กกพ.เคาะตรึงค่าเอฟทีงวด พ.ค.-ส.ค. 63 ควักเงิน 5.1 พันล้านบาทหนุนค่าไฟฟ้า


เพิ่มเพื่อน    

 

13 มี.ค. 2563 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เปิดเผยผลการประชุมบอร์ด กกพ. ว่าที่ประชุมมีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือนพ.ค.-ส.ค. 2563 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับประชาชนอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้การตรึงค่าเอฟทีจะต้องใช้เงินประมาณ 5,120 ล้านบาท ในการบริหาร โดยนำมาจากการกำกัยฐานะการเงินของการไฟฟ้า รวมทั้งบทปรับจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่ไม่จ่ายไฟหรือมีการดำเนินงานไม่ตรงตามกำหนดเวลา ทั้งนี้หากไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวค่าเอฟทีจะต้องเพิ่มขึ้น 8.03 สตางค์ต่อหน่วยเนื่องจากมีผลกระทบจากค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงจากงวดม.ค. - เม.ย. 63 และจะส่งผลกระทบกับค่าไฟที่เรียกเก็บกับประชาชน

“กกพ. ได้ประเมินสถานการณ์ผลกระทบโดยรวมของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว โดยที่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลายโดยเร็ว ดังนั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จึงยังคงดำเนินการการบริหารจัดการเพื่อตรึงค่าเอฟทีต่อเนื่องอีก 4 เดือน นอกจากนี้คาดว่าตลอดปีนี้มีโอกาสตรึงค่าไฟต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามราคาพลังงานโลกอ่อนอาจจะตัวลง และติดตามความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท รวมถึงค่าต้นทุนพลังงานด้วย” นายคมกฤช กล่าว

ขณะที่มติของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ให้มีการลดค่าไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยได้นำเงินจาก 2 การไฟฟ้าทั้ง การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) มาใช้ เพื่อที่จะลดการเรียกเก็บกับประชาชนไปอีกให้เหลือประมาณ 3.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งเพื่อพิจาณานำเงินมาใช้ ลดค่าไฟในช่วงเดือนเม.ย. - มิ.ย. 63 เป็นกรณีพิเศษ ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส และคาดว่าจะมีการสรุปเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะต้องใช้เงินประมาณ 4,534 ล้านบาทตามมติ ครม.

นายคมกฤช กล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า(ค่าประกันมิเตอร์ไฟ) ตามมติครม. คลอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า 21.5 ล้านราย วงเงิน 30,000 ล้านบาทว่า ได้หารือเบื้องต้นกับกฟน. และกฟภ.แล้ว โดยมีกำหนดจะทยอยคืนให้ประชาชน และกลุ่มผู้ประกอบการกิจการขนาดเล็ก ภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยกลุ่มแรกที่จะได้รับคืนเงินก่อน จะต้องมีคุณสมบัติที่มีความพร้อม คือ ชื่อผู้ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ตรงกับใบเสร็จค่าไฟฟ้า เพราะถือเป็นเจ้าของโดยตรง และจะไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง ส่วนอีกกลุ่มที่จะได้รับการพิจารณาถัดมา จะเป็นกลุ่มที่ยังมีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ เช่น  ผู้ขอมิเตอร์ไฟฟ้า เสียชีวิตแล้ว ซึ่งจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่า จะดำเนินการอย่างไร

สำหรับวิธีการคืนเงินนั้น จะเป็นรูปแบบใด จะมีการหารือในรายละเอียดกับ 2 การไฟฟ้าอีกครั้งในวันที่ 13 มี.ค.นี้  ซึ่ง กกพ.มองว่า ควรคืนเงินในรูปแบบเงินสด เพื่อให้ประชาชนนำเงินไปใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล แต่ต้องสอบถามทั้ง 2 การไฟฟ้าอีกครั้ง จะคืนเงินในรูปแบบเงินสด หรือหักกับค่าไฟในแต่ละเดือน ขณะที่รูปแบบการคืนเงิน เบื้องต้นจะมีทั้ง 2 รูปแบบ คือ เดินทางมารับเงินคืนที่สาขา 2 การไฟฟ้า หรือคืนเงินผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งแต่ละพื้นที่ความสะดวกในรับคืนเงินแตกต่างกัน เช่น กฟน.ที่ดูแลกลุ่มผู้ใช้ไฟในกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ อาจจะสะดวกในการรับเงินคืนในรูปแบบแอพพลิเคชั่น ขณะที่กฟภ. ดูแลพื้นที่ต่างตังหวัด จะมีความสะดวกในการเดินทางมารับเงินคืนเอง

นายประเทศ ศรีชมภู รองเลขาธิการ กกพ.กล่าวว่า การคืนค่าประกันจะเป็นไปตามขนาดแอมป์ของมิเตอร์  มีทั้งอัตราเก่าและใหม่ โดยอัตราใหม่ในส่วนของครัวเรือน.ขนาด 5, 15, 30แอมป์ ได้คืน 300บาท, 2,000บาทและ 4,000บาท  ตามลำดับ ส่วน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ค่าประกัน อยู่ที่6,000-8,000บาท หากแยกแล้ว ผู้ที่อยู่ในเขต กฟน.คือ กทม, สมุทรปราการ, นนทบุรี จะได้รับเงินคืน 3.89 ล้านราย วงเงิน 13,581ล้านบาท พื้นที่ กฟภ.จะได้รับเงินคืน 19,987ล้านบาท  จำนวน 19.5ล้านราย ส่วนผู้ขอยื่นใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ไม่ต้องจ่ายค่าประกันแล้ว จะจ่ายเพียงค่าตรวจสายไฟฟ้า ประมาณ 100- 1,500 บาทต่อมิเตอร์ ขึ้นอยู่กับขนาดแอมป์ คาดว่า จะประกาศเริ่มภายในมี.ค. หรือต้นเม.ย. นี้
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"