28 มี.ค. 61 - ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงเช้าว่า ก่อนการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการแก่พรรคการเมืองที่จัดตั้งหรือเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จำนวน 55 พรรค
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วยนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต. นายประวิช รัตนเพียร กกต. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รักษาการเลขาธิการกกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการกกต. ได้ร่วมกันหารือนอกรอบกับแกนนำพรรคต่าง ๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายธีระ วงศ์สมุทร หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
โดยนายอภิสิทธิ์ ได้ถามถึงปัญหาการดำเนินการตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทั้งเรื่องการยืนยันสมาชิกภาพ และการจ่ายเงินค่าสมาชิก ตามมาตรา 140 และ 141 โดยสงสัยว่า หากมีการยืนยันสมาชิกภายในวันที่ 30 เม.ย. แต่สมาชิกดังกล่าวยังไม่จ่ายเงินค่าสมาชิก จะถือว่ายังเป็นสมาชิกพรรคอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ตามมาตรา 141 กำหนดให้สมาชิกพรรคเดิมไม่ต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งเป็นการล้อมาจากกฎหมายพรรคการเมืองปี 2550 ดังนั้นหากให้เป็นไปตามกฎหมาย จะต้องแก้ประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 53/2560 เพราะทุกอย่างต้องตีความตามกฎหมาย จะไปถามนายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี หรือใครไม่ได้ เพราะไม่มีใครที่ใหญ่กว่ากฎหมาย ซึ่งในวันนี้อยากให้มีการหาข้อยุติในเรื่องนี้ให้ได้ก่อน หรืออย่างน้อยเปิดช่องให้พรรคสามารถยืนยันสมาชิกพรรคให้ได้ก่อน ส่วนความเป็นสมาชิกค่อยไปตีความในศาลอีกชั้น
ด้านนายศุภชัย ประธาน กกต. ชี้แจงว่า ในวันนี้เป็นการชี้แจงตามคำสั่งคสช. และพ.ร.ป พรรคการเมืองเพียงเท่านั้น เพราะฝ่ายกกต.ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ขณะที่นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าฟังการชี้แจงของกกต.ว่า พรรคกังวลเกี่ยวกับระยะเวลา 30 วัน ตามคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 เกี่ยวกับเงื่อนไขการจ่ายค่าบำรุงพรรคการเมืองว่า สมาชิกที่ไม่สามารถจ่ายเงินได้ทันภายใน 30 วัน ยังจะต้องจ่ายค่าบำรุงพรรคต่อหรือไม่ และจะมีสถานะความเป็นสมาชิกดำรงอยู่ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามการมารับฟัง กกต. อย่างพร้อมเพรียงในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของพรรคการเมืองเก่าต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และเชื่อมั่นว่าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. จะทำตามที่ให้สัญญาไว้ ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นไม่เกินเดือนก.พ. ปี 2562
"พรรคภูมิใจไทยยืนยันว่าจะเสนอ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ ส่วนโอกาสที่นายกรัฐมนตรีคนนอกจะเข้าสู่ตำแหน่งได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงการเลือกตั้งในขณะนั้น ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์" รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ระบุ
ส่วนนายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลและ คสช. ยกเลิกคำสั่งที่ 57/2557 พร้อมขอให้ยกเลิกกระบวนการไพรมารีโหวต เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง พร้อมเสนอวันเลือกตั้งให้เกิดขึ้นวันที่ 30 ธ.ค. 2561.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |