พท.เปิดเวทีปลุกรื้อใหญ่รธน. ฉะสร้างวาทกรรมคนดีลวงปชช.


เพิ่มเพื่อน    

9 มี.ค. 63 - ที่พรรคเพื่อไทย สถาบันสร้างไทย จัดเสวนา “ฝ่าวิกฤติประเทศไทย ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” มีวิทยากร ประกอบด้วย นายโภคิน พลกุล รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นายวัฒนา เมืองสุข กรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง และนายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง โดยมีแกนนำพรรคเพื่อไทย อาทิ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชัยเกษม นิติสิริ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน  ตลอดจน ส.ส.เพื่อไทย สมาชิกพรรคเพื่อไทย และประชาชน เดินทางมาร่วมฟังเสวนาด้วย

นายโภคิน กล่าวช่วงหนึ่งว่า วันนี้หลายคนที่เคยสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับนี้เริ่มตีตัวออกห่าง เพราะรู้สึกแล้วว่าขณะนี้มันเริ่มไม่ใช่บ้าน ถ้ายังใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไป รับรองว่าการเลือกตั้งครั้งหน้ารัฐบาลจะมีไม่ต่ำกว่า 30 พรรค นอกจากนี้ องค์กรอิสระขณะนี้ก็ไม่ตอบโจทย์ประชาชน แค่ตอบโจทย์ของคนที่ตั้งมา ถ้าบ้านเปรียบเหมือนรัฐธรรมนูญออกแบบไม่ดี ไม่ตอบโจทย์ประชาชน ไม่ตอบอนาคตของประเทศ เชื่อว่าต่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกไป จะยังมีพล.อ.ประยุทธ์ 2 พล.อ.ประยุทธ์ 3 ไม่จบสิ้น วันนี้เชื่อว่าประชาชนเริ่มที่จะตระหนักแล้ว ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 ที่เหลือจะต้องจัดระเบียบใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

นายยุทธพร กล่าวว่า โครงสร้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ เกิดความไม่สมดุล การเมืองนอกสภาฯ ก้าวหน้า แต่การเมืองในสภาฯ กลับล้าหลัง รัฐธรรมนูญ60 เป็นปัญหาตั้งแต่ที่มา เนื้อหา และกระบวนการ ซึ่งกระทบต่อทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยที่มาของรัฐธรรมนูญนั้นถูกร่างขึ้นด้วยการถูกควบคุมกำกับ การกำหนดกรอบล่วงหน้าจึงทำให้เนื้อหาไม่เชื่อมโยงกับประชาชน ขณะที่กระบวนการร่างก็อยู่ในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ส่วนการทำประชามตินั้นทำอยู่บนความว่างเปล่า เป็นแบบมายาคติที่ทำให้คนเห็นว่ามีส่วนร่วม ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมจริง ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 60 จึงขาดการมีส่วนร่วม และกลายเป็นกติกาของฝ่ายเดียว

นายวัฒนา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญคือกติกาของการอยู่ร่วมกันในสังคม จะได้รับการยอมรับก็ต้องคนในสังคมเห็นด้วย แต่วันนี้ถูกกำหนดจากเพียงฝ่ายเดียว นำมาซึ่งปัญหา เป็นการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับคนยึดอำนาจ สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกระบวนการยุติธรรม จนกลายเป็นการนำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคม รัฐธรรมนูญควรจะต้องเพิ่มอำนาจการตรวจสอบให้กับประชาชน เช่น คดีใดที่ประชาชนเป็นคู่ความกับเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องเข้าสู่กระบวนการไต่สวนโดยประชาชน เป็นต้น  รัฐธรรมนูญฉบับนี้สร้างวาทกรรมคนดีขึ้นมาหลอกลวงประชาชน เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แต่ไม่มีจริง ที่ผ่านมาสังคมไทยหลีกเลี่ยงหลักการมาโดยตลอด จึงมีศรีธนญชัย มีลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ทั้งหมดก็เพราะกติกาการอยู่ร่วมกันดีไซน์ออกมาแบบนี้ จึงต้องแก้รัฐธรรมนูญโดยโยนอำนาจให้ประชาชนไปร่างกติกากันเอง 

อย่างไรก็ตาม ถ้าวันนี้จะนับหนึ่งกันใหม่นั้นเหมาะสมแล้ว เพราะใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มา 3 ปีแล้ว ประชาชนจะทนต่อได้อีกหรือ ทางออกวันนี้มีอย่างเดียวคือแก้รัฐธรรมนูญ เพราะกติกาแบบนี้ประเทศอยู่ได้ แต่ประชาชนจะไปก่อน วันนี้อยู่ที่ประชาชนว่าพร้อมแล้วหรือยัง ถ้าประชาชนพร้อมแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะประเทศนี้เป็นของประชาชน

นายสมชัยกล่าวว่า เมื่อดูจากหัวข้อที่เรามาพูดคุยกัน ผู้ร้ายคือรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติของประเทศ ส่วนพระเอกคือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้วิกฤติหายไป รัฐธรรมนูญ60 เป็นกลไกที่ออกแบบการเมืองไทยโดยได้รัฐบาลแบบนี้ ได้ส.ส.แบบนี้ ได้ ส.ว. แบบสอพอ ไม่มี ล.ลิง ไม่ได้มีบทบาทในการช่วยกลั่นกรองกฎหมายอย่างแท้จริง และได้สภาฯ หน้าตาแบบนี้ เชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยธรรมชาติของตัวมันเองไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเขาพอใจที่จะอยู่อย่างนี้ต่อไป ใครจะบ่น ใครจะด่าก็ไม่สนใจ หูทวนลมแล้วอยู่ไปเรื่อยๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งนี้ เริ่มจาก 5 ข้อคือ รัฐบาลต้องลาออก เลือกตั้งใหม่ ไม่เอา ส.ว.ชุดนี้ ไม่เอาองค์กรอิสระชุดนี้ และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

ขณะที่นายอนุสรณ์ กล่าวว่า การฝ่าวิกฤตประเทศไทย ทางออกหนึ่งคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวไม่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการแก้แบบเล็กหรือแก้บางมาตราจะแก้วิกฤตการณ์ของประเทศได้ หากจะแก้ต้องแก้ใหญ่ แก้ด้วยพลังอำนาจของประชาชน และการแก้ครั้งนี้ไม่ใช่แก้ปัญหาปัจจุบันเท่านั้น แต่แก้ปัญหาในอนาคตรวมทั้งอดีตด้วย ส่วนตัวมีโมเดลที่เสนอคือ เสนอให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปประเทศ (สสร.ปป.) โดยองค์ประกอบคือ 1.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามพื้นที่จังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน 2.มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 15-20 คน แล้วยึดรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ฉบับ 2540 เป็นต้นแบบ ทำให้การร่างใช้เวลาไม่นาน 3.มีตัวแทนจากภาคประชาสังคมหรือสถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับประชาธิปไตยร่วมขับเคลื่อนด้วย 

ทั้งนี้ เวลาเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ต้องกำหนดกรอบเวลา จะได้ไม่มีการยื้อเวลาไปเรื่อยๆ เมื่อใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส.ว. ต้องหายไปตามการประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการเลือกตั้ง แบบนี้ถึงจะไม่มีวิกฤติ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"