มธ. เปิดตัวกากอนามัยกันน้ำ" THAMMASK" คุณสมบัติเทียบเท่าsurgical mask แต่ซักใช้ซ้ำได้ 


เพิ่มเพื่อน    

 
 
10 มี.ค. 63- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI-TU) และ คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 แถลงข่าว ผลิตหน้ากากอนามัยกันน้ำ THAMMASK โดยใช้ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์(Cotton-Silk) ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ในภาวะขาดแคลนแก่บุคลากรทางการแพทย์  ด้วยเทคโนโลยีสะท้อนน้ำ จากการเคลือบด้วยสาร NUVA – 1811  ซึ่งขณะนี้อยู่ในการตอนของการวิจัยเตรียมทดสอบความสามารถในการสะท้อนน้ำ และความคงทนของเส้นใย คาดแล้วเสร็จและผลิตล็อตแรก 1,000 ชิ้น ในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ 

รศ. เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. เผยว่า จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ที่ยังไม่มีที่ท่าจะคลี่คลาย ทั้งยังได้แพร่กระจายไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และล่าสุดที่ประเทศอิตาลี ที่ได้มีการสั่งปิดประเทศ เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่เชื้อ COVID-19 สำหรับประเทศไทยถือว่ามีการดูแลที่ดีในเรื่องของการสื่อสารถึงแนวทางการป้องกัน ซึ่งในสถานการณ์ตอนนี้ที่มีภาวะการขาดแคลนหน้ากาก ทางมหาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้ง คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19(COVID-19) ขึ้น เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ จึงได้มีแนวคิดในการผลิตหน้ากากอนามัยกันน้ำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และต่อยอดถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนได้นำไปเป็นวิธีในการตัดเย็บใช้เองได้ด้วย

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มธ. และ ประธานคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กล่าวว่า แม้สถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย จะอยู่ในเฟส 2 แต่ปัจจุบันการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain management) ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย กลับขาดแคลนจำนวนมากจากความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทั่วประเทศที่สูงกว่า 30-40 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งสวนทางกับกำลังการผลิตของภาคโรงงานรวม 10 โรง ที่สามารถผลิตได้ประมาณ 30 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งหน้ากากอนามัยที่ทางการแพทย์ใช้ คือ  Surgical Mask ที่ผลิตมาจากผ้าที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำ จึงทำให้สารคัดหลั่งไม่เกาะติดบนหน้ากาก ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ต่างจากหน้ากากผ้าธรรมดา ที่ซึมซับน้ำได้ดี ป้องกันได้เพียงเบื้องต้น หากหน้ากากมีความชื้นก็ไม่ควรที่จะสัมผัสผ้าที่อยู่ทางด้านนอก แต่สามารถนำมาซักใช้ได้อีก 

 ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดในการดำเนินการศึกษาวิจัย คุณสมบัติผ้าที่เหมาะสม ในการพัฒนาเป็นหน้ากากผ้ากันน้ำ ที่ผลิตจากวัสดุผ้าสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น และช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อ เพื่อใช้ในทางการแพทย์รองรับการใช้งานสำหรับตรวจคนไข้ปกติ หรือผู้ป่วยที่มีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด สำหรับหน้ากากที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 หรือในการผ่าตัด ต้องเป็นหน้ากากชนิด N95 หรือหน้ากากเฉพาะทางการแพทย์ที่มีการป้องกันในระดับสูงขึ้น  ซึ่งผ้าที่นำมาตัดเย็บในส่วนด้านนอกจะไม่ดูดซับความชื้น หรือสารคัดหลั่ง  ซึ่งมีทั้งหมด 3 ชั้น เมื่อทำการทดสอบเบื้องต้นพบว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือเทียบเท่า Surgical Mask ซึ่งจะผลิตล็อตแรกจำนวน 1,000 ชิ้น และดำเนินการแจกไปยังโรงพยาบาลต่อไป

