10 เครือข่ายเยาวชนยื่น 5 ข้อเรียกร้องต่อ 'รมว.อว.' กรณีแฟลชม็อบนักเรียนนักศึกษา


เพิ่มเพื่อน    

11 มี.ค.63 - เครือข่ายเยาวชน จำนวน 10 เครือข่าย ทำงานพัฒนาสังคมและชุมชนที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กรณีการจัด FLASH MOB ของนักเรียนและนักศึกษา โดยมีข้อเรียกร้องจำนวน 5 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้กระทรวงฯ สั่งการให้สถานศึกษาเปิดพื้นที่ปลอดภัยภายในสถานศึกษา ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้แสดงออกทางความคิดได้อย่างเสรี และสร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นแทรกแซง

2.ขอให้กระทรวงฯ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ไปถึงการรู้สิทธิ หน้าที่ เคารพในความคิดต่าง การแสดงออกทางความคิดอย่างสันติ และการเคารพในสิทธิของผู้อื่น

3. ขอเรียกร้องให้รุ่นพี่ ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันปกป้องการแสดงออกของนักเรียนนิสิตนักศึกษา ร่วมทำให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย และให้การสนับสนุนตามความเหมาะสมอาทิ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ กระดาษ ปากกา ป้ายผ้า ฯลฯ

4. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคม รวมถึงสื่อมวลชนทุกแขนง หลีกเลี่ยงการใช้คำพูด หรือวาทกรรมที่จะนำไปสู่ความเกลียดชัง (hate speech) สร้างความแตกแยกในสังคม เราควรเรียนรู้และเคารพในความคิดต่างที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์

5. ขอฝากถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการสื่อสารที่อาจนำไปสู่การสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้ผู้ไม่หวังดี หรือมือที่สามหยิบยกเข้ามาทำลายความชอบธรรม และบิดเบือนเจตนารมณ์ในการแสดงออก

ขณะที่ นายสุวิทย์  มีข้อชี้แจงต่อกลุ่มเยาวชน ดังนี้ 1. ขอให้ตั้งกลุ่ม Line โดย รมว.อว. จะเข้าร่วมในกลุ่ม เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต

2. รมว.อว. ได้หารือเรื่อง FLASH MOB กับ นายกฯและเห็นพ้องต้องกันว่า มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปิดกว้างทางความคิด นักศึกษาสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ได้โดยไม่ทำผิดกฎหมาย โดย นรม. ได้กำชับให้ รมว.อว. เปิดพื้นที่ให้แก่เยาวชนและนักศึกษาได้มีเสรีภาพทางความคิด

3.รมว.อว. เชื่อว่าเยาวชนคือผู้กำหนดอนาคตประเทศ (Youth as a Future Changer) กระทรวง อว. มีการดำเนินโครงการเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น โครงการยุวชนสร้างชาติ (ประกอบด้วย โครงการยุวชนอาสา ที่ให้นักศึกษาปี 3-4 รวมกลุ่มกันไปพัฒนาชุมชนเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาโดยคิดเป็นหน่วยกิตในการเรียน, โครงการบัณฑิตอาสา ที่ให้บัณฑิตจบใหม่ได้ไปทำงานแก้ปัญหาในชุมชนเป็นเวลา 1 ปีโดยมีเงินเดือนและการฝึกอบรมที่เหมาะสม, กองทุนยุวสตาร์ทอัพ ที่ให้เงินทุนเยาวชนสำหรับจัดตั้งธุรกิจใหม่หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม) นอกจากนั้น มีโครงการ Policy Pitching และ Youth TED Talk เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมเชิงนโยบาย สามารถนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประเทศเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ฝุ่น PM2.5 หรือ โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เป็นต้น เพื่อให้เยาวชนเป็นประชาชนที่ตื่นรู้ หรือ Active Citizen

4. รมว.อว. ได้สั่งการให้มหาวิทยาลัยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย และให้ดูแลความปลอดภัยด้านสุขภาพให้แก่นักศึกษาด้วย เช่น จัดเตรียมหน้ากาก เจลล้างมือ หรืออาจตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"