'บิ๊กตู่' ดันทุกมาตรการ ฝ่าวิกฤติไวรัสโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

     จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในระยะที่ 2 โดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

                ทำให้รัฐบาลโดยการนำของ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องทำงานหนักขึ้นหลายเท่าเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะไม่ใช่เพียงแค่กำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปจากประเทศไทย

                แต่ทว่าผลกระทบที่ตามมาจากไวรัสโควิด-19 ยังมีอีกหลายด้าน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจที่ดิ่งลง การท่องเที่ยวซบเซา ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และอีกหลายปัญหาที่กำลังทยอยตามมาเรื่อยๆ บิ๊กตู่ จึงสั่งทุกฝ่ายให้โฟกัสการแก้ปัญหาโควิด-19 เป็นสำคัญ จนส่งผลให้การปรับ ครม.ประยุทธ์ 2/1 ต้องชะลอออกไปด้วย

                และสำหรับการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาล นอกจากจะมี กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการแล้ว รัฐบาลยังตั้งศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศูนย์โควิด-19 ขึ้นที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรวบรวมและประสานข้อมูลจากหน่วยงานในต่างประเทศ ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

                เพื่อดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องในทุกช่องทาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างทันท่วงที และเพื่อความเป็นเอกภาพและสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน

                นอกจากนี้ ศูนย์โควิด-19 ยังรับเรื่องร้องทุกข์หรือข้อร้องเรียนจากประชาชนหรือภาคเอกชน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ มีหน้าที่ติดตามการปฏิบัติงานในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นช่องทางรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19

                โดยศูนย์ดังกล่าวต้องรายงานสถานการณ์ และความคืบหน้าการดำเนินงานของศูนย์ต่อนายกรัฐมนตรีทุกวัน รวมถึงการดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

                ทั้งนี้ มี เทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ โครงสร้างของศูนย์มีฝ่ายข้อมูล ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ ที่ระดมหน่วยงานจากหลายส่วน เช่น กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงมหาดไทย, ผู้ตรวจราชการทุกกระทรวง เป็นต้น

                นอกจากนี้ บิ๊กตู่ ยังมีข้อสั่งการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา พร้อมนำทีม ครม.ทั้งหมดรวม 36 คน บริจาคเงินเดือนเข้ากองทุนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนัก ในการป้องกันการแพร่ระบาดและรักษาผู้ป่วย รวมถึงดูแลคนไทยที่อาจป่วยเป็นโรคดังกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีบริจาคเงินเดือนจำนวน 1 เดือน ส่วน ครม.บริจาคตามความสมัครใจ

                ขณะที่ล่าสุด มติที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ยังเห็นชอบมาตรการชุดที่ 1 เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการให้เงินแก่ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผ่านระบบอีเพย์เมนต์ จำนวนคนละ 2,000 บาท  โดยจะแบ่งให้ 2 เดือน เดือนละ 1,000 บาท

                ซึ่งขณะนี้จำนวนตัวเลขผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือยังต้องรอสรุปอีกครั้ง โดยกระทรวงการคลังจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ต่อไป อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวออกมาท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่ารัฐบาลทำได้แค่แจกเงิน

                นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลยังต้องเตรียมพร้อมอีกเรื่องสำคัญ คือการรับแรงงานไทยกลุ่มใหญ่ ที่กำลังทยอยเดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ หรือที่เรียกว่าผีน้อย ซึ่งเมื่อแรงงานเหล่านี้มาถึงประเทศไทย  รัฐบาลจะส่งตัวไปที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่เป็นศูนย์กลางในการคัดแยก ว่าใครบ้างที่ต้องอยู่ในพื้นที่กักกันโรค อีกทั้งยังต้องคุมเข้มเรื่องการกักตัวเองของแรงงานเหล่านี้เป็นเวลา 14 วัน หลังพบมีบางคนไม่ปฏิบัติตามอีกด้วย

                นับว่าภารกิจกำจัด "โควิด-19" เป็นอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาล ที่คงต้องดูต่อไปว่า จากนี้ "บิ๊กตู่" จะงัดมาตรการใด เพื่อพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติระดับโลกนี้ไปให้ได้. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"