อ.ธนิกา หุตะกมล

ด้าน อาจารย์ธนิกา หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) ให้ข้อมูลว่า หน้ากากผ้ากันน้ำ เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างผ้าที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำ และเหมาะสมแก่การพัฒนาเป็นหน้ากากผ้าป้องกันสารคัดหลั่งเบื้องต้น เพื่อใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะต้องพบเจอคนไข้จำนวนมากทุกวัน จึงได้มีการนำผ้า Cotton-Silk มาทำการตัดเย็บใน 2 ชั้นแรก และอีกชั้นด้านในเป็นผ้าฝ้ายเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น ผ้า Cotton-Silk นั้นมีโครงสร้างของเส้นใยที่เหมาะสม ประกอบด้วย Cotton – Microfiber จำนวนเส้นด้าย 500 เส้นต่อ 10 ตารางเซนติเมตร โดยมีเส้นด้ายยืนโพลีเอสเตอร์ ไฟเบอร์ เบอร์ 75 เส้นด้ายพุ่งโครงสร้างเส้นใยฝ้าย คอมแพ็ค โคมบ์ เบอร์ 40 ซึ่งผลิตจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย ที่มีการใช้เทคโนโลยีสะท้อนน้ำ ด้วยสาร NUVA – 1811 ซึ่งมีอนุภาคเป็นระดับไมครอนสามารถแทรกเข้าไปเนื้อผ้า เพื่อต้านไม่ให้โมเลกุลของน้ำแทรกเข้าไปในเนื้อผ้าได้ ทั้งยังได้รับการรับรองจาก Oekotex Standard 100 – 2019 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีความปลอดภัยเมื่อสัมผัสผิวหนังโดยตรง ซึ่งทางคณะทำงานฯ กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน และความคงทนของเส้นใย ว่ายังคงประสิทธิภาพเดิมหรือไม่ เมื่อนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้ามาตรฐานทั่วไป แต่แนะนำว่าหากซักได้ไม่ควรเกิน 5 ครั้ง และต้องซักด้วยแปรงขนนุ่ม เพื่อป้องกันสารเคลือบกันน้ำที่อาจจะหลุดออกได้

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรพรรณ โพชนุกูล อธิบายคุณสมบัติของผ้าสะท้อนน้ำ ที่นำมาใช้ทำหน้ากาก
 

ในส่วนของภาคประชาชน อาจารย์ธนิกา กล่าวว่า เพื่อป้องกันเบื้องต้นซึ่งยังอัตราความเสี่ยงน้อยกว่าแพทย์ สามารถใช้หน้ากากผ้าที่ผลิตจากผ้าฝ้าย เพราะมีคุณสมบัติดูดซับความชื้น มีโครงสร้างลักษณะการทอที่แน่น มีความนุ่มสบายไม่ระคายเคือง หรือที่คณะทำงานฯ ได้เลือกใช้ผ้า นิตเจอร์ซี่ ที่เป็นโครงสร้างของผ้าทักทำให้มีความแน่น ยืดหยุ่นตามใบหน้าได้ สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี อีกทั้งมีต้นทุนการผลิต 15-20 บาทต่อชิ้น แต่ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าสาลู แม้ว่าจะหาง่ายและมีราคาถูก เพราะผ้ามีโครงสร้างการทอค่อนข้างห่าง ซึ่งอาจจะทำให้สารคัดหลั่งซึมเข้าไปได้ง่ายกว่า ทั้งนี้การใช้หน้ากากผ้าควรสังเกตว่ามีฝุ่นหรือละอองน้ำไหม หากพบควรถอดออก และนำไปซักทันที และพยายามอย่าเอามือสัมผัส

สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการตัดเย็บหน้ากากผ้า เพื่อทดแทนกับหน้ากากอนามัยในช่วงที่ขาดแคลน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ScienceThammasat/posts/2200214250082114 

 

การเย็บหน้ากากอนามัยกันน้ำ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"