9 มี.ค. 63 - ที่ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โดย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข พล.ร.ท.วิชัย มนัสศิริวิทยา เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ นายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ร่วมกันแถลงถึงสถานการณ์การแก้ปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยนพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า จากสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก มีคนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กว่า 1 แสนคน แต่คนที่มีอาการหนักมีเพียงประมาณ 6 พันคน ส่วนประเทศไทยวันนี้เรามีจำนวนผู้ป่วยยืนยันอยู่ 50 คน ส่วนใหญ่รักษาหายแล้ว อาการวิกฤต 1 ราย ถ้าเทียบกับ 102 ประเทศ ยืนยันรัฐบาลไม่มีนโยบายปิดบังข้อมูล เพราะเมื่อเราพบผู้ป่วย 1 ราย เราต้องตามอีก 40 ราย และทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่
เมื่อถามว่า หากคนที่หลุดรอดไปจากการคัดกรองที่สนามบิน จะมีกระบวนการลงโทษทางกฎหมายอย่างไร นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า ตามกฎหมายมีโทษปรับหลักแสน แต่เราไม่ได้ใช้กฎหมายนำไปสู่การใช้ความรุนแรง และแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากเกาหลีที่หลุดการคัดกรองจำนวน 80 คนนั้น ทุกรายเราติดตามได้ทุกคนแล้ว เพราะเรามีข้อมูลประวัติทุกคน
ด้าน พล.ร.ท.วิชัย กล่าวว่า เราใช้ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี ในการดำเนินการกักตัวคัดกรองมาประมาณ 1 เดือนแล้ว สำหรับเงินที่ใช้ในการดำเนินการอยู่ตอนนี้ ใช้งบที่มีอยู่ของกองทัพเรือ ซึ่งหวังว่างบที่ขอรัฐบาลเพิ่มไปจะได้รับการอนุมัติ โดยตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ มีคนที่ถูกส่งมากักตัวจำนวน 188 คน เป็นหญิง 99 คน และชาย 89 คน ทั้งนี้เรายังเปิดรับบริจาคสิ่งของจากประชาชนที่อยากให้การช่วยเหลือ สามารถทำได้ที่สโมสรโรงพยาบาลเกียรติวงศ์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ระหว่างเวลา 10.00 – 17.00 น. ติดต่อที่หมายเลข 08-0661-8193 โดยไม่รับบริจาคเป็นเงิน
นายสมคิด กล่าวว่า กระบวนการหลังจากคัดกรองแบ่งกลุ่มและมหาดไทยรับผิดชอบมาจากเมืองที่มาจากความเสี่ยงต่ำสุขภาพปกติ โดยมีรถแยกของคมนาคมไปส่งภูมิลำเนาโดยตรง จากนั้นจังหวัดจะมีคณะกรรมการโรคติดต่อที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน พิจารณาพื้นที่ตามความเหมาะสมของแต่ละราย ขณะนี้บุคคลที่กักตัวสังเกตอาการ มี 40 คนใน 17 จังหวัดดูแล แต่ยังไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อ นอกจากนั้นจะกำหนดและเตรียมพื้นที่รองรับสำหรับกลุ่มที่จะเข้ามาใหม่ 232แห่ง ประมาณ 1 หมื่นคน
เมื่อถามว่า กลุ่มคนจำนวน 70-80 คน ที่ยังไม่เข้ากระบวนการนั้น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีชื่อทั้งหมด และสามารถติดตามตัวได้แล้ว และชุมชนมีส่วนช่วยที่จะแจ้งข้อมูลได้ สำหรับความคืบหน้าการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำการฝึกวิทยากร 1 แสนคน ที่เรียนรู้การทำ และจะผลิตหน้ากากแบบผ้าใช้เอง และเริ่มผลิตจริงในวันที่ 9 มี.ค.และเตรียมแจกจ่ายให้ชุมชนหมู่บ้านให้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนผลิต 4.50 บาทต่อชิ้น
นายวิชัย กล่าวว่า ขณะนี้หน้ากากอนามัยกลุ่มที่มีความจำเป็นสูงคือบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการที่ท่าอากาศยานและสายการบิน ซึ่งเราให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากต้องมีหน้าที่ให้บริการต้อนรับผู้โดยสาร ส่วนกรณีที่มีข่าวมีผู้โพสต์ขายสินค้า 200 ล้านชิ้น ทราบว่าเจ้าหน้าที่ได้การติดตามตัวเพื่อดำเนินการจับกุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่น่าเป็นไปได้ที่จะมีของสต็อกจำนวนมากถึงขนาดนั้น ขณะนี้พบว่ามีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้นที่ขอ 40 ล้านชิ้น เพื่อส่งออกโดยไม่ได้ใช้ในเมืองไทย ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับตำรวจดำเนินการเอาผิดได้แล้ว 89 ราย ยืนยันว่าจะสนิทกับใครหรือมาจากไหนทางกระทรวงพาณิชย์และตำรวจจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มข้น หากพบมีการขายสินค้าที่เกินราคาหรือมีการกักตุนสินค้า
เมื่อถามว่า การกระจายให้ร้านสะดวกซื้อ 2 แสนชิ้น แต่กระจายร้านขายยา 2.5 หมื่นชิ้น จะเป็นการเอื้อกลุ่มทุนหรือไม่ กล่าวว่า เราจะดูตามเหมาะสมและสถานการณ์ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลยะลา และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ขาดแคลนหน้ากากอนามัยนั้น อธิบดีกรมการค้าภายใน ชี้แจงว่า ยืนยันว่ามีเพียงพอต่อการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเดียวกันร้านธงฟ้าทั่วประเทศยังไม่ได้หยุดการจำหน่ายหน้ากากอนามัย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |