'หมอยง'รับแยกยากโรคทางเดินหายใจกับโควิด19ในเด็ก


เพิ่มเพื่อน    

11 มี.ค.2563 -  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์ข้อความพร้อมรูปผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ “การระบาดของโรคทางเดินหายใจในประเทศไทย กับ โควิด 19”ระบุว่า จากการศึกษาของศูนย์ฯ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขอยกตัวอย่างไข้หวัดใหญ่ ที่ศึกษาทางด้านระบาดวิทยามากกว่า 50,000 ตัวอย่าง โรคทางเดินหายใจในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ร้อนชื้น ไม่มีฤดูหนาวแบบประเทศทางซีกโลกเหนือ หรือซีกโลกใต้  โรคทางเดินหายใจในประเทศไทย เช่น ไข้หวัดใหญ่ จึงพบได้เกือบตลอดทั้งปี  แต่จะพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน  และจะพบบ่อยอีกครั้งหนึ่งประมาณ มกราคมถึงกุมภาพันธ์  เดือนที่พบน้อยที่สุดจะเป็นเดือนมีนาคมและเมษายน 

ตามรูปภาพที่แสดงให้ดู ซึ่งตรงข้ามกับประเทศที่มีฤดูหนาวชัดเจน โรคทางเดินหายใจจะพบในฤดูหนาวของประเทศ เช่นเดียวกันโรค RSV ประเทศไทย ในเด็กก็จะพบมากในฤดูฝน มากกว่าฤดูร้อนมาก ถ้าเราถือว่าโรค โควิด 19 เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่นเดียวกัน สำหรับประเทศไทย ต้องเตรียมตัว การระบาดมากจะเกิดขึ้นในฤดูฝนมากกว่าฤดูร้อน 

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการระบาด ของ โควิด 19 ที่เป็นโรคใหม่ และพบเป็นปีแรก จึงยังไม่รู้ว่า รูปแบบการระบาดจะเป็นอย่างไร ในเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนมาก และฤดูนี้นักเรียนส่วนใหญ่จะปิดเทอม ทำให้โรคทางเดินหายใจพบได้น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูฝน และนักเรียนเริ่มเปิดเทอม จึงพบโรคจำนวนมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน 

ในช่วงนี้เราคงจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม การระบาดของ โควิด 19 ยังอยู่ในประเทศเขตหนาว  ประเทศเขตร้อนอย่างเรา ก็จะต้องเตรียมตัว เพราะเมื่อถึงฤดูของโรคทางเดินหายใจที่มีการพบมาก  จะทำให้แยกกันยากมาก ระหว่างโรคทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็ก กับ โควิด 19


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"