เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ การจะก้าวให้ทันต่อโลกธุรกิจใหม่นี้ แบรนด์หรือธุรกิจใดๆ ก็ตามจึงจำเป็นต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงที่มีความหลากหลายมิติทุกฝีก้าว เพื่อให้ยังคงสามารถสร้างความผูกพันและเข้าไปนั่งในใจผู้บริโภคได้ และเมื่อเร็วๆ นี่เองก็ได้มีงานสัมมนาหนึ่งงานเกิดขึ้นเพื่อเสนอทิศทางในการปรับตัวของธุรกิจท่ามกลางแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกขึ้น เพื่อให้ลูกค้าภาคธุรกิจมีมุมมองใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด ที่จัดโดยเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน
รวมทั้งยังมีการเชิญบริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลก อย่างบริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาร่วม “ถอดรหัส” เทรนด์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล ผ่านการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 20,000 คน จาก 33 ประเทศ เพื่อให้แบรนด์เข้าใจความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ที่ซับซ้อนขึ้นได้
โดย นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เทคโนโลยีช่วยย่อโลกให้เล็กลง สิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคหนึ่งจึงมีผลกระทบไปทั่วโลก เช่น สงครามการค้า หรือการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เป็นต้น แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร มนุษย์ทุกคนก็ยังคงมีทัศนคติและความเชื่อส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจและการใช้ชีวิต รวมถึงการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
“ปัจจุบันความเชื่อมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งยังมีผลต่อชีวิตและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของผู้คนด้วย โดยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ได้ผลักดันให้ผู้บริโภคปรับตัวในรูปแบบที่ต่างกัน 3 ระดับ คือ กลุ่มคนที่ยอมเปิดใจกับเทคโนโลยีใหม่ กลุ่มคนที่กังวลเรื่องความเปลี่ยนแปลง อยากใช้ชีวิตแบบเดิม แต่กลัวจะตกกระแส และกลุ่มสุดท้ายที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงกับสินค้าและบริการแบบเดิมๆ”
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจึงสามารถแยกกลุ่มผู้บริโภคบนเทรนด์ใหญ่ๆ เหล่านี้ออกเป็น 7 พฤติกรรม ได้แก่ 1.เทรนด์รักสบายและปลีกตัวจากความทุกข์ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ชอบอะไรง่ายๆ โดยแบรนด์จะต้องช่วยลบความยากลำบากและหยิบยื่นความสะดวกสบายให้ 2.เทรนด์แสวงหาความเท่าเทียมในสังคม โดยแบรนด์จะต้องออกแบบสินค้าที่เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเล็กๆ สร้างโอกาสเปิดตลาดคนกลุ่มใหม่ๆ ได้ หักล้างมายาคติความสวยแบบเก่า ยึดหลักความเท่าเทียมที่ให้ความสำคัญกับทุกคน จึงสามารถเพิ่มยอดขายได้
3.เทรนด์ผู้บริโภคมี “จุดยืน” เลือกสิ่งที่ใช่ โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเลือกสิ่งที่มีคุณค่าให้ตัวเองและสังคม โดยการมีจุดยืนของธุรกิจเป็นโอกาสให้สามารถทำการตลาดเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย เช่น การที่แบรนด์หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและประกาศจุดยืนชัดเจน เพราะมองว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ 4.เทรนด์สูงสุดคืนสู่สามัญ รูปแบบธุรกิจนี้เกิดจากการแบ่งแยกคนด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยี ชนชั้น และสถานะทางการเงิน ผู้บริโภคบางส่วนจึงเบื่อหน่ายและถวิลหาความเรียบง่ายแบบดั้งเดิมในอดีต หรือการคืนสู่สามัญ
5.เทรนด์ถอดรหัสความโปร่งใส ตอบใจลูกค้า ผู้บริโภคจะต้องการแบรนด์ที่โปร่งใส จริงใจ และมีจริยธรรม เพื่อให้มั่นใจในสินค้าและบริการที่เลือกว่าไม่ใช่แค่ของดี แต่ที่มาต้องดีด้วย 6.เทรนด์ลูกค้าเชื่อมั่นในตำนาน โดยแบรนด์ที่ดีต้องมีความโปร่งใส จริงใจ กล้าหาญ เข้มแข็ง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อให้คนเชื่อมั่นในสิ่งที่แบรนด์นำเสนอ 7.เทรนด์ประสบการณ์คือพระราชา เพราะความต้องการของลูกค้าไม่เคยหยุดนิ่ง ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่มอบให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าจดจำและชื่นชมในแบรนด์
ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 7 เทรนด์ที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นแบรนด์ทั้งหลายจึงควรต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสต่างๆ อย่างรวดเร็วและทันท่วงที เพื่อให้ยังคงสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและอยู่รอดได้ต่อไป
ในอดีตที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของความต้องการผู้บริโภคนั้นปรับกันตลอดเวลาตามยุคสมัย และเชื่อว่าในอนาคตหากมีคนในเจนเนอเรชั่นใหม่เกิดขึ้น ธุรกิจที่ไม่มีการปรับตัวก็จะต้องเกิดความยากลำบากในการทำงานแน่นอน และอาจจะต้องล้มหายตายจากลงไป ซึ่งนี่ยังไม่รวมกับปัจจัยภายนอกที่เตรียมเข้ามาทำให้เกิดผลกระทบอีกเพียบ โดยการจัดสัมมนาแบบนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการในไทยเริ่มเห็นแนวทางที่จะปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของกลุ่มลูกค้า.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |