เทพเห็นเทพ โจรเห็นโจร มารเห็นมาร ผีเห็นผี เด็กไม่ใช่สมบัติของเราก็จริง ดังที่คาริล ยิบลาน เคยพูดไว้ เด็กเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง”
“เด็กเขียนบันทึกของตัวเอง บางรายเล่าถึงพ่อตัวเอง ว่าพ่อพูดถึงแต่ความสำเร็จของตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนผมรู้สึกว่าตัวเองโง่ ผมเติบโตอย่างที่เรียกว่ากะพร่องกะแพร่ง แต่บ้านกาญจนาฯ ช่วยกู้ชีวิตให้เขากลับคืนมาได้ เราให้เขาดูการ์ตูน กลั่นกรองในการใช้ภาษา ระบบปรึกษาหารือกันให้มากยิ่งขึ้น ได้มีการพูคคุยกันทางความคิดเพื่อจะกู้เขากลับมาให้เป็นคนในสังคมยอมรับ”.
บรรยายภาพ
1.(เปิดปม4) ทิชา ณ นคร คณะกรรมการบริหารแผน 4 สสส.
ดร.วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาอาวุโส นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) คณะกรรมการบริหารแผน 4 สสส.
“ผลการศึกษาของไทยที่แยกเด็กสายวิทย์และสายศิลป์ทำให้เด็กเก่งด้านเดียว ขาดความสามารถในการบูรณาการเด็ก เด็กที่เก่งด้านศิลปะจะทำให้สังคมดีขึ้น เราควรดีไซน์ระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมให้มีวิชาศิลปะผสมผสานกับวิทยาศาสตร์เพื่อบูรณาการร่วมกัน ทุกวันนี้มีการคัดแยกให้เด็กเก่งอยู่ด้วยกัน เด็กไม่เก่งอยู่ด้วยกัน เลือกคนที่ไม่เอาไหนมารวมอยู่ด้วยกัน คนเลวอยู่ด้วยกันก็จะเลวกันสุดๆ เราต้องคละเด็กให้เด็กเก่งอยู่กับเด็กไม่เก่งจะได้ช่วยเหลือกัน เด็กเก่งก็ได้มีโอกาสช่วยเหลือเด็กที่ไม่เก่ง เด็กที่ไม่เก่งก็จะเรียนได้ดีขึ้นอีก เพราะเมื่อเด็กจบการศึกษาไปแล้วก็จะต้องไปรวมอยู่กับคนหลากหลายประเภท ทำงานร่วมกันคนหมู่มาก เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดในระบบการศึกษาว่าเราศึกษาไปเพื่ออะไรในอนาคต”
“ผมมาจาก รร.เตรียมอุดมศึกษา เข้าเรียนปี 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนั้น ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ สอน How to Learn เรียนให้คิดเป็น เราไม่ควรสอนให้เด็กท่องจำเพื่อสอบได้คะแนนดีๆ เท่านั้น เป็นการทำลายเด็ก แต่เราต้องทำให้เด็กมีความรู้ที่จะแลกเปลี่ยน”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |