จากการศึกษาในประเทศจีนล่าสุดพบว่า การดื่มชาอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นโดยนักวิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของจีน ซึ่งได้ศึกษาดูผู้สูงวัยชาวจีน จำนวน 100,902 คนที่ไม่มีประวัติเกี่ยวกับอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือมะเร็ง และจำแนกพวกเขาออกเป็น 2 กลุ่ม ตามนิสัยการดื่มชาของพวกเขา ทั้งผู้ที่ดื่มชา 3 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ดื่มชาที่ไม่เคยดื่มชา หรือดื่มน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฝ้าติดตามผลนานประมาณ 7 ปี
สอดคล้องกับผลวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสารป้องกันโรคหัวใจในยุโรป ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่อยู่ในกลุ่มของการบริโภคชามักจะมีความสุขกับการมีสุขภาพที่ดี และมีอายุขัยที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น โดยนักวิจัยได้ประเมินว่า สำหรับคนวัย 50 ที่ดื่มชาเป็นนิสัย และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง ผลปรากฏว่าการดื่มชาอยู่สม่ำเสมอ ทำให้ชะลอระยะเวลาในการเกิดโรคทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวลงได้คิดเป็น 1.41 ปี แต่ทั้งนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ที่ดื่มชาเป็นประจำกับผู้ที่ดื่มชาน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์นั้น พบว่าผู้ที่ดื่มชาเป็นประจำนั้น จะทำให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้นประมาณ 1.26 ปี
ที่น่าสนใจนั้น ผู้ที่ดื่มชาเป็นวิสัยซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ผลปรากฏว่าจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจลงร้อยละ 20 และลดโรคหลอดเลือดสมองลงได้ร้อยละ 22 อีกทั้งลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้ง 2 ชนิดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มชาเลย
ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังพบว่าหากคุณเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มชาจะทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคทั้ง 2 ชนิด และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน จากการประเมินผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 14,081 คน เพื่อให้เห็นถึงจุดแตกต่างของผู้ที่ยังดื่มชา และผู้ที่เลิกดื่มเครื่องดื่มดังกล่าว พบว่า “สำหรับคนที่ยังคงดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองคิดเป็นร้อยละ 39 และยังป้องกันการเกิดโรคทั้ง 2 ชนิด อีกทั้งลดการเสียชีวิตได้ร้อยละ 56 ถ้าเทียบกับผู้ที่ไม่เคยดื่มชาเลย”
ด้าน “ดร.ทงเฟิง ชู” กล่าวว่า “สำหรับผลของการป้องกันโรคจากการดื่มชานั้นโดดเด่นที่สุดนั้น คือกลุ่มของผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวเป็นประจำสม่ำเสมอ และกลไกการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารโพลีฟีนอลในชานั้นจะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกายได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นการดื่มชาอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจะทำให้เกิดผลดีต่อการรักษาโรคหัวใจ”
สอดคล้องกับการวิจัยก่อนหน้านี้ที่ได้ระบุว่า การดื่มชาเขียวยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 25 รวมถึงสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคที่กล่าวมา
ขณะที่ “ดร.ทงเฟิง ชู” ได้ระบุเพิ่มเติมว่า “สำหรับคนเอเชียตะวันออกนั้นชอบขาเขียวมากเป็นพิเศษ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49% ในขณะที่ชาดำมีคนชื่นชอบเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น ที่สำคัญในชาเขียวยังมีสารโพลีฟีนอลที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในทางกลับกัน การดื่มชาดำก็มักจะทำปฏิกิริยากับโพลีฟีนอลในชา (ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคมะเร็ง และการเกิดโรคต่างๆ) ซึ่งจะทำให้ฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระทำงานได้ไม่ดี รวมถึงการบริโภคชาดำทั่วไปมักจะต้องเสิร์ฟคู่กับนม ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |